การสัมมนาโครงการศึกษาเพื่อหาสาเหตุการตกสะสมของกรดในประเทศไทย

พุธ ๑๘ ตุลาคม ๒๐๐๐ ๑๐:๐๙
กรุงเทพฯ--18 ต.ค.--กรมควบคุมมลพิษ
การสัมมนา โครงการสัมมนา การศึกษาเพื่อหาสาเหตุการตกสะสมของกรดในประเทศไทย วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม 2543 ห้องธาราทิพย์ 1-2 โรงแรมดิอิมพีเรียล ธารา กรุงเทพฯ หลักการและเหตุผล ปัญหาการตกสะสมของกรด (Acid Deposition) เป็นปัญหาในระดับประเทศและระดับภูมิภาค โดยมีลักษณะเป็น Transboundary Pollution ซึ่งประเทศไทยอาจได้รับผลกระทบจากการตกสะสมของกรดทั้งที่มีแหล่งกำเนิดจากภายในประเทศ รวมถึงที่แพร่กระจายมาจากประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคได้ ทั้งนี้ในปัจจุบันกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกได้มีการจัดตั้งเครือข่ายการติดตามตรวจสอบการตกสะสมของกรดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (Acid Deposition Monitoring Network in East Asia : EANET) เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันถึงความจำเป็นในการร่วมมือแก้ไข และควบคุมปัญหาดังกล่าวในระดับภูมิภาคอันจะนำไปสู่การประเมินความเสี่ยงของแต่ละพื้นที่ในการเกิดปัญหาอันเนื่องมาจากการตกสะสมของกรดต่อไป ในส่วนของประเทศไทยได้มีการจัดตั้งเครือข่ายการติดตามตรวจสอบการตกสะสมของกรดในประเทศไทยขึ้น โดยจะทำการเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำฝนและละอองกรดต่างๆในบรรยากาศ และในแหล่งน้ำธรรมชาติ ตลอดจนการเก็บและตรวจวิเคราะห์ดินและพืชในพื้นที่ป่าหรือที่ห่างไกลชุมชน พื้นที่ศึกษาจะครอบคลุมทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งได้แก่ เชียงใหม่ (ภาคเหนือ) นครราชสีมา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ชลบุรี (ภาคตะวันออก) สงขลา (ภาคใต้) นครปฐม (ภาคตะวันตก) และอยุธยา (ภาคกลาง) โดยจะมีการเก็บตัวอย่างและรวบรวมข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลการตรวจวัดและการติดตามตรวจสอบการตกสะสมของกรดในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ จะเป็นข้อมูลหลักที่จำเป็นต้องใช้ในการประเมินถึงสถานภาพการตกสะสมของกรด และระดับความรุนแรงของระดับปัญหาอันเนื่องมาจากการตกสะสมของกรดในระบบนิเวศน์และพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ อันจะนำไปสู่การประเมินความเสี่ยงของแต่ละพื้นที่ในการเกิดปัญหาอันเนื่องมาจากการตกสะสมของกรดต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อตรวจสอบถึงสถานภาพการตกสะสมของกรดและระดับความรุนแรงของปัญหา อันเนื่องมาจากการตกสะสมของกรดในระบบนิเวศน์และพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทย
2. ประเมินสาเหตุการตกสะสมของกรดในประเทศจากผลการตรวจสอบ
3. สร้างเครือข่ายงานติดตามตรวจสอบในทุกภูมิภาคของประเทศ
เป้าหมาย
1. ฐานข้อมูลสถานภาพการตกสะสมของกรดในแต่ละภูมิภาคของประเทศ
2. สภาพปัญหาและความรุนแรง ตลอดจนศักยภาพและความสามารถในการรองรับการตกสะสมของกรดในสิ่งแวดล้อม รูปแบบการสัมมนา การบรรยาย และอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การทำงานทางด้านการตกสะสมของกรดกับนักวิชาการ นักวิจัย และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
2. เกิดการประสานงานระหว่างบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อมจากหน่วยงานต่างๆ
กลุ่มเป้าหมาย
1. ผู้เข้าร่วมสัมมนาจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวน 40 คน
2. คณะกรรมการผู้จัดสัมมนาและวิทยากร จำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้น 50 คน--จบ--
-สส-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘ เม.ย. ARDA จับมือ ฟาร์ม เอ็กซ์โป และพันธมิตร เปิดศึก AGRITHON by ARDA Season 2 เฟ้นหาสุดยอดไอเดียปลุกพลังนวัตกรรมเกษตรไทย ชิงทุนวิจัยรวมกว่า 100
๑๘ เม.ย. กรุงศรี ฉลอง 80 ปี ดูหนัง 80 บาท ที่ Major Cineplex เมื่อชำระด้วยบัตรกรุงศรี เดบิตและบัตร Krungsri Boarding
๑๘ เม.ย. แบรนด์ซุปไก่สกัด รณรงค์ขับขี่ปลอดภัยในโครงการ สมองล้าอย่าขับ พักดื่มแบรนด์ จับมือ ตำรวจทางหลวง และ ตำรวจจราจร
๑๘ เม.ย. ซัมซุงจัดใหญ่! เป็นเจ้าของ ตู้เย็น Side by Side รุ่นใหม่ล่าสุด พร้อมรับสิทธิพิเศษแบบจุใจ ได้แล้ววันนี้
๑๘ เม.ย. ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2568 คาดกนง.มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนเมษายนนี้
๑๘ เม.ย. EXIM BANK ร่วมกับกระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์ ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs รับมือนโยบายภาษีแบบตอบโต้ของสหรัฐฯ
๑๘ เม.ย. ปักหมุด! เตรียมจัดงาน PET Expo Thailand 2025 จัดยิ่งใหญ่ครบรอบ 25 ปี
๑๘ เม.ย. ลดคลายร้อน ช้อปแลคตาซอย 1,000 ลด 100 พร้อมชวนร่วมสนุกถ่ายภาพคู่แลคตาซอย ลุ้น 10 รางวัล
๑๘ เม.ย. DITP ประชุมผู้จัดแสดงสินค้า เตรียมความพร้อมสู่เวที THAIFEX - ANUGA ASIA 2025
๑๘ เม.ย. โรงแรมเครือดุสิตธานี เปิดตัวโปรพิเศษต้อนรับซัมเมอร์ 'A Night on Us' เติมเต็มวันพักผ่อนอย่างมีความสุขกับโรงแรมและรีสอร์ทในเครือดุสิตธานีทั่วโลก