เอ็นเตอร์ไพรซ์ เน็ตเวิร์กส์ แนะนำโมเดล อี-คอมมิวนิเคชั่น แบบแรกที่จะช่วยให้ องค์กรธุรกิจประกอบธุรกิจอี-บิสซิเนส ได้รวดเร็วขึ้น

อังคาร ๐๒ พฤษภาคม ๒๐๐๐ ๑๐:๕๑
กรุงเทพฯ--2 พ.ค.--แชนด์วิค อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย)
หลังแยกตัวจากลูเซ่น เทคโนโลยี่ส์ ประกาศแผนร่วมมือกับแอนเดอร์สัน คอนซัลติ้ง อีลอยัลตี้ และไพรซ์วอเตอร์เฮาส์ คูเปอร์ส ด้วยกลุ่มเอ็นเตอร์ไพรซ์ เน็ตเวิร์กส์ (Enterprise Networks Group) ซึ่งเป็นบริษัทที่แยกตัวเป็นอิสระจากลูเซ่น เทคโนโลยี่ส์ ประกาศแผนการให้บริการระบบและโซลูชั่นยุคใหม่สำหรับการสื่อสารในธุรกิจพาณิชย์อิเล็คทรอนิค หรือ อี-บิสซิเนส ซึ่งปรับใช้งานตามความต้องการได้
ในขั้นแรก บริษัทฯ ได้แนะนำโมเดลการสื่อสารแบบเปิดที่มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง ซึ่งจะช่วยให้องค์กรธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรที่เพิ่งเริ่มก่อตั้งหรือองค์กรที่มีความมั่นคงแล้ว - - สามารถพัฒนาเพื่อรองรับธุรกิจอี-บิซิเนส ยุคใหม่ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ กลุ่มเอ็นเตอร์ไพรซ์ เน็ตเวิร์กส์ ยังได้ร่วมมือกับบริษัทที่ปรึกษาแอนเดอร์สัน คอนซัลติ้ง, อีลอยัลตี้ และ ไพรซ์วอเตอร์เฮาส์ คูเปอร์ส ในการพัฒนา ขาย และผนวกโซลูชั่นต่างๆ สำหรับอี-บิสซิเนสเข้าด้วยกัน
ผลิตภัณฑ์ใหม่นี้มีชื่อเรียกว่า "อีคอมมิวนิเคชั่น โมเดล (eCommunication model)" อันเป็นโมเดลตามมาตรฐานซึ่งได้รับการออกแบบเพื่อรองรับความซับซ้อนในการสร้าง ผนวก และปรับเปลี่ยนเครือข่ายอัจฉริยะหลายๆ เครือข่าย และแอพพลิเคชั่นส์มัลติมีเดียต่างๆ ที่องค์กรธุรกิจต้องการใช้เชื่อมต่อกับลูกค้า ซัพพลายเออร์ หุ้นส่วนธุรกิจและพนักงาน โมเดลนี้จะช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถนำธุรกิจก้าวพ้น ข้อจำกัดเดิมๆ ด้านเนื้อหา หรือรูปแบบธุรกรรม ซึ่งเป็นตัวบังคับแบบแผนของอี-บิสซิเนสจวบจนกระทั่งถึงวันนี้ได้ โดยปรับเปลี่ยนระบบการสื่อสารให้เป็นไปตามความต้องการของแต่ละองค์กร และประสานงานกับองค์กรอื่นๆ บนบรรทัดฐานของความสัมพันธ์ อันจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรและทำให้องค์กรเป็นที่นิยมชมชอบของลูกค้าในระยะยาวได้
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังเปิดเผยแผนการที่จะจัดตั้งกลุ่มความร่วมมือระหว่างผู้นำด้านเทคโนโลยี เพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางและพัฒนาซอฟท์แวร์สำหรับโมเดล จัดตั้งห้องปฏิบัติการอี-บิสซิเนสร่วม และขยายโปรแกรม ISV ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ให้ครอบคลุมถึงนักพัฒนาซอฟท์แวร์ที่ต้องการจะเขียนโปรแกรมสำหรับโมเดลนี้ด้วย
มร. ดอน ปีเตอร์สัน ประธานและประธานกรรมการบริหารเอ็นเตอร์ไพรซ์ เน็ตเวิร์กส์ บริษัทใหม่ที่แยกตัวจากลูเซ่น กล่าวว่า "อี-บิสซิเนส กำลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเกิดจากแรงผลักดันของรูปแบบธุรกิจที่กำลังเปลี่ยนไป และความต้องการของลูกค้าในการสื่อสารกับธุรกิจต่างๆ ผ่านสื่อกลาง หรือ อุปกรณ์แบบใดก็ได้ทุกเวลา และทุกแห่งทั่วโลก" อี-คอมมิวนิเคชั่น จะทำให้เราสามารถพัฒนาอี-บิสซิเนส ให้สามารถทำอะไรได้มากไปกว่าการ "คลิกและโทรเข้า" ("Clicks and calls") โดยทำให้ธุรกิจสามารถสื่อสารโต้ตอบกับลูกค้าบนพื้นฐานของความสัมพันธ์อย่างง่ายดาย ซึ่งจะช่วยรักษาความนิยมชมชอบในหมู่ลูกค้าไว้ได้"
การพัฒนาโมเดล อี-คอมมิวนิเคชั่น ของกลุ่มเอ็นเตอร์ไพรซ์ เน็ตเวิร์กส์ นี้ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของประสบการณ์และความสำเร็จจากการช่วยธุรกิจต่างๆ ในการสร้างเครือข่ายสื่อสารและโซลูชั่นสำหรับ การบริหารจัดการ คอลเซ็นเตอร์ (call centers) ระบบรับฝากข้อความ และการบริการความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทและลูกค้าให้แก่ทั้งบริษัทใหม่และบริษัทที่มั่นคงแล้ว โมเดลเบ็ดเสร็จสำเร็จรูปชนิดเปิดนี้ จะทำให้องค์กรธุรกิจต่างๆ ที่กำลังดำเนินธุรกิจอี-บิสซิเนส ไม่ว่าขั้นไหน สามารถผนวกเทคโนโลยีใหม่เข้ากับระบบที่มีอยู่เดิม หรือสร้างระบบอี-บิสซิเนสใหม่ทั้งระบบได้
มร. ริชาร์ด จี ธอร์นเบอรี่ ประธานและหัวหน้าคณะผู้บริหารของเน็กซ์สตาร์ ไฟแนนเชียล คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า "ในฐานะบริษัทใหม่ เราจะมุ่งเน้นให้บริการทางการเงินถึงบ้าน โดยผ่านเทคโนโลยีมัลติมีเดีย ที่สนับสนุนความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้าที่ทันสมัยที่สุด โมเดล อี-คอมมิวนิเคชั่นนี้จะทำให้เราสามารถผนวกระบบสื่อสารอี-บิสซิเนสของเราเข้าไปได้ ซึ่งจะทำให้ลูกค้าสามารถสื่อสารโต้ตอบกับเราได้อย่างราบรื่น ไม่ว่าจะเลือกใช้สื่อประเภทใด ยิ่งกว่านั้น เรายังสามารถให้บริการเร็วทันกับตลาด และตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าซึ่งเปลี่ยนแปลงอยู่เสมออย่างรวดเร็ว โมเดล อี-คอมมิวนิเคชั่นนี้ ตรงกับการคาดการณ์ความต้องการของลูกค้าในอนาคตของเราพอดี และเราหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะทำงานร่วมกับกลุ่มเอ็นเตอร์ไพรซ์ เน็ตเวิร์กส์ ในการยกระดับขีดความสามารถเพื่อสร้างความก้าวหน้ายิ่งขึ้น ให้กับธุรกิจของเราต่อไปในอนาคต"
