บทม.- กฟผ.-ปตท. ร่วมพัฒนาโครงการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าและน้ำเย็น

ศุกร์ ๒๒ ธันวาคม ๒๐๐๐ ๑๕:๐๓
กรุงเทพ--22 ธ.ค.--ปตท.
ที่โรงแรมเซ็นทรัลแกรนด์ พลาซา มีพิธีลงนามในข้อตกลงเบื้องต้นในการร่วมพัฒนาโครงการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าและน้ำเย็น (District Cooling System and Power Plant Project, DCS PP) เพื่อใช้ในอาคารผู้โดยสารและอาคารอื่นๆ ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ระหว่าง บริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด (บทม.) กับ ผู้เสนอโครงการ ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.)โดยมี ดร.สมเจตน์ ทิณพงษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บทม. นายวิทยา คชรักษ์ ผู้ว่าการ กฟผ.และนายวิเศษ จูภิบาล ผู้ว่าการ ปตท. ร่วมลงนามตามที่ บทม. ได้เชิญชวนผู้สนใจยื่นข้อเสนอในโครงการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าและน้ำเย็นให้กับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แทนระบบเดิมที่ออกแบบไว้สำหรับการซื้อไฟฟ้าจากระบบจัดจำหน่ายและผลิตน้ำเย็นด้วยไฟฟ้านั้น บทม. ได้พิจารณาคัดเลือกให้ กฟผ. ร่วมกับ ปตท. เป็นผู้ลงทุนและดำเนินการโครงการดังกล่าว ซึ่งภายหลังการลงนามในข้อตกลง กฟผ. กับ ปตท. จะจัดทำรายละเอียดโครงการและข้อเสนอโครงการเสนอต่อ บทม. ภายใน 3 เดือน เพื่อนำไปสู่การจัดทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าและน้ำเย็นกับ บทม. ต่อไป โดย กฟผ. และ ปตท. จะจัดตั้งบริษัทร่วมทุนขึ้นเพื่อดำเนินโครงการดังกล่าวหลังจากได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี โครงการมีกำหนดแล้วเสร็จปลายปี 2546 ก่อนการเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในปลายปี 2547 โดยมีมูลค่าโครงการประมาณ 60 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 2,400 ล้านบาทสำหรับโครงการ DCS PP นี้เป็นการใช้ประโยชน์จากก๊าซธรรมชาติเพื่อนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าและนำพลังงานความร้อนที่เหลือจากการผลิตไฟฟ้ามาผลิตไอน้ำเพื่อนำไปใช้ในขบวนการผลิตน้ำเย็นสำหรับระบบปรับอากาศ นับเป็นโครงการแรกของประเทศไทย ซึ่งนอกจากจะเป็นระบบที่สร้างความมั่นคงในการจัดหาพลังงานให้แก่สนามบินแห่งใหม่ได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานหรือก๊าซธรรมชาติได้สูงถึง 70% เนื่องจากมีการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า และทำให้ บทม. สามารถประหยัดเงินลงทุนในการติดตั้งหน่วยผลิตน้ำเย็นด้วยไฟฟ้าคิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,240 ล้านบาท อีกทั้งยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อไฟฟ้าและน้ำเย็นได้ประมาณปีละ 115 ล้านบาท และยังสามารถช่วยลดมลภาวะทางอากาศได้อีกด้วย เพราะเป็นระบบที่ใช้น้ำเป็นตัวทำความเย็นแทนสารเคมี CFC ซึ่งทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ จากข้อดีต่างๆเหล่านี้ ปัจจุบันเทคโนโลยี DCS PP จึงได้รับความนิยมในต่างประเทศมีการใช้งานในสนามบินนานาชาติที่สร้างขึ้นใหม่และอาคารสำนักงานอย่างแพร่หลาย--จบ--
-สส-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