เร่งทศท. - กสท.ตั้งบริษัทร่วมทุน เน้นรวมธุรกิจ เลิกแข่งบริการ

พฤหัส ๒๘ ธันวาคม ๒๐๐๐ ๑๐:๑๑
กรุงเทพฯ--28 ธ.ค.--ทูเดย์อินไทยแลนด์
นายอารีพงศ์ ภู่ชะอุ่ม เลขานุการคณะกรรมการจัดตั้งพระราช บัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ กล่าวว่า คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทองค์การ โทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ตกลงเลือกรูปแบบการจัดตั้งบริษัท 3 รูปแบบ เพื่อให้ ทศท.และ กสท.ไป ตกลงกันว่าจะเลือกรูปแบบไหน ซึ่งจะต้องให้แล้วเสร็จก่อนการประชุมครั้งต่อ ไปในเดือนมกราคม 2544
รูปแบบแรกเป็นการจัดตั้งบริษัทตามโครงสร้างในแผนแม่บท พัฒนากิจการโทรคมนาคม ที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้ โดยแปลงสภาพ ทศท.และ กสท.เป็นบริษัทอยู่ภายใต้บริษัทรวมทุนเดียวกัน มีข้อดีคือจัดโครง สร้างง่าย เนื่องจากได้รับอนุมัติจากองค์กรที่เกี่ยวข้องแล้ว ตามแผนแม่บทการ พัฒนากิจการโทรคมนาคม สามารถลดปัญหาที่เกิดจากความแตกต่างของ วัฒนธรรมองค์กรในระยะแรกได้ สามารถบริหารงานได้โดยไม่ต้องคำนึงถึง ปัจจัยความแตกต่างทางวัฒนธรรมการปฏิบัติงาน
สำหรับประเด็นที่ควรพิจารณาคือ ขอบเขตการดำเนินงานของ ทั้ง 2 บริษัทในอนาคต ควรกำหนดให้ชัดเจน ลดความซ้ำซ้อนในการลงทุน และการปฏิบัติงาน ควรมีเป้าหมายที่ชัดเจนและง่ายต่อการขยายงานและจัดหา ทุนในกรอบเวลาเดียวกัน การให้ความช่วยเหลือแก่ธุรกิจไปรษณีย์จะมีผลต่อ ความสามารถในการระดมทุนจากตลาดทุนเอกชน และกระทบถึงการประเมิน มูลค่าบริษัท
รูปแบบที่ 2 เป็นการเปลี่ยนโครงสร้างจากแผนแม่บทพัฒนา กิจการโทรคมนาคม ที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้ โดยแปลงสภาพ ทศท.และ กสท.เป็นบริษัทอยู่ภายใต้บริษัทรวมทุน แต่แยกกิจการไปรษณีย์ออกจาก กิจการโทรคมนาคม มีข้อดีคือจัดโครงสร้างง่าย เนื่องจากเป็นการรวมกิจการ ประเภทเดียวกันไว้ด้วยกันภายใต้บริษัทรวมทุน ลดความคลุมเครือในการอุด หนุนข้ามภาค ลดปัญหาที่เกิดจากความแตกต่างของวัฒนธรรมองค์กรในระยะ แรกได้ดี สามารถบริหารงานได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงปัจจัยความแตกต่างทาง วัฒนธรรมการปฏิบัติงาน
ประเด็นที่ควรพิจารณาคือ ขอบเขตการดำเนินงานของทั้ง 2 บริษัทในอนาคต ควรจะกำหนดให้ชัดเจน ลดความซ้ำซ้อนในการลงทุนและ การปฏิบัติงาน