มร. จิม เม็ทซเลอร์ รองประธาน ของ แอชตัน เม็ทซเลอร์ แอนด์ แอสโซซิเอท กล่าวว่า "จากความร่วมมือต่างๆ ประกอบกับประสบการณ์มากมายในการให้บริการแก่ลูกค้า เป้าหมายของกลุ่มเอ็นเตอร์ไพรซ์ เน็ตเวิร์กส์ คือ การเป็นผู้สนับสนุนให้องค์กรธุรกิจ สามารถนำระบบอี-บิสซิเนสไปใช้และดำเนินการได้สำเร็จสมความตั้งใจ กลุ่มเอ็นเตอร์ไพรซ์ เน็ตเวิร์กส์ เป็นบริษัทในจำนวนไม่กี่แห่งที่ตระหนักว่าองค์กรธุรกิจต่างๆ ดำเนินการด้านอี-บิสซิเนสอยู่ในระยะต่างๆ กัน มีความต้องการและจุดประสงค์แตกต่างกัน จึงได้ทำการออกแบบโซลูชั่นที่ยืดหยุ่นเพื่อให้ทุกบริษัทบรรลุเป้าหมาย"
การที่กลุ่มเอ็นเตอร์ไพรซ์ เน็ตเวิร์กส์ ประกาศร่วมมือกับแอนเดอร์สัน คอนซัลติ้ง, อี-ลอยัลตี้ และไพรซ์วอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ นั้นเป็นไปตามแผนการขั้นแรกที่บริษัทใหม่นี้ตั้งใจจะร่วมมือกับบริษัทที่ปรึกษา องค์กรธุรกิจ การบริการ และผู้นำด้านเทคโนโลยีในการพัฒนา จัดจำหน่าย และผนวกโซลูชั่น อี-บิสซิเนสต่างๆ เข้าด้วยกัน
บริษัทใหม่นี้มีแผนที่จะสนับสนุนลูกค้าในการนำอี-คอมมิวนิเคชั่นส์ โมเดล ไปใช้ในธุรกิจโดยร่วมมือกับเน็ตเวิร์คแคร์ หน่วยที่ให้บริการแก่องค์กรต่างๆ ของลูเซ่น หน่วยซีอาร์เอ็ม (CRM) โปรเวฟชั่นแนล เซอร์วิสของกลุ่มเอง และผ่านบริษัทที่ปรึกษาต่างๆ บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านการติดตั้งและผนวกระบบ สื่อสาร นอกจากนี้บริษัทยังพยายามสร้างความสัมพันธ์โดยร่วมมือเป็นพันธมิตรกับบริษัทเทคโนโลยี ชั้นนำ ดังเช่นได้ประกาศร่วมเป็นพันธมิตรกับซัน ไมโครซิสเต็มส์ ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เพื่อพัฒนาเว็บท่าที่สามารถสื่อสารโต้ตอบได้ และสร้างโซลูชั่นสำหรับอี-บิซิเนสต่าง ๆ สำหรับองค์กรธุรกิจ เป็นต้น
"แผนการใหม่ๆ เหล่านี้ย้ำให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่มีอย่างต่อเนื่องต่อองค์กรธุรกิจ และแสดงให้เห็นว่าเรามีความจริงจังเพียงไร ในการสร้างระบบสื่อสารสำหรับอี-บิสซิเนสไปอีกระดับหนึ่ง" มร. ปีเตอร์สัน กล่าว "ความต้องการที่จะจัดหาโซลูชั่นนี้ สำหรับอี-บิสซิเนส มีมากมาย และเรากำลังร่วมมือกับองค์กรที่มีความสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพที่สุดในโลกจำนวนหนึ่งในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด"
โมเดล อี-คอมมิวนิเคชั่น
