ILCT: การประกันภัยสำหรับธุรกิจของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (2)

พฤหัส ๑๘ ตุลาคม ๒๐๐๑ ๐๙:๒๒
กรุงเทพฯ--18 ต.ค.--ที่ปรึกษากฎหมายสากล
โดยพัชรินทร์ ฉัตรวชิระกุล
บริษัท ที่ปรึกษากฎหมายสากล จำกัด
[email protected]
จากครั้งที่แล้ว เราได้ค้างกันไว้ถึงเรื่องความเสี่ยงภัยที่เกิดจากการให้บริการในธุรกิจ E-Commerce วันนี้เราจะมาว่ากันต่อค่ะ ในการให้บริการประกันภัยความเสี่ยงที่เกิดจากธุรกิจ E-Commerce นั้น บริษัทประกันภัยอาจกำหนดเงื่อนไขที่ผู้เอาประกัน (บริษัทที่ประกอบธุรกิจ E-Commerce หรือ ISP) ต้องประเมินความเสี่ยงที่ผู้เอาประกันต้องเผชิญ และต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของบริษัทผู้รับประกันภัยเพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว ซึ่งบริษัทประกันภัยส่วนมาก มักมีข้อตกลงร่วมกับบริษัทจัดการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Company) เพื่อประเมินสถานะของผู้เอาประกันภัยดังกล่าวข้างต้นรวมทั้งต้องมีการตรวจสอบระบบความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์ของบริษัทผู้เอาประกันว่าเป็นระบบใด เพื่อประเมินความเสียหายที่จะเกิดขึ้นก่อนที่จะตัดสินใจรับประกันภัยในแต่ละราย ดังนั้น หากผู้ประกอบธุรกิจ E-Commerce ใดที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์มาตรฐานของบริษัทประกันภัยนั้นๆ ก็มีสิทธิที่อาจจะถูกปฏิเสธได้ ซึ่งก็อาจเกิดปัญหาว่า หากผู้ประกอบธุรกิจ E-Commerce รายใดมีคุณสมบัติที่จะประกันภัยได้ ก็อาจไม่มีความจำเป็นที่ต้องพึ่งประกันภัย เนื่องจากระบบการรักษาความปลอดภัยดีโอกาสที่จะเกิดความเสียหายนั้นก็มีค่อนข้างน้อย
ในช่วง 2 ปีผ่านมา บริษัทประกันภัยในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ให้บริการประกันภัยในธุรกิจอินเตอร์เน็ตมีมากขึ้น ที่เป็นที่รู้จักกันดี อาทิเช่น บริษัท เอไอจี (AIG) บริษัท Marsh & McLennan บริษัท อินชัวร์ทรัสต์ ในแอตแลนต้า หรือบริษัทลอยด์แห่งลอนดอน เป็นต้น โดยที่ให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากการถูกขโมยข้อมูล การลบข้อมูล การเปลี่ยนแปลงข้อมูล ที่เกิดหรือเกี่ยวข้องกับธุรกิจ E-Commerce อาทิเช่น กรมธรรม์ประกันภัยสำหรับคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของแฮ็คเกอร์ หรือกรมธรรม์ที่คุ้มครองความเสียหายในกรณีที่ผู้เอาประกันละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของบุคคลอื่น เช่น การถูกฟ้องร้องว่า เนื้อหาหรือข้อมูลที่ปรากฏบนเว็บไซท์นั้นละเมิดลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่น โดยวงเงินความคุ้มครองการประกันภัยนี้ โดยทั่วไปจะมีจำนวนวงเงินตั้งแต่ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ จนถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐ และจำนวนเบี้ยประกันก็จะมีจำนวนตั้งแต่ 5 พันเหรียญสหรัฐ จนถึงหลักล้านเหรียญสหรัฐ
สำหรับในประเทศไทยนั้น เมื่อพิจารณาตามกฎหมายไทยนั้น ธุรกิจประกันภัยอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 โดยมาตรา 4 ของ พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ระบุว่า
คำว่า "วินาศภัย" หมายถึง "ความเสียหายใดๆ บรรดาที่จะทั้งประมาณเป็นเงินได้และหมายรวมถึงความสูญเสียประโยชน์หรือรายได้ด้วย"
