กรุงเทพฯ--11 ต.ค.--ธนาคารกรุงไทย
1. การค้ำประกัน "โดยวิธีวางประกันลอย" (REVOLVING GUARANTEE) คือ การออกหนังสือค้ำประกัน เพื่อประกันค่าภาษีอากรขาเข้าและการคืนภาษีอากร ตามมาตรา 19 ทวิ
2. วัตถุประสงค์
เพื่อเสริมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการโดยสามารถใช้วงเงินค้ำประกันหมุนเวียนได้เต็มที่ และได้รับความสะดวก รวดเร็วในการขอออกของและคืนอากร อีกทั้งลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการ
3. คุณสมบัติเบื้องต้น ของผู้ประกอบการที่จะใช้ระบบการคืนอากรโดยวิธีวางประกันลอย
3.1 ผู้ประกอบการต้องเป็นผู้นำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ เพื่อใช้ผลิต ผสมประกอบหรือ บรรจุสินค้า เพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักรทั้งจำนวน ภายในระยะเวลา 1 ปี นับจากวันที่มีการนำเข้า3.2 ผู้ประกอบการต้องได้รับอนุมัติวงเงินหนังสือค้ำประกันจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
4. หลักการ ของระบบการคืนภาษีโดยวิธีวางประกันลอย
4.1 ใช้วงเงินค้ำประกันของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) วางประกันค่าภาษีอากรรวมเพียงครั้งเดียว ในวงเงินที่ผู้ประกอบการเห็นสมควรนำเข้าวัตถุดิบได้หลายครั้งโดยไม่ต้องใช้หนังสือค้ำประกันของธนาคารวางประกันทุก SHIPMENT
4.2 สามารถคืนอากรได้ทุกครั้งที่ส่งออก โดยขอคืนได้ทันทีภายหลังวันเรือออกโดยไม่ต้องรอให้ส่งออกจนครบจำนวนวัตถุดิบที่นำเข้าแต่ละ SHIPMENT
4.3 กรมศุลกากรจะคืนอากรให้ก่อนตามจำนวนที่ขอคืนแล้วทำการตรวจสอบภายหลังหากตรวจสอบพบว่าคืนอากรไม่ถูกต้องจะแจ้งให้ผู้ขอคืนรับทราบ และปรับยอดวงเงินค้ำประกันให้ถูกต้องต่อไป
5. วิธีการ
5.1 ผู้ประกอบการขออนุมัติวงเงินหนังสือค้ำประกันจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้ที่สาขา หรือศูนย์ธุรกิจทุกแห่ง
5.2 เมื่อผู้ประกอบการได้รับอนุมัติวงหนังสือค้ำประกัน "โดยวิธีวางประกันลอย" ธนาคารจะดำเนินการทางด้านเอกสารสัญญา ตามวงเงินที่ได้รับ
5.3 ทุกครั้งที่ผู้ประกอบการจะนำวัตถุดิบเข้าจากต่างประเทศ ให้ลงนามในใบคำขอและข้อตกลงยินยอมให้ธนาคารค้ำประกัน พร้อมใบขนสินค้า และ Invoice นำมายื่นต่อเจ้าหน้าที่ของธนาคารกรุงไทยฯ ซึ่งอยู่ประจำที่ธนาคารกรุงไทยฯ สาขากรมศุลกากร เพื่อออกใบแจ้งการค้ำประกันต่อกรมศุลกากร
5.4 ผู้ประกอบการนำใบแจ้งการค้ำประกันไปยื่นต่อเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรได้ทุกท่าทั่วประเทศเพื่อออกของ ตามพิธีการของกรมศุลกากร
5.5 ผู้ประกอบการ นำวัตถุดิบมาผลิต และส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักรให้ดำเนินการตามพิธีการของกรมศุลกากรเพื่อขอคืนอากร ซึ่งกรมศุลกากรจะคืนอากรและลดภาระค้ำประกันให้ทันที ภายในจำนวนเงินที่พึงได้รับ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถใช้วงเงินตามภาระที่ลดได้ทันที
5.6 กรมศุลกากรจะมีรายงานแจ้งยอดภาระค้ำประกันให้ผู้ประกอบการทราบทุกเดือน
6. ค่าธรรมเนียม
6.1 กรณีมีหลักทรัพย์ ยกเว้นตามข้อ 6.2 หรือมีบุคคลค้ำประกัน คิดในอัตรา 1% ต่อ 6 เดือน
6.2 กรณีมีเงินฝากประจำหรือหนังสือค้ำของธนาคารพาณิชย์ คิดในอัตรา 0.5 % ต่อ 6 เดือน
6.3 การเรียกเก็บค่าธรรมเนียม จะคิดตามจำนวนเงินที่ธนาคารออกใบแจ้งการค้ำประกันแต่ละครั้งระยะเวลา 6 เดือน หากครบแล้ว ภาระค้ำประกันยังไม่สิ้นสุด ให้เรียกเก็บครั้งต่อไปอีก 6 เดือน ตามจำนวนภาระค้ำประกันคงค้าง โดยธนาคารจะหักจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือบัญชีกระแสรายวันของผู้ประกอบการ
ขอรายละเอียดเพิ่มเติมที่ : ฝ่ายพิธีการสินเชื่อ บมจ. ธนาคารกรุงไทย โทร. 208-4450—63 งานการตลาด สายงานธุรกิจขนาดกลาง บมจ. ธนาคารกรุงไทย โทร. 208-3334—5 และ 208-3340 ส่วนคืนอากร กรมศุลกากร โทร 240-2305--จบ--
-สส-
- พ.ย. ๒๕๖๗ ภาพข่าว: ธนาคารกรุงไทยเปิดบริการ KTB netbank
- พ.ย. ๒๕๖๗ ธนาคารกรุงไทยเปิดบริการ "กรุงไทยเคหะ Call Center" ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
- ๒๓ พ.ย. กรุงไทย จับมือ อ.ส.ค. หนุนเกษตรโคนม เข้าถึงสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษ เสริมแกร่งอุตสาหกรรมโคนมไทย
- ๒๓ พ.ย. กลุ่มน้ำตาล เคไอ จับมือ กรุงไทย ยกระดับแก้ปัญหาPM 2.5 ผ่าน "สินเชื่อ ESG" ตอบโจทย์สู่องค์กรยั่งยืน
- ๒๔ พ.ย. กรุงไทยพลิกเงินลงทุนให้งอกเงยกับ 6 DRx ใหม่ อิงหุ้นชั้นนำสหรัฐ "Mastercard-Visa-Estee-Nike-AMD และ Broadcom" เซมิคอนดักเตอร์ยักษ์ใหญ่ ดีเดย์ 18 พ.ย.นี้