โมเดล อี-คอมมิวนิเคชั่น ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อจัดการกับอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง ที่ปลอดภัย และสามารถปรับขยายระบบได้ ตามที่องค์กรธุรกิจต่างๆ ต้องการสำหรับระบบอี-บิสซิเนส โดยแบ่งออกเป็นสามส่วน คือ เว็บท่าที่สามารถสื่อสารโต้ตอบได้, แอ็พพลิเคชั่นและบริการต่างๆ สำหรับอี-บิสซิเนส และโครงสร้างพื้นฐานสำหรับเครือข่าย โดยจะผนวกอุปกรณ์เหล่านี้ผ่านซอฟท์แวร์ตั้งโปรแกรมได้แบบเปิด ซึ่งเรียกว่า อี-คอมมิวนิเคชั่น แฟบริค (eCommunication Fabric) ด้วยประสิทธิภาพในการผนวกและการจัดการที่แข็งแกร่งของอี-คอมมิวนิเคชั่น แฟบริค นี้ โมเดล อี-คอมมิวนิเคชั่น จะช่วยทำให้องค์กรธุรกิจต่างๆ สามารถพัฒนาเว็บท่าให้ "สื่อสารโต้ตอบได้" ด้วยการให้การสนับสนุนโปรโตคอลและอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้มันยังช่วยให้บรรดานักพัฒนาซอฟท์แวร์สามารถผนวกระบบการสื่อสารเข้ากับแอ็พพลิเคชั่นสำหรับอี-บิซิเนสได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาพัฒนาระบบแต่ละระบบขึ้นใหม่ตามการใช้งานเฉพาะ จากประสิทธิภาพเหล่านี้ องค์กรธุรกิจจะสามารถดัดแปลงโซลูชั่นสำหรับอี-บิซิเนสซึ่งสามารถสื่อสารโต้ตอบได้ตามความต้องการและความสำคัญก่อนหลังของธุรกิจได้
ตัวอย่างการทำงานของอี-คอมมิวนิเคชั่น โมเดล :
บริษัทซึ่งขายสินค้าผ่านแค็ตตาล็อกจะสามารถให้ลูกค้าเลือกชมผลิตภัณฑ์บนเว็บไซต์ผ่านอุปกรณ์ดิจิตอลส่วนบุคคล (พีดีเอ) สื่อสารโต้ตอบ หรือคลิกเพื่อพูดคุย และส่งคำยืนยันการสั่งซื้อให้ผู้ใช้ได้ - - ทั้งหมดนี้ทำได้โดยผ่านเครือข่ายไร้สาย
ที่ปรึกษาด้านการลงทุนจะสามารถสร้าง "ข่าวด่วน" ข่าวเดี่ยว เพื่อส่งไปยังลูกค้าโดยอัตโนมัติผ่าน ช่องทางการสื่อสารที่ลูกค้าเลือกใช้ได้ (ไม่ว่าจะเป็น อี-เมล, พีดีเอ, หรือโทรศัพท์) ตรวจสอบการรับ และรับคำตอบตามลำดับความสำคัญก่อนหลังผ่านเว็บท่าเว็บเดียวได้
ผู้ที่จัดหาผลิตภัณฑ์ซึ่งใช้บริการรับส่งสินค้าภายนอก จะสามารถแจ้งความจำนงแก่บริษัทขนส่งสินค้าให้เปลี่ยนวันส่งของให้แก่ลูกค้า โดยผ่านเว็บท่าของผู้จำหน่ายได้ ด้วยการส่งผ่านไปกับข้อความของธุรกรรมนั้นๆ ทั้งนี้ ซอฟท์แวร์ "รีชมี" (Reach Me) จะช่วยค้นหาบริษัทจัดจำหน่ายที่ถูกต้อง โดยใช้ ข้อมูลสถานะและประวัติของลูกค้า ความเชี่ยวชาญ และความสามารถในการให้บริการของบริษัทนั้นๆ เป็นหลัก
เว็บท่าที่สื่อสารโต้ตอบได้ (Comm-enabled Portal) จะทำให้ผู้ใช้สามารถสื่อสารตามความต้องการเฉพาะของบุคคล และให้บริการข้อมูลต่างๆ แก่ลูกค้า ซัพพลายเออร์ คู่ค้า และพนักงานได้ผ่านอุปกรณ์สื่อสารทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล อุปกรณ์ดิจิตอลส่วนบุคคลต่างๆ (พีดีเอ) โทรศัพท์ หรือ โทรสาร ผ่านเครือข่ายได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น อินเตอร์เน็ต โปรโตคอล, เอทีเอ็ม, ชุมสายโทรศัพท์ หรือ ไร้สาย จะเป็นเกทเวย์ที่มีผู้ใช้เป็นศูนย์กลางติดต่อกับองค์กรธุรกิจ ที่จะทำให้ผู้ใช้แต่ละคนสามารถ เข้าถึงแอพพลิเคชั่นส์ ข้อมูล และบุคคลที่พวกเขาต้องการได้ เว็บท่าที่สื่อสารโต้ตอบได้จะใช้ระบบ สื่อสารหลายระบบและเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพในการเชื่อมการสนทนาซึ่งหาไม่แล้วเว็บท่า โซลูชั่น และระบบโทรคมนาคมต่างๆ จะไม่สามารถทำงานเข้ากันได้
