จิตแพทย์แนะเคล็ดลับในการซื้อของเล่นให้ลูก

อังคาร ๒๕ กรกฎาคม ๒๐๐๐ ๑๕:๑๓
กรุงเทพฯ--25 ก.ค.--กรมสุขภาพจิต
จิตแพทย์แนะเคล็ดลับในการเลือกซื้อของเล่นให้ลูก ควรคำนึง ความปลอดภัย ส่งเสริมพัฒนาการ มีความสนุกสนาน ให้เลือกของเล่นที่พ่อแม่อยากเล่นด้วย เพื่อจะได้ เล่นด้วยกัน ระบุพ่อแม่เป็นของเล่นที่ดีที่สุดของลูก อวัยวะทุกส่วนในร่างกายสามารถนำมากระตุ้นพัฒนาการและเล่นกับลูกได้ เพียงแต่ให้มีเวลาที่จะเล่นกับลูก
น.พ.ดุสิต ลิขนะพิชิตกุล จิตแพทย์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การเลือกของเล่นให้ลูกต้องคำนึงหลักของความปลอดภัย ส่งเสริมพัฒนาการลูกและมีความสนุกสนาน เคล็ดลับในการซื้อคือ เลือกของเล่นที่พ่อแม่อยากเล่นด้วย จะทำให้พ่อแม่ไปเล่นกับลูกมากขึ้น ถ้าเลือกของเล่นสำหรับเด็กให้กับเด็ก พ่อแม่หลายคนจะถอยออกมาไม่เล่นกับลูก แต่ถ้าเลือกของเล่นที่พ่อแม่เล่นได้ด้วยนั้น จะสร้างบรรยากาศการเล่นร่วมกันระหว่างพ่อแม่ลูก สานความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน ระหว่างเล่นพ่อแม่สามารถสอดแทรกการอบรมสั่งสอนได้ด้วย
ส่วนวิธีเลือกของเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการของลูกนั้น ขั้นแรกต้องอ่านคำแนะนำที่อยู่ที่กล่อง ของเล่น ดูว่า ลูกของเราอายุขนาดนี้น่าจะเล่นของชิ้นนั้นได้หรือไม่ ถ้าได้ ให้พิจารณาราคาว่าแพงมากเพียงใด ป้องกันความผิดพลาด ควรซื้อของเล่นที่เกินอายุเด็กเล็กน้อย โดยคำนึงถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นด้วย เหตุผลที่ซื้อของเล่นเกินอายุลูกนั้น หากซื้อมาแล้วลูกไม่เล่น เราเก็บไว้ ได้ อีกไม่นานลูกก็เติบโตทันของเล่นนั้น แต่ถ้าซื้อมาแล้วของเล่นเหมาะสำหรับเด็กที่เล็กกว่าช่วงวัยของลูก เด็กจะไม่เล่น เมื่อโตแล้วเขาก็ไม่เล่น เป็นการสิ้นเปลือง
น.พ.ดุสิต กล่าวว่า การเลือกซื้อของเล่นที่พ่อแม่สนใจและสอดคล้องกับความต้องการของลูกนั้น ควรตอบคำถามให้ได้ว่า พ่อแม่อยากเล่นของเล่นนั้นจริงหรือไม่ ไม่ใช่เป็นลูกเล่นของพ่อแม่ทำเป็นสนใจ เพื่ออยากให้ลูกเล่น เช่น แบบฝึกการสื่อสารสองทางหรืออินเตอร์แอคทีฟ ที่มีเนื้อหาเป็นวิชาการ หากพ่อแม่สนใจอย่างจริงจัง เล่นอย่างสนุกสนาน ในไม่ช้าลูกจะเข้ามาเล่นด้วย ไม่ต้องบังคับให้เล่น