จากนิยามดังกล่าว เมื่อพิจารณาถึงความเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้น อันเกี่ยวเนื่องกับอินเตอร์เน็ตไม่ว่าจะเป็นความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของแฮ๊คเกอร์ การถูกขโมยข้อมูล หรือแม้กระทั่งความเสียหายที่เกิดจากความรับผิดจากการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
ผู้เขียนเห็นว่า ความเสี่ยงดังกล่าวอาจถือได้ว่าเป็นวินาศภัยตามคำจำกัดความในมาตรา 4 ดังกล่าวข้างต้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าความเสียหายประเภทนี้จะเข้าข่ายเป็นวินาศภัยตามกฎหมาย หากผู้ประกอบธุรกิจ E-Commerce ในประเทศไทย ต้องการจะประกันความเสี่ยงภัยของตนเช่นผู้ประกอบธุรกิจในต่างประเทศ ก็คงต้องพิจารณาถึงอำนาจหรือขอบเขตการให้บริการของบริษัทประกันภัยด้วยว่าทำได้หรือไม่ เพราะบริษัทประกันภัยนั้นตามกฎหมายไทยจะประกอบธุรกิจการให้บริการได้ต้องเป็นบริษัทประกันภัยที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทยตามที่กำหนดในมาตรา 6
พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2538
มาตรา 6 "ภายใต้บังคับมาตรา 7 การประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยจะกระทำได้เมื่อได้จัดตั้งขึ้นในรูปบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือบริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด และโดยได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยจากรัฐมนตรีโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี
การขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง และในการอนุญาต รัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้"
รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ โดยการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี จะเป็นผู้ออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ทั้งนี้ บริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่ต้องการจะตั้งสาขาของบริษัทเพื่อประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทยก็ต้องได้รับใบอนุญาตเช่นกัน
ในส่วนของความคุ้มครองความเสี่ยงภัยทางทรัพย์สินในประเทศไทยนั้น ในขณะนี้สามารถแบ่งความคุ้มครองได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ (1) ประภัยอัคคีภัย และ (2) ประกันการเสี่ยงภัยทุกชนิด โดยบริษัทที่ความเสี่ยงภัยน้อยส่วนใหญ่มักจะทำประกันภัยภายใต้กรมธรรม์อัคคีภัย ส่วนบริษัทที่ความเสี่ยงภัยมาก มักจะได้ทำประกันภัยความเสี่ยงภัยทุกชนิด (All risk) ที่จะระบุถึงประเภทภัยที่ได้รับความคุ้มครองในกรณีที่เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เอาประกัน (Insured Property) อาทิเช่น ภัยจากไฟไหม้ ฟ้าผ่า ภัยระเบิด ภัยลมพายุ ภัยทางอากาศ ความเสียหายอันเกิดจากอุบัติเหตุจากภัยภายนอก และยกเว้นความรับผิดสำหรับภัยบางชนิดไว้ชัดแจ้ง อาทิเช่น ยกเว้นความรับผิดจากความเสียหายอันเนื่องมาจากการจราจล หรือประท้วง เป็นต้น ซึ่งหากเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เอาประกัน เช่น ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการในธุรกิจ E-Commerce ถูกแฮ๊คเกอร์ทำลายก็อาจเกิดปัญหาว่า กรมธรรม์ดังกล่าวจะไม่ครอบคลุมถึงความเสียหายนอกเหนือจากทรัพย์สินที่ประกันไว้หรือไม่
