กปน. นำสื่อฯ ชมงานก่อสร้างคลองประปาสายใหม่ เตรียมเปิดใช้ต้นปี 2545

พุธ ๑๘ เมษายน ๒๐๐๑ ๐๙:๒๘
กรุงเทพฯ--18 เม.ย.--กปน.
การประปานครหลวง (กปน.) ลงทุน 7,000 ล้านบาท เตรียมแหล่งน้ำสำรองขุดคลองประปาสายใหม่ยาว 106 กม. รับน้ำจากเหนือเขื่อนวชิราลงกรณมาผลิตน้ำประปา ที่โรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ เพื่อขยายการบริการน้ำประปาให้เต็มพื้นที่รับผิดชอบ ขณะนี้คลองประปาระยะที่ 2 ผลงานรุดหน้าไปเกินครึ่ง มั่นใจเปิดใช้ได้ต้นปีหน้า
วันนี้ ( 27 มีนาคม 2544 ) นายไมตรี ลิมปิชาติ ผู้ช่วยผู้ว่าการ การประปานครหลวง นำสื่อมวลชนทั้งหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ และวิทยุ ชมงานก่อสร้างคลองประปาฝั่งตะวันตกระยะที่ 2 จากบริเวณ อ. พระแท่นดงรัง จ.กาญจนบุรี ถึงจุดก่อสร้างวางท่อส่งน้ำลอดแม่น้ำท่าจีนบริเวณ อ. บางเลน จ.นครปฐม เชื่อมต่อกับโครงการก่อสร้างคลองระยะที่ 1 ความยาว 35 กิโลเมตร ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จใช้งานตั้งแต่ปี 2539 พร้อมกับโรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์
สำหรับคลองประปาฝั่งตะวันตกระยะที่ 2 นี้ มีการออกแบบคลองส่งน้ำดิบหลายลักษณะ ตามความเหมาะสม โดยพิจารณาถึงสภาพพื้นที่ภูมิประเทศ การสูญเสียของน้ำจากการรั่วซึมลงสู่ใต้ดิน ค่าก่อสร้าง ค่าบำรุงรักษา ปริมาณน้ำที่ต้องการรวมไปถึงผลกระทบต่อประชาชน และสิ่งแวดล้อมด้านต่าง ๆ แบ่งเป็น 5 ประเภทคือ คลองดินรูปสี่เหลี่ยมคางหมูดาดด้วยคอนกรีต (Concrete Lining Canal) ,คลองดินรูปตัดสี่เหลี่ยมคางหมู (Earth Canal) ,คลองคอนกรีตเสริมเหล็กรูปตัด U - Shape ,สะพานน้ำ (Elevated Flume) และ ท่ออุโมงค์ลอดแม่น้ำท่าจีน ซึ่งเป็นจุดชมงานที่น่าสนใจเนื่องจากแนวคลองจำเป็นต้องตัดผ่านแม่น้ำท่าจีนเพื่อจะไปบรรจบกับคลองส่งน้ำดิบ ระยะที่ 1 ที่บริเวณหน้าโรงสูบน้ำดิบบางเลน ดังนั้นจึงออกแบบก่อสร้างในรูปแบบของอุโมงค์ส่งน้ำลอดแม่น้ำท่าจีน ความยาวของแนวอุโมงค์ประมาณ 204 เมตร มีการวางท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายใน 2000 มม. จำนวน 5 แนวก่อสร้างอยู่ที่ระดับความลึกจากพื้นดินประมาณ 18 เมตร
นายไมตรี เปิดเผยว่างานก่อสร้างที่นำชมในวันนี้เป็นส่วนหนึ่งของ โครงการประปาฝั่งตะวันตก ซึ่งเป็นแผนแม่บทระยะยาว จัดทำขึ้นตั้งแต่ปี 2530 เนื่องจากการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของเมืองหลวง ทำให้ความต้องการใช้น้ำมากขึ้น น้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยาเพียงแหล่งเดียวคงจะไม่เพียงพอ ประกอบกับสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นหลายครั้งหลายครา รวมทั้งปัญหาคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาด้อยลงไปมากจนน่าเป็นห่วง โครงการคลองประปาฝั่งตะวันตก ต้องใช้เงินลงทุนสูงถึง 7,000 ล้านบาท เฉพาะโครงการคลองประปาระยะที่ 2 ที่ไปชมกันวันนี้ใช้งบประมาณ 2,630 ล้านบาท เป็นค่าก่อสร้างคลอง ความยาว 71 กิโลเมตร ประมาณ 1,800 ล้านบาท และค่าเวนคืนที่ดิน จำนวน 830 ล้านบาท ขณะนี้งานก่อสร้างทำไปได้ 56 % เร็วกว่าแผนงาน 9 % คาดว่าจะเปิดใช้ได้ต้นปีหน้า
เมื่อคลองประปาสายนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จ จะช่วยให้การประปานครหลวงมีแหล่งน้ำสำรองสำหรับการผลิตน้ำประปาในกรณีที่มีความจำเป็นต้องหยุดโรงงานผลิตน้ำบางเขน ซึ่งปัจจุบันเป็นโรงงานหลักผลิตน้ำ 70 % ของปริมาณน้ำที่ กปน. ผลิตได้ ช่วยให้ กปน. สามารถขยายการให้บริการให้กับผู้ใช้น้ำในเขตชานเมืองได้ทั่วถึงมากขึ้น และเพื่อรองรับการยกเลิกบ่อบาดาลที่เป็นต้นเหตุของปัญหาแผ่นดินทรุดอีกด้วย--จบ--
-อน-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐:๓๔ ดรีมมี่ ร่วมด้วยช่วยฟื้นฟูผู้ประสบภัยหลังน้ำลด สมทบทุน-มอบสินค้าอุปโภคบริโภค และของใช้จำเป็น รวมมูลค่ากว่า 300,000
๐๕ พ.ย. กทม. เฝ้าระวังฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง เข้มตรวจสอบความแข็งแรงอาคารและป้ายโฆษณา
๐๙:๓๗ EXIM BANK แถลงผลการดำเนินงานเดือนมกราคม-กันยายน 2567 ปลดล็อกศักยภาพผู้ประกอบการไทยสู่เวทีโลก สร้างโลกเติบโตยั่งยืน
๐๙:๑๐ ไอ-เทล คอร์ปอเรชั่น ร่วมออกบูธในงาน Pet Fair Southeast Asia 2024 นำเสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง
๐๙:๒๗ มิลเลนเนียม ออโต้ กรุ๊ป กระตุ้นความเร้าใจเต็มสูบ กับ BMW 220i Gran Coupe M Sport ฟรีชุดแต่ง M Performance มูลค่าเกือบ 100,000 บาท จัดให้ในราคาพิเศษ 1.99 ล้านบาท เฉพาะที่โชว์รูม BMW Millennium
๐๙:๓๖ CMC ตอกย้ำความสำเร็จส่งท้ายปี ในงานมหกรรมบ้านและคอนโด ครั้งที่ 46 ยอดจอง 145 ยูนิต มูลค่า 320 ล้านบาท
๐๙:๕๑ โพชงพลัส เครื่องดื่มสมุนไพร คว้ารางวัล BUSINESS PRODUCT OF THE YEAR AWARDS 2024
๐๙:๓๒ หุ้นกู้ RT ครั้งที่ 1/67 วันแรกกระแสตอบรับดี นักลงทุนสถาบัน-รายใหญ่ จองซื้อคึกคัก
๐๙:๔๘ อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ เปิดปรากฏการณ์ช้อป 'GREEN RETAIL STORE' สาขาสระบุรี แห่งที่ 33 ชู 'Zero Energy Building'
๐๙:๔๑ 8 หน่วยงานเซ็น MOU เพื่อดำเนินการร่วมกันด้านพลังงาน คมนาคม และสภาพภูมิอากาศ ภายใต้โครงการ TGC EMC ของเยอรมนี