“ตั้งแต่เด็กขวบปีที่ 1 การเคลื่อนไหวของเด็กจะอาศัยความช่วยเหลือจากพ่อแม่ อวัยวะของเราหลายส่วนช่วยกระตุ้นพัฒนาการของลูกได้ เล่นกับลูกได้ นิ้วมือ หน้าตา การเคลื่อนไหวของหน้า ผิวปาก ส่งเสียงเป็นสิ่งต่าง ๆ การสัมผัส ทั้งหมดนี้เราเล่นกับลูกได้ทั้งนั้น ไม่ต้องซื้อของเล่นที่ราคาแพงเลย การเคลื่อนไหว ในลักษณะเฉพาะ เช่น ยืนขาเดียว กระโดด พ่อแม่ทำให้ลูกดูแล้วก็เล่นกับเขา ร่างกายของพ่อแม่ใช้เล่นกับลูกได้ กระโดดข้ามขาพ่อ เกิดความสนุก พ่อแม่มีเวลาอยู่กับเขา สร้างสานสัมพันธ์กันได้” น.พ.ดุสิต กล่าว และว่า พ่อแม่ส่วนใหญ่จะมองข้ามการเล่นในลักษณะนี้ ทุกอย่างในโลกนี้เด็กเล่นได้หมด ถ้าได้ของเล่นที่ออกแบบมาเพื่อการเล่น เด็กจะเรียนรู้ผ่านการเล่น ไม่ได้เรียนรู้ผ่านการเรียน เพราะการเล่นสนุก แต่การเรียนบางครั้ง ทำให้เครียดได้ อยากให้พ่อแม่เล่นกับลูก เมื่อลูกเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้วเขาไม่เล่นกับเราแล้วจะเสียดาย อาจเล่นบอล เล่นบาส ปลูกต้นไม้ร่วมกันก็ได้--จบ--
-นศ-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๔๑ องค์การอนามัยโลกจับมือประเทศไทย และ 194 ประเทศ เร่งสร้างฉันทมติดันความเสมอภาคสุขภาพช่องปากเป็นวาระโลก
๑๖:๔๔ กรมอนามัยลงพื้นที่จังหวัดสงขลา มอบรางวัลเชิดชูเกียรติเมืองสุขภาพดีระดับประเทศ และรางวัลเครือข่ายเมืองสุขภาพดีระดับภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก
๑๖:๐๑ EPG มั่นใจยอดขายและอัตรากำไรขั้นต้นในครึ่งหลังของปีบัญชี 67/68 (ต.ค.67 - มี.ค.68) เติบโตดีตามเป้าหมาย เตรียมจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล 6 สตางค์ 9
๑๖:๒๔ 51Talk ส่งเด็กไทยเข้าร่วม COP29 การประชุมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บทพิสูจน์การสนับสนุนเยาวชนก้าวสู่เวทีระดับโลก
๑๖:๔๘ ORN เผยโค้งสุดท้ายปี 67 ฟอร์มดี โตต่อเนื่อง ลุยเปิด 3 โครงการใหม่บ้าน-คอนโดฯ มูลค่ารวม 3,070 ล้านบาท
๑๖:๓๓ Dog's Dream คอมมูนิตี้สนามสัตว์เลี้ยงสีเขียว ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
๑๖:๑๔ ฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น ชูกลยุทธ์ Make a Leap to the New Stage ตอกย้ำพันธกิจขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
๑๕:๔๓ กรุงศรี ขับเคลื่อนกลยุทธ์ GO ASEAN with krungsri ผสานความแข็งแกร่งและร่วมมือในเครือกรุงศรี MUFG และพันธมิตร
๑๕:๓๔ เผยสีสันแห่งการเฉลิมฉลองช่วงสิ้นปี ผ่านกระเช้าของขวัญจากโรงแรมเจดับบลิว แมริออท กรุงเทพฯ
๑๕:๔๗ Netflix ส่งหนังไทยคว้าชัยระดับโลก! ออกแบบ-ชุติมณฑน์ คว้ารางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม บนเวที International Emmy Awards ครั้งที่ 52 จากผลงานเรื่อง HUNGER คนหิว