นอกจากนี้ ในมาตรา 29 ของกฎหมายดังกล่าว ยังระบุให้บริษัทประกันภัยจะต้องส่งสำเนากรมธรรม์ให้กับกรมการประกันภัยพิจารณา และได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนประกันภัยก่อน หากบริษัทประกันภัยใดออกกรมธรรม์ที่แตกต่างไปจากแบบหรือข้อความที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบ ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์มีสิทธิ 2 ประการคือ (1) เลือกให้บริษัทประกันภัยรับผิดในการชำระหนี้ตามแบบกรมธรรม์ประกันภัยหรือข้อความที่บริษัทออกให้ หรือ (2) เลือกตามแบบหรือข้อความที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบ แต่บริษัทประกันภัยยังคงต้องรับผิดตามที่กำหนดไว้เช่นเดิม จากการตรวจสอบของผู้เขียนพบว่า ในปัจจุบันกรมธรรม์ประกันภัยของไทยโดยส่วนใหญ่ยังไม่ขยายความคุ้มครองไปถึงความเสียหายที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบธุรกิจทางอินเตอร์เน็ตข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายที่เกิดจากการที่ข้อมูลสูญหาย ถูกขโมย หรือถูกเปลี่ยนแปลง หรือความเสียหายที่เกิดจากการถูกฟ้องร้องจากการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ดังนั้น หากผู้ประกอบธุรกิจ E-Commerce ในประเทศไทยประสงค์จะได้รับความคุ้มครองจากการประกันภัยประเภทนี้ ก็ต้องไปใช้บริการบริษัทประกันภัยในต่างประเทศ หากข้อกำหนดและเงื่อนไขที่จะตกลงกับบริษัทในต่างประเทศนั้น ยอมรับที่จะรับประกันภัยทรัพย์สินของผู้ประกอบธุรกิจในประเทศไทย ส่วนในประเทศไทยนั้น ก็ต้องรอดูกันต่อไปถึงโอกาสที่จะมีความคุ้มครองให้ครอบคลุมถึงความเสียหายในลักษณะนี้ต่อไปค่ะ--จบ--
-อน-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘ เม.ย. ARDA จับมือ ฟาร์ม เอ็กซ์โป และพันธมิตร เปิดศึก AGRITHON by ARDA Season 2 เฟ้นหาสุดยอดไอเดียปลุกพลังนวัตกรรมเกษตรไทย ชิงทุนวิจัยรวมกว่า 100
๑๘ เม.ย. กรุงศรี ฉลอง 80 ปี ดูหนัง 80 บาท ที่ Major Cineplex เมื่อชำระด้วยบัตรกรุงศรี เดบิตและบัตร Krungsri Boarding
๑๘ เม.ย. แบรนด์ซุปไก่สกัด รณรงค์ขับขี่ปลอดภัยในโครงการ สมองล้าอย่าขับ พักดื่มแบรนด์ จับมือ ตำรวจทางหลวง และ ตำรวจจราจร
๑๘ เม.ย. ซัมซุงจัดใหญ่! เป็นเจ้าของ ตู้เย็น Side by Side รุ่นใหม่ล่าสุด พร้อมรับสิทธิพิเศษแบบจุใจ ได้แล้ววันนี้
๑๘ เม.ย. ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2568 คาดกนง.มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนเมษายนนี้
๑๘ เม.ย. EXIM BANK ร่วมกับกระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์ ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs รับมือนโยบายภาษีแบบตอบโต้ของสหรัฐฯ
๑๘ เม.ย. ปักหมุด! เตรียมจัดงาน PET Expo Thailand 2025 จัดยิ่งใหญ่ครบรอบ 25 ปี
๑๘ เม.ย. ลดคลายร้อน ช้อปแลคตาซอย 1,000 ลด 100 พร้อมชวนร่วมสนุกถ่ายภาพคู่แลคตาซอย ลุ้น 10 รางวัล
๑๘ เม.ย. DITP ประชุมผู้จัดแสดงสินค้า เตรียมความพร้อมสู่เวที THAIFEX - ANUGA ASIA 2025
๑๘ เม.ย. โรงแรมเครือดุสิตธานี เปิดตัวโปรพิเศษต้อนรับซัมเมอร์ 'A Night on Us' เติมเต็มวันพักผ่อนอย่างมีความสุขกับโรงแรมและรีสอร์ทในเครือดุสิตธานีทั่วโลก