ก่อนหน้านี้ บริษัทฯ ได้ประกาศแผนการร่วมมือกับ ซัน-เน็ทสเคป อัลลายแอนซ์ ในการพัฒนาระบบเสียงให้กับระบบไร้สายต่าง ๆ เพื่อ การท่องเว็บ (browsing) การเข้าถึง (reach-me) การค้นหา (find-me) การซ่อน (hide-me) การรับข้อความ (integrated messaging) การใช้ข้อมูลร่วม (data conferencing) และการเรียกสายผ่านไดเร็คทอรี่ (directory-calling) ผ่านเว็บท่าไอแพลเน็ต (iPlanet ไ) ซึ่งใช้ระบบอินเตอร์เน็ต เมสเสจ แมเนจเมนท์ (Internet Message Management) และแอพพลิเคชั่นส์วอยซ์ เบราเซอร์ (Voice Browser) ต่างๆ และโซลูชั่น www.messenger และ DEFINITY า Anywhere
ส่วน แอพพลิเคชั่นส์และบริการสำหรับอี-บิสซิเนส ครอบคลุมถึง แอพพลิเคชั่นส์ต่าง ๆ สำหรับอี-บิสซิเนส ซึ่งโดยปรกติมีจุดประสงค์ที่จะพัฒนาให้สามารถดำเนินการทางธุรกิจได้โดยอัตโนมัติ อาทิ การเรียก เก็บเงิน การบริหารระบบการจัดจำหน่าย (supply chain management) ระบบอัตโนมัติสำหรับพนักงานขาย การขาย การบริการ และการจัดการสินค้าคงคลัง และแอพพลิเคชั่นส์และบริการสื่อสาร ซึ่งสามารถให้การสนับสนุนและเพิ่มประสิทธิภาพของแอพพลิเคชั่นส์อี-บิสซิเนสต่างๆ โดยรวมถึงบริการศูนย์ติดต่อ (contact center) บริการรับฝากข้อความ และบริการความร่วมมือแบบต่างๆ นอกจากนี้ ยังรวมถึง อี-คอมมิวนิเคชั่น แฟบริค ซึ่งผนวกการสื่อสารโต้ตอบและการดำเนินธุรกิจเข้าด้วยกัน และ คอมเล็ทส์ (comlets) ซึ่งเป็นระบบซอฟท์แวร์เบ็ดเสร็จที่จะสนับสนุนแอ็พพลิเคชั่นสำหรับอี-บิสซิเนสที่สื่อสาร โต้ตอบได้ซึ่งกำลังมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วด้วย
อี-คอมมิวนิเคชั่น แฟบริค เป็นซอฟท์แวร์สำหรับธุรกิจที่ใช้กับเว็บได้ชนิดเปิดที่ประกอบด้วยระบบสื่อสารหลายชนิดที่สามารถตั้งโปรแกรมทำงานได้ อี-คอมมิวนิเคชั่น แฟบริค ใช้บริการหลายรูปแบบร่วมกัน เพื่อทำให้ระบบและแอพพลิเคชั่นส์ต่าง ๆ ที่ผลิตจากหลายๆ แหล่งทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น และสื่อสารโต้ตอบอย่างมีประสิทธิภาพได้ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ใด เวลาใด หรือผ่านช่องทางสื่อสารแบบใด นอกจากนี้ ซอฟท์แวร์นี้ยังสนุบสนุนการส่งผ่านข้อมูลและสื่อสารระหว่างบุคคลและระบบ ในขณะที่ยังรักษาคุณสมบัติเฉพาะของแอ็พพลิเคชั่นส์ภายในหรือระหว่างองค์การธุรกิจไว้ได้ด้วย ปัจจุบัน ทั้ง อี-คอมมิวนิเคชั่น แฟบริค และคอมเล็ทส์ กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา ซึ่งคาดว่าจะจำหน่ายได้ในต้นไตรมาสที่สี่ของปีนี้
