สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.) ใช้งบ มพช.อีก 185 ล้านบาท สนองนโยบาย "หนึ่งผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล"

ศุกร์ ๐๘ มิถุนายน ๒๐๐๑ ๑๔:๐๓
กรุงเทพฯ--8 มิ.ย.--มพช.
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.) ใช้งบ มพช.อีก 185 ล้านบาท วางกลไกเครือข่ายศูนย์ธุรกิจชุมชน สนองนโยบาย "หนึ่งผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล" ของรัฐบาล เริ่มต้น 15 จังหวัดนำร่อง ก่อนกระจายลงสู่ทุกจังหวัดในประเทศ
นางสาวสมสุข บุญญะบัญชา ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.) เปิดเผยว่า พอช. ได้ใช้เงินงวดสองอีก 185 ล้านบาท จากโครงการมาตรการเสริมการพัฒนาชนบทและชุมชน (มพช.) เพื่อใช้ในการสร้างกลไกเครือข่ายชุมชน รองรับการถ่ายโอนอำนาจจากส่วนกลางลงสู่ท้องถิ่น จากงบประมาณรวม 500 ล้านบาท
"เงินงวดสองนี้ พอช.นำมาใช้ในก่อตั้งศูนย์ธุรกิจชุมชน ซึ่งถือว่าเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและสามารถสร้างรายได้ให้กับสมาชิกและชุมชน จึงเท่ากับว่า ชุมชนมีความเข้มแข็งมากขึ้น"
ผู้อำนวยการ พอช. กล่าวว่า ศูนย์ธุรกิจชุมชน ที่จัดตั้งขึ้น จะมีบทบาทในการประสานงานเรื่องการตลาดให้กับชุมชน โดยเฉพาะในเรื่องของการจัดการเชิงธุรกิจ เนื่องจากแต่ละชุมชนต่างมีสินค้าอยู่แล้ว ดังนั้น ศูนย์ธุรกิจชุมชนจะเข้าไปทำหน้าที่เป็นร้านค้าให้กับชุมชน เช่นการซื้อมา-ขายไป ทำหน้าเป็นผู้ร่วมพัฒนาในการผลิตเกษตรอินทรีย์ให้กับเกษตรกรและชุมชนต่างๆ และการทำหน้าที่ด้านการตลาดให้กับชุมชน
" สามบทบาทหลัก ของศูนย์ธุรกิจชุมชน จะเป็นส่วนสนับสนุนต่อนโยบายของรัฐบาล ในโครงการ "หนึ่งผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล" เท่ากับว่าชุมชนสามารถมีช่องทางในการจำหน่ายสินค้าและแหล่งเงิน ทุนของสมาชิกในชุมชนอีกทางหนึ่ง"
สำหรับศูนย์ธุรกิจชุมชน นี้จะเริ่มใน 15 จังหวัดกระจายทั่วทุกภาคของไทย คือ กรุงเทพฯ ปทุมธานี ภาคเหนือที่ เชียงราย พะเยา เชียงใหม่ ภาคตะวันออกที่ ตราด ระยอง จันทบุรี ภาคใต้ที่ สงขลา ตรัง ชุมพร นครศรีธรรมราช และภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ ยโสธร ขอนแก่นและมุกดาหาร
อย่างไรก็ตาม การเริ่มดำเนินการของศูนย์ธุรกิจชุมชนนั้น ผอ.พอช. กล่าวว่า จะเริ่มต้นไม่พร้อมกัน เพราะต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละจังหวัด เนื่องจากในบางแห่งก็ดำเนินการอยู่แล้ว เมื่อตั้งศูนย์ธุรกิจชุมชนขึ้นก็จะเป็นการต่อยอดให้กับชุมชน
สำหรับบางจังหวัดที่มีลักษณะของการจัดการคล้ายๆ กับศูนย์ธุรกิจชุมชน แต่ไม่ได้ดำเนินการอย่างเป็นเครือข่ายชัดเจน เมื่อจัดตั้งศูนย์ธุรกิจชุมชนแล้ว จะช่วยให้การจัดการของจังหวัดนั้นๆ เป็นเครือข่ายของชุมชนที่เข้มแข็งได้
ส่วนที่เหลือบางแห่งก็จะเป็นการเข้าไปวางระบบและสร้างกลไกนี้ขึ้นมา และจะเป็นส่วนช่วยให้ชุมชนในท้องถิ่นคิดเป็นและทำเป็น ได้ตรงความต้องการของชุมชน ซึ่งเท่ากับว่าช่วยให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง และพร้อมรับการถ่ายโอนอำนาจจากส่วนกลางได้.
รายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อ
ศูนย์ประชาสัมพันธ์ มพช.
คุณสุภาพร หวานเสนาะ / คุณสร้อยนภา สงฆ์โนนเหล็ก
โทร. 279-8001,616-2214-5--จบ--
-อน-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๑๐ เชฟรอน (ไทย) รุกเจาะตลาดน้ำมันเครื่อง เพื่ออุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
๑๑:๐๗ RML เปิดศักราชปี'68 มาแรง! หุ้นกู้มีหลักประกันขายหมดเกลี้ยง 100%
๑๑:๐๐ สมาคมดินโลก ร่วมกับ 4 หน่วยงาน ลงนามความร่วมมือเสริมสร้างการจัดการดินเพื่อเกษตรยั่งยืน
๑๐:๐๐ ศูนย์การค้าเครือเอ็ม บี เค ฉลองเทศกาลตรุษจีนสุดยิ่งใหญ่ CHINESE NEW YEAR 2025
๑๐:๐๐ ซัมซุง จัดงาน Live Human Display การแสดงสะท้อนการใช้ชีวิตสุดชิล เมื่อมี AI จาก Galaxy Tab S10 Series เป็นตัวช่วยในการทำงาน
๐๙:๐๐ รำไพพรรณีจับมือโรงเรียนในจันทบุรี พัฒนาทักษะภาษา สู่ความเป็นเลิศ
๐๙:๐๐ DITP แถลงข่าวตอกย้ำความสำเร็จ E-Academy ภายใต้แนวคิด Beyond Boundaries Transform Knowledge into Impact
๐๙:๐๐ เปิดให้จองแล้ว Samsung Galaxy S25 Series ผู้ช่วยส่วนตัวคนใหม่ของคนไทย พร้อมรับสิทธิพิเศษมากมาย
๐๙:๐๐ ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา โปรตุเกส.เหตุที่รั
๐๙:๐๐ การเคหะแห่งชาติจับมือ 3 หน่วยงาน พัฒนาศักยภาพเพิ่มทักษะชาวชุมชนหวังสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี