กรุงเทพฯ--23 พ.ย.--สมาคมทรัพย์สินทางปัญญา
สมาคมทรัพย์สินทางปัญญา จัดสัมมนาในหัวข้อเรื่อง "ทรัพย์สินทางปัญญากับปัญหาโดเมนเนม" มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องการจดทะเบียนโดเมนเนม และปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงข้อคิดเห็นในการแก้ปัญหาข้อพิพาทในเรื่องโดเมนเนม โดยวิทยากรที่เข้าร่วมการสัมมนา เป็นผู้ทรงคุณวุฒิและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนโดเมนเนม อาทิ วิชัย อิรยะนันทกะ ผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ธีรพล สุวรรณประทีป นายกสมาคมทรัพย์สินทางปัญญา ชยา ลิมจิตติ ผู้แทนจาก THNIC พิพัฒน์ ยอดพฤติการ จากชื่อไทย.คอม ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน นายกสมาคมอินเทอร์เน็ต ฯลฯ
โดเมนเนมเปรียบเสมือนเครื่องหมายทางการค้า ดังนั้น การจดทะเบียนนั้นถือว่าเป็นการแสดงสิทธิของชื่อนั้นๆ ปัจจุบันปัญหาเกี่ยวกับละเมิดชื่อโดเมนเนมกำลังเป็นปัญหาที่ขยายวงกว้าง มาตรการคุ้มครองตามกฎหมายไทย โดยมีสาเหตุมาจากการที่บุคคลหนึ่งบุคคลใดได้นำชื่อทางการค้า หรือเครื่องหมายทางการค้า หรือเครื่องหมายบริการของบุคคลอื่น ไปยื่นหรือใช้จดทะเบียนโดเมนเนมทั้งในระดับสากล และในระดับประเทศ
จึงเป็นที่น่ากังวลว่า หากการกระทำนั้น เกิดขึ้นในประเทศไทยและกลายเป็นปัญหาที่ลุกลาม กฎหมายไทยจะให้ความค้มครอง แก่ชื่อทางการค้าโดเมนเนมอย่างไร
วิชัย อริยะนันทกะ ผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า ปัญาหาในเรื่องการจดทะเบียนโดเมนเนมมแม่ว่าในไทยยังไม่มีปัญหามากนัก การนำข้อกฎหมายมาเป็นข้อบังคับในขณะนี้สามารถใช้กฎหมายประมวลแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 ,421 ,18 ประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า หากว่าผู้ที่จดทะเบียนไปแล้วเกิดปัญหากรณีที่มีบุคคลอื่นอ้างสิทธิในการใช้สิทธิเช่นกัน ทางแก้ปัญหาในขั้นแรกจะต้องไปติดต่อกับบริษัทที่ได้จดทะเบียนนั้นเพื่อแสดงสิทธิก่อน ซึ่งบริษัทนั้นจะพิจารณาดูว่าใครมีสิทธิที่ดีกว่า เมื่อมีการพิสูจน์แล้ว ว่าใครคือผู้ที่มีสิทธิที่ดีกว่านั้น บริษัทนั้นจะทำการเพิกถอนและโอนสิทธิให้แก่ผู้นั้น หากบริษัทที่รับจดทะเบียนโดเมนเนมไม่สามารถตัดสินได้ก็จะนำเรื่องเสอนต่อ อนุญาโตตุลาการ ซึ่งเป็นบุคคลกลางในการตัดสิน
ด้านพิพัฒน์ ยอดพฤติการ กรรมการผู้จัดการบริษัทชื่อไทย.คอม จำกัด เปิดเผยว่า แม้ว่าหน้าที่หลักของผู้ที่ให้บริการรับจดทะเบียนโดเมนเนม คือการสร้างรายได้ให้แก่บริษัท แต่ในเรื่องของภาระกิจที่ผู้จดทะเบียนโดเมนเนมแต่ละรายควรให้ความร่วมมือ นั่นคือ การสร้างบริการที่ดีเพื่อไม้ให้เกิดความสับสนว่าลูกค้าจะมีสิทธิในชื่อนั้นๆหรือไม่ อีกทั้งการสร้างฐานข้อมูลร่วมกันระหว่างผู้ให้บริการรับจดทะบียนโดเมนเนม เพื่อเป็นการสำรวจว่าชื่อที่ผู้ที่ทการขอทดทะเบียนนั้นไม่ว็ซ้อนกับผู้อื่น
เนื่องจากมีลูกค้าบางราย ได้จดทะเบียนกับบริษัทรับจดทะเบียนโดเมนเนม และต่อมาพบว่าบริษัทนั้นได้ปิดกิจการ แต่ระยะเวลาในการถือครองสิทธิในชื่อนั้น ยังมีอยู่แต่ไม่สามารถติดตามบริษัทเหล่านั้นได้ ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน นายกสมาคมอินเตอร์เน็ต ให้คำแนะนำเกี่ยวกับผู้ที่จดทะเบียนโดเมนเนมว่า ทันทีที่มีการทำสัญญาขอจดทะเบียนแล้ว ผู้ใช้บริการจะต้องขอเอกสารจาก Registra ไว้ และในช่อง admin ให้กรอกชื่อของผู้ใช้บริการเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาอื่น ๆ--จบ--
-สส-