นักวิทยาศาสตร์มอนซานโต้ได้รางวัลโนเบลสาขาเคมีศาสตร์ ปี 2001

อังคาร ๑๓ พฤศจิกายน ๒๐๐๑ ๑๓:๐๒
กรุงเทพฯ--13 พ.ย.--มอนซาโต้ ไทยแลนด์
สภาวิทยาศาสตร์แห่งอาณาจักรสวีเดน ได้ตัดสินให้ผลงานการพัฒนาการสังเคราะห์แบบใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาสองทางได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีศาสตร์ ปี 2001 โดยเป็นการครองรางวัลร่วมกันระหว่าง "ผลงานปฏิกิริยาสะท้อนกลับแบบ Hydrogenation โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาในไครอล" โดย ดร.วิลเลียม เอส โนล์ส และดร.เรียวจิ โนโยริ จากญี่ปุ่น และ "ผลงานปฏิกิริยาสะท้อนกลับแบบ Oxidation โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาในไครอล" โดย ดร.เค แบร์รี่ ชาร์ป เลส จากสหรัฐอเมริกา
การเร่งปฏิกิริยาแบบภาพสะท้อน (Mirror Image Catalysis)
โมเลกุลหลายชนิดมีส่วนประกอบเป็น 2 ส่วนซึ่งจะสะท้อนลักษณะซึ่งกันและกัน ในลักษณะเช่นเดียวกับมือของคนเรา โมเลกุลดังกล่าวเรียกว่า "ไครอล" ตามธรรมชาติแล้ว ส่วนโมเลกุลหนึ่งในสองส่วนดังกล่าวจะแสดงบทบาทเด่นกว่าเสมอ ดังนั้นในเซลล์ของมนุษย์เราจะมีเพียงส่วนประกอบเดียวของไครอลเท่านั้นที่เข้ากันได้ ขณะที่บางครั้งส่วนประกอบอีกส่วนที่เหลืออาจเป็นอันตรายต่อคน ผลิตภัณฑ์จำพวกเวชภัณฑ์มักมีส่วนประกอบของโมเลกุลไครอล ดังนั้นความแตกต่างกันของส่วนประกอบทั้งสองนั้นมีความสำคัญต่อการอยู่หรือตายของคนได้การแยกผลิตส่วนประกอบ 2 รูปแบบ ของไครอล จึงถือเป็นเรื่องสำคัญมากถึงขั้นคอขาดบาดตายได้
ในปีนี้ ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีศาสตร์ได้พัฒนาโมเลกุลซึ่งสามารถเร่งปฏิกิริยาสะท้อนกลับที่สำคัญๆ ซึ่งช่วยให้สามารถผลิตส่วนประกอบของโมเลกุลได้เพียงส่วนเดียวเท่านั้น โมเลกุลเร่งปฏิกิริยา ซึ่งก็เป็นโมเลกุลไครอลนั้น ช่วยให้ปฏิกิริยาตอบสนองเกิดเร็วขึ้น โดยไม่ต้องรอให้คนไข้กินยาเสียก่อน โมเลกุลเร่งปฏิกิริยาเพียงหนึ่งตัวสามารถสร้างโมเลกุลในรูปแบบของส่วนโมเลกุลที่เราต้องการได้หลายล้านตัว
ดร.วิลเลียม เอส โนลส์ อดีจนักวิทยาศาสตร์ของบริษัทมอนซานโต้ได้ค้นพบวิธีใช้โลหะตัวนำสร้างตัวเร่งปฏิกิริยาไครอล เพื่อให้โมเลกุลสร้างปฏิกิริยาสะท้อนกลับแบบที่เรียกว่า Hydrogenation ซึ่งจะทำให้ได้ลักษณะของโมเลกุลที่เราต้องการในผลผลิตขั้นสุดท้าย งานวิจัยของเขานำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตตัวยา L-DOPA ซึ่งนำไปใช้รักษาโรคพาร์คินสันได้ ต่อมา ดร.เรียวจิ โนโยริ ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมต่อจนสามารถพัฒนากระบวนการ Hydrogenation ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ส่วนดร.เค แบร์รี่ ชาร์ปเลสนั้นได้รับรางวัลจากการพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาในไครอลเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาที่สำคัญอีกรูปแบบที่เรียกว่า Oxidation
นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลทั้งสามคนได้ริเริ่มการวิจัยในสาขาที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า การวิจัยในสาขานี้จะช่วยให้เราสามารถสังเคราะห์โมเลกุลและสารที่มีลักษณะใหม่ๆ ขึ้นมาได้ ทุกวันนี้ผลจากการวิจัยของพวกเขาได้สร้างคุณประโยชน์ให้กับการสังเคราะห์ตัวยาในอุตสาหกรรมผลิตเวชภัณฑ์ เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาแก้อักเสบ และยารักษาโรคหัวใจ เป็นต้น--จบ--
-นห-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version