รัฐมนตรีอดิศัย โพธารามิก เปิดเจรจาพม่ารุกเปิดเส้นทางเชื่อมสุวรรณภูมิไทยพร้อมเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว

พุธ ๑๓ กันยายน ๒๐๐๐ ๑๕:๒๕
กรุงเทพฯ--13 ก.ย.--ททท.
นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และนายภราเดช พยัฆวิเชียร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เดินทางเยือนประเทศพม่า โดยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีลงนามในบันทึกแผนความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวทวิภาคี กับพลเอก ซอ วิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการโรงแรมและการท่องเที่ยวพม่า วันที่ 2 กันยายน 2543 ณ กรุงร่างกุ้ง มุ่งเป้าขยายขอบเขตความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการลงทุนเปิดโครงข่ายการคมนาคมทางบก 3 เส้นทางหลักจากพม่าผ่านภาคตะวันตกของไทยเป็นประตูเชื่อมต่อจีน ลาวและเวียดนาม ทางอากาศบินเชื่อมสู่มัณฑะเลย์ ไทยเตรียมผลักดันเงินทุนสนับสนุนดอกเบี้ยต่ำ
โดยการลงนามความร่วมมือทวิภาคี จะส่งผลให้เกิดการกำหนดแผนงาน โครงการ วิธีการ การจัดลำดับความสำคัญ การติดตามผลและกรอบระยะเวลาแต่ละโครงการอย่างชัดเจน โดยเฉพาะโครงการด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน ในส่วนการคมนาคมทางบกที่ให้ความสำคัญอย่างเร่งด่วน ได้แก่ กาญจนบุรี-ทวาย ซึ่งจะเป็นแรงผลักการท่องเที่ยวเข้าประเทศพม่าผ่านทางจังหวัดกาญจนบุรีมากขึ้น เส้นทางที่ 2 แม่สอด-พะอัน ที่จะเชื่อมภาคเหนือตอนล่างของไทยจากตาก พิษณุโลก สุโขทัย ให้นักท่องเที่ยวไหลเวียนข้ามผ่านพรมแดน เพื่อก่อการลงทุนทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ในขณะเดียวกันก็จะเป็นเส้นทางบรรจบกับการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมกับลาวและเวียดนาม ส่วนเส้นทางที่ 3 เริ่มตั้งแต่แม่สายเข้าสู่พม่าและจีนตอนใต้ เพื่อให้นักท่องเที่ยวจีนสามารถเดินทางเข้าพม่าและสู่ประเทศไทยทางภาคเหนือได้ โดยเส้นทางทั้งหมดเป็นส่วนเสริมการเชื่อมโยงภายใต้กรอบโครงการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวทั้งไทยและพม่า ประสานแผนตลาดการท่องเที่ยวร่วมกัน และแลกเปลี่ยนข้อมูลการท่องเที่ยวให้มากขึ้น
นายอดิศัย โพธารามิก เชื่อมั่นว่าความร่วมมือระหว่างไทย-พม่า นอกจากจะเป็นการวางแผนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่จะนำไปสู่การไหลเวียนของเงินทุน วัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในภูมิภาคแล้ว ยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ในด้านวัฒนธรรมและสังคมระหว่างกัน ซึ่งกลไกความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวจะเป็นมาตรการสนับสนุนที่สำคัญ พร้อมทั้งกล่าวว่าการหารือและลงนามความตกลงกันครั้ง ต้องการให้มีการนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรมจึงมีการแต่งตั้งคณะทำงานร่วม 2 ฝ่าย เพื่อตรวจสอบความคืบหน้าและติดตามผลการปฏิบัติ เรียกว่า Implementing Technical Group โดยกำหนดระยะเวลาประชุม 2-3 เดือนต่อครั้ง--จบ--
-อน-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