คอมเล็ทส์ (Commlets) คืออุปกรณ์แอ็พเล็ทสำหรับการสื่อสารที่สามารถโปรแกรมการทำงานได้โดยใช้บริการต่างๆ ของอี-คอมมิวนิเคชั่น แฟบริค ในการผนวกบริการการสื่อสารต่าง ๆ เข้าด้วยกัน -- อาทิ การบริหารจัดการการเชื่อมต่อ การเปลี่ยนสื่อกลาง การบริหารจัดการการติดต่อ การบริหารจัดการเนื้อหา การบริหารจัดการแหล่งข้อมูล คุณภาพของบริการ ความปลอดภัยและการควบคุมการเข้าถึงระบบ และบริการเรียกเก็บเงิน - - โดยใช้แอพพลิเคชั่นส์ต่างๆ สำหรับอี-บิสซิเนส คอมเล็ทส์จะทำให้การผนวกบริการสื่อสารที่ซับซ้อนเข้ากับแอพพลิเคชั่นส์อี-บิสซิเนสต่างๆ เกิดขึ้นได้ง่ายดายยิ่งขึ้น อันทำให้ลด ต้นทุนและความซับซ้อนของแอพพลิเคชั่นส์อี-บิสซิเนส นอกจากนี้ คอมเล็ทส์ ยังทำให้นักพัฒนาแอพพลิเคชั่นส์สามารถพัฒนาแอพพลิเคชั่นส์แนวตั้ง เพื่ออี-บิสซิเนสให้สามารถสื่อสารโต้ตอบได้ ไม่ว่าจะมีโครงสร้างพื้นฐานแบบใดก็ตาม ตัวอย่างเช่น ISV ที่ใช้คอมเล็ทส์จะสามารถเขียนแอ็พพลิเคชั่นส์สนับสนุนสัญญาณข้อมูล/เสียงได้โดยไม่ต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องระบบเทเลโฟนี่เลยก็ได้ เป็นต้น
กลุ่มเอ็นเตอร์ไพรซ์ เน็ตเวิร์กส์ ที่ตั้งใหม่นี้ มีแผนที่จะรวบรวมบริษัทต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อร่วมมือกัน ในการกำหนดทิศทางและพัฒนาคอมเล็ทส์ให้มีมาตรฐาน รวมทั้งช่วยพัฒนามาตรฐานของอุตสาหกรรมอันเกี่ยวข้องด้วย กลุ่มเอ็นเตอร์ไพรซ์ เน็ตเวิร์กส์ ยังจะเน้นถึงความเชี่ยวชาญในการผนวกเทคโนโลยี เทเลโฟนีเข้ากับคอมพิวเตอร์ (computer telephony integration - CTI) ซึ่งบริษัทได้พัฒนาเพื่อเชื่อมแอพพลิเคชั่นส์สัญญาณข้อมูลและเสียงในคอล เซ็นเตอร์ (call centers) และมีแผนที่จะขยายโครงการ ISV ให้ครอบคลุมถึงนักเขียนแอพพลิเคชั่นส์สำหรับคอมเล็ท และจัดทำคู่มือนักพัฒนาซอฟท์แวร์สำหรับ ISV ด้วย
ส่วนโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย (Network Infrastructure) ประกอบด้วยบริการเครือข่ายของผู้จำหน่ายหลายราย สำหรับเครือข่ายการสื่อสารที่ปลอดภัยทำธุรกรรมได้ และสร้างความสัมพันธ์ (relationship-aware) บริการเครือข่ายต่างๆ จะรวมถึงซอฟท์แวร์การบริหารจัดการนโยบาย ซอฟท์แวร์การบริหาร จัดการที่อยู่ และการบริหารจัดการเครือข่ายและความปลอดภัยสำหรับระบบเครือข่ายนั้นรวมถึง สวิทช์ต่างๆ สำหรับเครือข่ายแลน, เครือข่ายเสมือนบุคคลที่ปลอดภัย, โหลดบาลานซิ่ง, แคชชิ่ง, เกตเวย์, เซิร์ฟเวอร์สนับสนุนสัญญาณข้อมูลและโทรศัพท์, อุปกรณ์เข้าสู่เครือข่ายระยะไกล, เราท์เตอร์, เว็บและเซิร์ฟเวอร์แอพพลิเคชั่นส์ และเซิร์ฟเวอร์ระบบจัดเก็บข้อมูล
