กรุงเทพฯ--27 พ.ย.--หลักทรัพย์กองทุนรวม
บริษัทหลักทรัพย์กองทุนรวม จำกัด (มหาชน) ปรับกลยุทธ์การลงทุนใหม่ เน้นที่กระบวนการตัดสินใจ และขั้นตอนการลงทุน โดยคำนึงถึงความเสี่ยงในการลงทุน ควบคู่ไปกับผลตอบแทนและสภาพคล่อง ป้องกันการขัดแย้งทางผลประโยชน์ ในการบริหารกองทุนอย่างเคร่งครัด เผยกองทุนรวมประเภท ตราสารทุน ทั้งกองทุนเปิดและกองทุนปิด มีผลตอบแทนเฉลี่ย ดีกว่าผลตอบแทนของดัชนีตลาดหลัก ทรัพย์แห่งประเทศไทย และอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของอุตสาหกรรมดร.เจษฎา โลหอุ่นจิตร กรรมการจัดการบริษัทหลักทรัพย์กองทุนรวม จำกัด(มหาชน) หรือเอ็มเอฟซี” (MFC) กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2542 มีการเปลี่ยนทีมผู้บริหารชุดใหม่ ได้มีการปรับกลยุทธ์การลงทุน ของกองทุนรวมภายใต้การจัดการ อย่างต่อเนื่อง โดยในปีแรกเน้นที่การปรับปรุงกระบวนการตัดสินใจ และขั้นตอนการลงทุนเพื่อรองรับระบบการบริหาร งานเป็นทีม มีคณะกรรมการนโยบายการลงทุน เป็นผู้กำหนดนโยบายการลงทุนในภาพรวม โดยอาศัยการวิเคราะห์วิจัย สถานการณ์การลงทุน ตั้งแต่ระดับเศรษฐกิจมหภาคไปสู่อุตสาหกรรมและรายบริษัท ทำการรวบรวมข้อมูลที่ได้รับจาก ทั้งภายในและภายนอกบริษัท ทั้งนี้การวิเคราะห์ดังกล่าว คำนึงถึงความเสี่ยงในการลงทุน ควบคู่ไปกับผลตอบแทน และสภาพคล่องเสมอ
ดร.เจษฎา กล่าวว่าการมีขั้นตอนการลงทุนที่เป็นระบบมากยิ่งขึ้น ประกอบกับการควบคุมความเสี่ยงจากการดำเนินงาน โดยอาศัยการบริหารงานเป็นทีม จะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงบุคลากรที่เป็นผู้จัดการกองทุน นอกจากนี้การวิเคราะห์ข้อมูลในระดับมหภาค และอุตสาหกรรมอย่างสม่ำเสมอ ยังช่วยลดความเสี่ยงด้านตลาดและ อัตราดอกเบี้ย ในขณะที่การวิเคราะห์ฐานะทางการเงิน ของผู้ออกตราสาร จะช่วยลดความเสี่ยงของการผิดนัดชำระหนี้ ทั้งนี้ในกรณีที่เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ผู้จัดการกองทุนของบริษัทจะมีการติดต่อหารือกับลูกค้าอย่างสม่ำเสมอเพื่อ ทบทวนผลการลงทุน และดูแลสภาพคล่อง ให้สอดคล้องกับแผนทางการเงินของลูกค้า ในขณะเดียวกันก็ติดตามความ เคลื่อนไหวของหลักทรัพย์ที่ลงทุนอย่างใกล้ชิด เพื่อกำหนดกลยุทธ์ทางการลงทุนของหลักทรัพย์แต่ละตัว รวมทั้งกระจาย การลงทุนในตราสารหลากหลายประเภท และหลักทรัพย์หลายตัว ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงของตัวหลักที่จะลงทุน
