กรุงเทพฯ--18--พ.ค.--อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์
"ซัน ไมโครซิสเต็มส์ อิงก์" ประกาศจัดตั้งโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีสำหรับมหาวิทยาลัยแนวใหม่ "Sun Campus Incubator program" เพื่อเปิดโอกาสให้
นักศึกษาระดับปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจนำเทคโนโลยีของซันมาใช้ในการประยุกต์ใช้แผนงานธุรกิจอิเล็คทรอนิกส์ คอมเมิร์ซ ในโลกของความเป็นจริงในขณะที่กำลังศึกษาอยู่ โดยขณะนี้มีสถาบันการศึกษาจากทั่วโลกได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวเป็นกลุ่มแรกจำนวน 6 แห่ง
ทั้งนี้ นักศึกษาที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ Sun Campus Incubator Program จะนำระบบอินฟราสตรัคเจอร์ด้านเทคนิคไปใช้ในการพัฒนาแผนการทำธุรกิจบนอินเตอร์เน็ตของตน โดยซันจะคัดเลือกแผนธุรกิจด้านอี-คอมเมิร์ซจากมหาวิทยาลัยต่างๆที่เข้าร่วมโครงการจำนวนแห่งละ 5 แผน
ทั้งนี้ การคัดเลือกจะพิจารณาจากข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของมหาวิทยาลัย และบริษัทเงินทุน (Venture Capital) ที่เข้าร่วมโครงการ โดยแผนงานที่ได้รับการคัดเลือกจะได้รับสิทธิในการเข้าใช้ระบบและอุปกรณ์ที่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีของซันซึ่งติดตั้งในมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการได้ฟรีนาน 6 เดือน
การดำเนินงานตามโครงการดังกล่าวจะทำให้นักศึกษาสาขาบริหารธุรกิจสามารถนำแผนงานของตนมาใช้ในการดำเนินธุรกิจที่ประสบความสำเร็จได้เร็วกว่าเดิม โดยเสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่า ทั้งยังสามารถใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยของซัน และมีโอกาสเปิดตัวให้เป็นที่รู้จักแก่บริษัทเงินทุนที่มีศักยภาพในการสนับสนุนด้านการเงินสำหรับธุรกิจต่างๆได้อีกด้วย
"โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีของซันถือเป็นการสร้างโอกาสอันดีให้แก่นักศึกษาสาขาบริหารธุรกิจในปัจจุบัน" มร. แพร์รี่ ซิงห์ ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร บริษัท EthnicGrocer.com ซึ่ง"ซัน" บุกเบิกโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่มหาวิทยาลัย
มร. ซิงห์เป็นผู้ได้ก่อตั้งขึ้นในขณะเป็นนักศึกษาสาขาบริหารธุรกิจกล่าว และเสริมว่า "ระบบปฏิบัติการโซลาริส" ของซันถือเป็นแพลทฟอร์มที่สามารถปรับขยายระบบได้สูงที่สุด จึงเหมาะสำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจบนอินเตอร์เน็ตที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดในขณะนี้ โครงการนี้จะช่วยให้ระบบปฏิบัติการ
โซลาริสมีความพร้อมที่จะทำงานได้เร็วขึ้น เพื่อตอบสนองธุรกิจต่างๆ ที่ต้องการประสบความสำเร็จท่ามกลางการแข่งขันอันรุนแรงในตลาด" ในระหว่างการดำเนินงานตามโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีเป็นระยะเวลา 6 เดือนนั้น นักศึกษาจะต้องจัดทำแผนธุรกิจต้นแบบ หรือแผนทดสอบแนวทางการประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ การเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ และทันสมัยทำให้นักศึกษามีการเตรียมพร้อมที่ดีขึ้นเพื่อทำให้แผนงานของตนบรรลุผลเป็นจริงต่อไป มร. วินอด คอสลา ผู้ร่วมทุนของบริษัท Kleiner, Perkins, Caufield & Byers และผู้ก่อตั้ง บริษัท ซัน ไมโครซิสเต็มส์ กล่าวว่า "ซันเป็นบริษัทหนึ่งที่ถือกำเนิดจากสถาบันการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยจนประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ คณะบริหารธุรกิจจะเป็นจุดเริ่มต้นของบริษัทหลายแห่งที่เป็น ผู้นำในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจอิเล็กทรอนิกส์ในอนาคต และโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวมุ่งที่จะสนับสนุนบริษัทต่างๆเหล่านี้ ตลอดจนผู้ก่อตั้งให้ได้รับประโยชน์ตั้งแต่เริ่มแรกเลยทีเดียว"
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่มหาวิทยาลัยนี้จะช่วยให้นักศึกษาสามารถเข้าใช้ระบบและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีล่าสุดจากซัน ในสถานศึกษาของตน ระบบงานดังกล่าว ประกอบด้วย ระบบงานครบวงจรที่ทำงานด้วยเครื่องลูกข่ายระดับเอ็นเตอร์ไพรส์ Sun Ray 1 และศูนย์ข้อมูล (Datacenter)ประจำมหาวิทยาลัยที่มีศักยภาพในการทำงานอย่างเต็มที่ โดยได้โหลดซอฟท์แวร์ Sun Developer EssentialsSM, Enterprise Edition ซึ่งเป็นชุดซอฟต์แวร์เอ็นเตอร์ไพรส์สมบูรณ์แบบที่สามารถทำงานข้ามแพลทฟอร์มได้ ได้แก่ ระบบปฏิบัติการ Netscape, iPlanet และ Solaris ตลอดจน StarOffice 5.2 ซึ่งเป็นชุดซอฟต์แวร์ออฟฟิศที่สามารถทำงานข้ามแพลทฟอร์มกันได้