การเริ่มต้น
กลุ่มเอ็นเตอร์ไพรซ์ เน็ตเวิร์กส์ จะนำเสนออุปกรณ์หลากหลายที่องค์กรธุรกิจต่างๆ ต้องการใช้ตามโมเดล อี-คอมมิวนิเคชั่น ซึ่งได้แก่ สวิทช์เคจัน แค็มพัส (Cajun ไ Campus) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่เคยได้รับรางวัลมาแล้ว เซิร์ฟเวอร์ DEFINITY โ ซึ่งสามารถสนับสนุนสัญญาญานเสียงผ่านอินเตอร์เน็ต โปรโตคอล และเอทีเอ็ม เครือข่ายเสมือนบุคคล (VPNs), ลูเซ่น แมนเนจ ไฟร์วอลล์ (Lucent Managed Firewall), โซลูชั่นการบริหารจัดการความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจกับลูกค้าตระกูลเซ็นเตอร์วู (CentreVu โ) ซึ่งรวมถึง CRM Central 2000 และ CentreVu Internet Solutions, ระบบรับฝากข้อความ Octel โ and Intuity ไ, ระบบบริหารจัดการนโยบาย เช่น RealNet ไ Rules, บริการไดเร็คทอรี่ และแอพพลิเคชั่นส์อินเตอร์เน็ต โปรโตคอล ตระกูล iCosm
ในปีนี้ กลุ่มเอ็นเตอร์ไพรซ์ เน็ตเวิร์กส์ มีแผนแนะนำผลิตภัณฑ์อี-บิสซิเนส สำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง และสำหรับธุรกิจเฉพาะเช่น ธุรกิจการเงิน และธุรกิจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ เป็นต้น ทั้งนี้บริษัทจะจัดตั้งห้องทดลองร่วมสำหรับนักพัฒนาเพื่อใช้ในการทดสอบแอพพลิเคชั่นส์กับโมเดล อี-คอมมิวนิเคชั่น และอี-คอมมิวนิเคชั่น แฟบริค และจะจัดตั้งโครงการเพื่อช่วยให้ลูกค้าและพันธมิตรธุรกิจสามารถพัฒนาความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบและการนำโซลูชั่นอี-บิสซิเนสต่างๆ ในใช้งานได้
หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโมเดล อี-คอมมิวนิเคชั่น และผลิตภัณฑ์อี-บิสซิเนส ของบริษัทฯ กรุณาชมได้ที่เว็บไซต์ www.lucent.com/enterprise/ebusiness
เกี่ยวกับกลุ่มเอ็นเตอรืไพรซ์ เน็ตเวิร์กส์ ของลูเซ่น เทคโนโลยี่ส์
ปลายเดือนกันยายน 2543 นี้ ลูเซ่น เทคโนโลยี่ส์ มีแผนการที่จะแยกธุรกิจระบบสื่อสารองค์กรระบบเคเบิลสำหรับธุรกิจ และธุรกิจเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลระบบแลน (LAN) ออกจากบริษัทและจัดตั้งเป็นบริษัทใหม่ ที่มีมูลค่า 8,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และมุ่งเน้นในการพัฒนาเครือข่ายสื่อสารยุคใหม่สำหรับองค์กรธุรกิจโดยเฉพาะ บริษัทใหม่นี้จะเป็นผู้นำของโลกด้านผลิตภัณฑ์คอล เซ็นเตอร์ และรับ-ฝากข้อความ เป็นผู้นำของวงการระบบสื่อสารสัญญาณเสียงในสหรัฐอเมริกา โดยจะมียอดพนักงานขายและการบริการสูงที่สุด