กรรมการจัดการ บริษัทหลักทรัพย์กองทุนรวม จำกัด(มหาชน) กล่าวว่าเอ็มเอฟซีเน้นเรื่องการป้องกันความขัดแย้ง ทาง ผลประโยชน์ในการบริหารกองทุนอย่างเคร่งครัด เนื่องจากบริษัทดำเนินธุรกิจจัดการกองทุนเพียงประเภทเดียว โอกาสที่ จะเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์จึงมีน้อย บริษัทมีอิสระเต็มที่ ในการคัดเลือกบริษัทนายหน้าค้าหลักทรัพย์ผู้ค้าตรา สารหนี้ รวมไปถึงผู้รับฝากทรัพย์สินและผู้สอบบัญชี ด้วยกระบวนการคัดเลือกที่โปร่งใส เพื่อประโยชน์สูงสุดของกองทุน ภายใต้การบริหารของบริษัท การปรับกลยุทธ์และกระบวนการการลงทุน ดังที่กล่าวมาข้างต้น นับว่ามีส่วนสำคัญ ที่ทำให้ ผลการบริหารกองทุนของเอ็มเอฟซี ในปี 2543 มีประสิทธิภาพมากขึ้น และให้ผลตอบแทนที่ดีขึ้นตามลำดับ แม้ว่า กองทุนรวมตราสารแห่งทุนของบริษัท ทั้งที่เป็นกองทุนปิดและกองทุนเปิด จะมีผลตอบแทนเฉลี่ยติดลบเท่ากับร้อยละ 33.6 และร้อยละ 35.0 ตามลำดับในปี 2543 (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึงวันที่ 25 สิงหาคม 2543) แต่ก็เป็น อัตราติดลบที่น้อยกว่าผลตอบแทนเฉลี่ยของอุตสาหกรรม ซึ่งติดลบเท่ากับร้อยละ 34.6 และร้อยละ 35.8 ตามลำดับ และผลตอบแทน ของดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งติดลบเท่ากับร้อยละ 36.3
สำหรับกองทุนเปิดเอ็มเอฟซีเฟล็กซิเบิ้ลฟันด์ (MFX) ซึ่งเป็นกองทุนรวมผสมแบบยืดหยุ่น (Flexible Portfolif Fund) ที่จัดตั้งขึ้นในปี 2542 ในช่วงแรกเน้นการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้นมีผลตอบแทนในปี 2543 (ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคมถึงวันที่ 25 สิงหาคม 2543) ติดลบเท่ากับร้อยละ19.6 อยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่า อัตราผลตอบแทนของ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งติดลบเท่ากับร้อยละ 36.3 ส่วนกองทุนปิดเอ็มเอฟซีสปอท(SPOT) โดยได้เริ่มโครงการเมื่อ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2543 มีผลตอบแทนนับตั้งแต่วันเริ่มโครงการถึงวันที่ 25 สิงหาคม 2543 ติดลบเท่ากับร้อยละ 6.6 เทียบกับผลตอบแทนของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งติดลบเท่ากับร้อยละ 24.6 ในช่วงเวลาเดียวกันการที่ MFX และ SPOT ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ผลตอบแทนของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ เนื่องมาจากการปรับสัดส่วนการลงทุน ของหลักทรัพย์จากตลาดตราสารทุน ไปยังตลาดตราสารหนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะการลงทุนในปัจจุบัน--จบ--
-สส-
- พ.ย. ๒๕๖๗ ภาพข่าว: เปิดตัวสื่อน้องใหม่ของวงการตลาดทุน www. Hooninside.com
- พ.ย. ๕๓๘๔ ตลาดหลักทรัพย์ฯ รับ 3 กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ มูลค่ารวมเกือบ 3 พันล้านบาท เข้าซื้อขายเดือนสิงหาคม นี้
- พ.ย. ๒๕๖๗ รักษาการ ผอ.ออมสิน และ กก.ผจก.บลจ. เอ็มเอฟซี (มหาชน) ร่วมลงนามสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์กองทุนรวมออมสิน (M-GSB Fund)