รูปแบบที่ 3 เหมือนรูปแบบที่ 2 โดยแปลงสภาพ ทศท.และ กสท.เป็นบริษัท อยู่ภายใต้บริษัทรวมทุน และให้บริษัทโทรคมนาคมทั้ง 2 มีการดำเนินงานที่ใกล้ชิด มีทิศทางการลงทุนและบริหารงานในแนวเดียวกัน บริหารทรัพยากรร่วมกัน และมีความตกลงร่วมมือกันในด้านต่างๆ อย่างใกล้ ชิด แยกสภาพนิติบุคคลและแยกกิจการไปรษณีย์ออกจากกิจการโทรคมนาคม มีข้อดีคือจัดโครงสร้างง่ายและอาจมีการรวมจุดเด่นจากการบริหารทรัพยากร ประเภทเดียวกัน ในทิศทางเดียวกัน และลดปัญหาที่เกิดจากความแตกต่าง ของวัฒนธรรมองค์กรในระยะแรกได้ดี ลดความคลุมเครือในการอุดหนุนข้าม ภาค ทำให้ขอบเขตการดำเนินงานของทั้ง 2 บริษัทในอนาคตชัดเจน ลดความซ้ำซ้อนในการลงทุนและการปฏิบัติงาน
ประเด็นที่ควรพิจารณาประกอบคือ บริษัทรวมทุนควรจะ กำหนดนโยบายการบริหารงานร่วมกันให้บริษัทลูกปฏิบัติตาม ผู้บริหารใน บริษัทลูกควรจะรับผิดชอบปฏิบัติตามนโยบายของบริษัทรวมทุน--จบ--
-สส-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๓:๑๒ กลุ่มสยามกลการ และ ครอบครัวพรประภา ผนึกกำลังกับโรงเรียนไฮเกต แห่งสหราชอาณาจักร เตรียมเปิดโรงเรียนนานาชาติไฮเกต ประเทศไทย ในปี 2569 ใกล้สนามกอล์ฟสยามคันทรีคลับ
๑๓:๕๖ จุฬาฯ เดินหน้ายุทธศาสตร์ใหม่สร้าง Siam Square ให้เป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคนรวมพลคนพิการโชว์พลังครั้งใหญ่ที่สุด!
๑๑:๑๙ เวลคัมแบคออนบอร์ด! บางกอกแอร์เวย์สต้อนรับฤดูกาลท่องเที่ยว พร้อมกลับมาให้บริการในเส้นทางบินตรง เชียงใหม่ - กระบี่ เชื่อมต่อการท่องเที่ยวเมืองไฮไลต์ในล้านนา และอันดามัน เริ่มแล้ววันนี้
๑๑:๕๑ ITC สุดปัง โชว์ผลงานไตรมาส 3 กวาดยอดขาย 4.4 พันล้านบาท ดันกำไรพุ่ง 51% ตอกย้ำความเป็นผู้นำ เดินหน้าขยายธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงทั่วโลก
๑๑:๕๕ หัวเว่ย ดิจิทัล พาวเวอร์ และลีสซิ่งไอซีบีซี (ไทย) ประกาศความสำเร็จโครงการเช่าซื้อเพื่อสนับสนุนการใช้งานพลังงานแสงอาทิตย์ เดินหน้าช่วยขับเคลื่อนเส้นทางสู่เป้าหมาย Net Zero
๑๑:๔๑ LYN INFINITE เปิดตัวคอลเลกชั่น WINTER 2024 กับแคมเปญ Miss Artificial ที่จะพาผู้หญิงทุกคนก้าวสู่ซีซันใหม่อย่างมีสไตล์
๑๐:๒๑ สมาคมธนาคารไทย ร่วมมือกับภาครัฐเตรียมออกมาตรการลดภาระชำระหนี้ ช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยและธุรกิจขนาดเล็ก
๑๐:๒๗ A5 ประกาศความสำเร็จ ย้ายเข้าเทรด SET ตอกย้ำศักยภาพธุรกิจ สู่การเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักธรรมาภิบาล
๑๐:๕๔ LPN ส่งแคมเปญใหญ่ 'SHOCK PRICE' ช็อกราคา ส่งท้ายปี ดันยอดขายโค้งสุดท้ายปี 67 พร้อมรับข้อเสนอสุดว้าว! 8 พ.ย. - 31
๑๐:๓๔ ดรีมมี่ ร่วมด้วยช่วยฟื้นฟูผู้ประสบภัยหลังน้ำลด สมทบทุน-มอบสินค้าอุปโภคบริโภค และของใช้จำเป็น รวมมูลค่ากว่า 300,000