กรุงเทพฯ--13 พ.ย.--สธ.
นายแพทย์วินัย สวัสดิวร รองอธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดตั้งคลินิกอดบุหรี่ในประเทศอินเดียว่า องค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ได้ขอความร่วมมือจากสถาบันควบคุมการบริโภคยาสูบ จัดหลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ชาวอินเดีย เพื่อกลับไปจัดตั้งคลินิกอดบุหรี่ในประเทศอินเดีย เนื่องจากพบว่า ประชากรประมาณหนึ่งพันล้านคนของอินเดีย มีประชาชนใช้ยาสูบเป็นชายร้อยละ 65 หญิงร้อยละ 3 ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบเคี้ยวหรือที่เรียกว่า บีดี้ส์ (Bidis) และมีอัตราป่วย-ตายจากโรคที่เกี่ยวข้องกับยาสูบเพิ่มสูงมากในกลุ่มวัยกลางคน ทั้งยังเป็นประเทศที่มีอัตราการป่วยเป็นโรคมะเร็งช่องปากสูงที่สุดในโลก คือ ร้อยละ 33 ของโรคมะเร็งทั้งหมด ซึ่งพบว่าร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคมะเร็งช่องปากเคี้ยวใบยาสูบ ยาสูบแบบเคี้ยวจะก่อมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งในช่องปาก
ทางด้านแพทย์หญิงวราภรณ์ ภูมิสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันควบคุมการบริโภคยาสูบ เปิดเผยถึงรูปแบบต่าง ๆ ของคลินิกอดบุหรี่ในประเทศไทยว่า ได้พัฒนาถึงระดับที่น่าพอใจ ทั้งการรับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก การเข้าค่ายพักแรม เป็นต้น จากการศึกษาคลินิกอดบุหรี่ของต่างประเทศ พบว่า อัตราการเลิกบุหรี่ได้สำเร็จหลังจากติดตาม 1 ปี คือ ร้อยละ 10-30 ในขณะที่รูปแบบการเข้าค่ายพักแรม ภายหลังติดตาม 1 ปี พบว่า ผู้ติดบุหรี่สามารถเลิกบุหรี่ได้ร้อยละ 61 ซึ่งนับว่าประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับ องค์การอนามัยโลก จึงได้ขอความร่วมมือให้ประเทศไทยช่วยจัดประชุมในครั้งนี้--จบ--
-สส-
- ธ.ค. ๒๕๖๗ กศน.จับมือสามหน่วยงานร่วมโครงการ "ความร่วมมือ เพื่ออากาศสดใส ปลอดภัยควันบุหรี่"
- ๒๔ ธ.ค. "เดชอิศม์" ชวน "สื่อ" เปิดบ้านกรมอนามัย โลว์คาร์บ ไม่โลว์แคล ห่างไกล NCDs
- ๒๓ ธ.ค. "เดชอิศม์" ชวนคนไทยเตรียมตัวก่อนมีคู่ สร้างลูกด้วยรัก ส่งเสริมการเกิด อย่างมีคุณภาพ
- ๒๓ ธ.ค. กรมอนามัย แนะ มาตรการป้องกันโรคโนโรไวรัส หวั่นระบาดช่วงเทศกาล