คิม โจนส์ รองประธานฝ่ายการศึกษาและวิจัยระหว่างประเทศ บริษัท ซัน ไมโครซิสเต็มส์ กล่าวว่า "ซันมีบทบาทอันก้าวไกลในแวดวงการศึกษาจนเป็นที่รู้จักและยอมรับกันอย่างกว้างขวาง และโครงการดังกล่าวถือเป็นการลงทุนอีกทางหนึ่งของซัน ซึ่งจะบังเกิดประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม "ซัน" บุกเบิกโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่มหาวิทยาลัย
โครงการ นักศึกษา และระบบเศรษฐกิจอิเล็กทรอนิกส์ เราเชื่อมั่นว่าแผนธุรกิจอันโดดเด่นซึ่งริเริ่มสร้างสรรค์โดยนักศึกษานี้จะเป็นแผนที่พร้อมจะประสบผลสำเร็จในโลกธุรกิจต่อไป"
สถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ Sun Campus Incubator ได้แก่: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย โพลีเทคนิค สเตท เมืองเซนต์หลุยส์ โอบิสโป มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
สถาบันบริหารธุรกิจอินเดียน เมืองไฮเดอราบัด ประเทศอินเดีย
สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจเคลล็อกก์ มหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น เมืองอีแวนสตัน มลรัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา
คณะบริหารธุรกิจนันยาง มหาวิทยาลัยนันยาง เทคโนโลยี สิงคโปร์
มหาวิทยาลัยปักกิ่ง เมืองปักกิ่ง ประเทศจีน
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด เมืองอ็อกซ์ฟอร์ด สหราชอาณาจักร
นอกจากนี้ ซันยังมุ่งที่จะร่วมมือกับสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงแห่งอื่นๆ เพื่อขยายการดำเนินงานตามโครงการดังกล่าวต่อไปในอนาคตสำหรับบริษัทเงินทุนที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าวกับซันได้แก่ บริษัท เอเชีย เทค เวนเจอร์ (พีทีอี) จำกัด สิงคโปร์ และบริษัท ไดอะมอนด์เฮด เวนเจอร์ส เมืองคูเปอร์ทิโน มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
ทั้งนี้ หลังจากการพัฒนาและทดสอบแอพพลิเคชั่นอี-บิสิเนสขั้นพื้นฐานเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว ผู้พัฒนาจะได้รับอนุญาตให้เข้าไปร่วมพัฒนาโปรแกรมขั้นสูงของซัน อาทิ โปรแกรม Developer Conncetion SM และ iForce
ซันกับบทบาททางด้านการศึกษา
ซันคือผู้นำในการให้บริการโซลูชั่นระบบเครือข่ายแบบเปิดสำหรับการใช้งานในสถาบันการศึกษาระดับวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วโลก และช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบการศึกษาวิจัยทางวิชาการ ตลอดจนระบบประมวลผลข้อมูลสมรรถนะสูง ระบบบริหารสถาบันการศึกษา ระบบห้องสมุดดิจิตอล และระบบการเรียนการสอน นอกจากนี้ ซันยังมุ่งเน้นให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่นักเรียนและนักศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษาทุกระดับ หากต้องการรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับซันกับบทบาททางการศึกษาเพิ่มเติม กรุณาแวะไปที่ http://www.sun.com/edu ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ:
รัมภา บุศยอังกูร
ซัน ไมโครซิสเต็มส์ (ประเทศไทย)
โทร. 636-1555
อีเมล์ [email protected]
สิริพร ศุภรัชตการ หรือ สาธิดา ศรีธัญญาธรณ์
อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์
โทร. 252-9871-7
อีเมล์ [email protected] / [email protected] จบ--
-อน-
- ธ.ค. ๒๕๖๗ AACSB ยกย่องโรงเรียนธุรกิจ 25 แห่งที่ช่วยยกระดับผู้ประกอบการ
- ธ.ค. ๒๕๖๗ สนต. เตรียมระดมสถาบันการศึกษาทั่วโลกอีกครั้ง ในงานนิทรรศการศึกษาต่อต่างประเทศ 20 - 21 มีนาคม นี้
- ธ.ค. ๒๕๖๗ กลุ่มทรู จัดแคมเปญ “Together Forever” เอาใจคู่รัก รับวันวาเลนไทน์ ชวนคู่หวานเปิดเบอร์ใหม่เสริมดวงความรัก จากทรูมูฟ เอช พร้อมรับฟรี บัตรภาพยนตร์True 4DX มูลค่า 1,200 บาท
- ธ.ค. ๒๕๖๗ ภาพข่าว: กรมการค้าภายในเยี่ยมชมกิจการ “ร้านติดดาว” โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตร้านค้าปลีกของกลุ่มบริษัทยูนิลีเวอร์
- ธ.ค. ๒๕๖๗ ประเทศไทยจัดงานประชุมนานาชาติเรื่องโรคเอดส์ ใช้ Live Streaming ถ่ายทอดสดการประชุมเป็นครั้งแรกแก่บุคลากรทางการแพทย์