ลูเซ่น เทคโนโลยี่ส์ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมอร์รี่ ฮิลล์ มลรัฐนิวเจอร์ซี บริษัทฯ ออกแบบ และจัดหาระบบ ซอฟท์แวร์ ซิลิคอน และบริการเครือข่ายการสื่อสารเพื่อยุคหน้า สำหรับผู้ให้บริการและองค์กรธุรกิจ โดยมีเบลล์ ลาบอราทอรีส์ เป็นผู้ให้การสนับสนุนงานด้านวิจัยและพัฒนา ลูเซ่น เน้นธุรกิจที่มีการเติบโตสูง เช่น เครือข่ายไร้สายและใยแก้วนำแสง โครงสร้างพื้นฐานอินเตอร์เน็ต ซอฟท์แวร์การสื่อสาร เซมิคอนดัคเตอร์เพื่อการสื่อสารและออฟโต้อิเล็คทรอนิกส์ รวมทั้ง โซลูชั่นบนเว็บสำหรับองค์กรธุรกิจ ซึ่งเชื่อมระบบ
เครือข่ายพื้นฐานและเฉพาะกิจ เครือข่ายระดับมืออาชีพ บริการออกแบบและให้คำปรึกษา หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมดูได้ในเว็บไซต์ http://www.lucent.com.
เอกสารข่าวชิ้นนี้เป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าจากสถานการณ์ในปัจจุบัน และข้อสมมติฐานซึ่งเกี่ยวพันกับความเสี่ยงและความไม่แน่นอนต่างๆ ที่อาจทำให้ผลลัพธ์ในความเป็นจริงนั้นแตกต่างออกไปได้ การคาดการณ์ล่วงหน้า รวมถึง แต่ไม่ได้จำกัดแค่นี้ ผลิตภัณฑ์ใหม่ ตลาด และการพัฒนาเทคโนโลยี ผลตอบแทนจากการซื้อกิจการในอนาคต และวันที่โอนกิจการเสร็จสมบูรณ์ ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนเหล่านี้ ได้แก่ การแข่งขันด้านราคาและผลิตภัณฑ์ การเปลี่ยนแปลงต้นทุนค่าใช้จ่ายของผู้ให้บริการ การขึ้นอยู่กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ลูกค้ารายใหญ่ ความต้องการของลูกค้าในด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ความสามารถในการรวมกิจการให้สำเร็จ การควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่าย การเติบโตในตลาดต่างประเทศ สถานการณ์ทั่วไปในตลาดและอุตสาหกรรมและอัตราการเติบโต รวมถึงสภาพเศรษฐกิจทั่วไปทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงปัจจัยความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ รายการและคำอธิบายเกี่ยวกับความเสี่ยงและความไม่แน่นอนดังกล่าวนี้ติดตามได้จากรายงานที่ลูเซ่น จัดทำขึ้นเพื่อส่งต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC) ลูเซ่น ปฎิเสธข้อผูกพันในการทบทวนหรือปรับข้อความจากการคาดการณ์เหล่านี้ให้ทันสมัย ไม่ว่าจะมีข้อมูลใหม่ หรือเหตุการณ์ใหม่
เผยแพร่โดย ลูเซ่น เทคโนโลยี่ส์ ไทยแลนด์ อิ๊งค์
ผ่าน บริษัท แชนด์วิค อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ คุณปองปรัชญ์ สุโรจนะเมธากุล โทร. 257 0300 โทรสาร 257 0312--จบ--
-อน-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