ธุรกิจปิโตรเคมี เครือซิเมนต์ไทยใช้นโยบาย 3's ดำเนินธุรกิจเจาะตลาดช่วงสงคราม

ศุกร์ ๒๖ ตุลาคม ๒๐๐๑ ๑๔:๒๖
กรุงเทพฯ--26 ต.ค.--เครือซีเมนต์ไทย
ธุรกิจปิโตรเคมี เครือซิเมนต์ไทย ชี้แจงการดำเนินธุรกิจแบบ 3's และแนวการผลิต เพื่อรองรับตลาด ในช่วงสงคราม คงเน้นเป็นผู้นำอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก
นายอธิพร ภาษวัธน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเคมีภัณฑ์วิเมนต์ไทย จำกัด ในธุรกิจปิโตรเคมี เครือซิเมนต์ไทย ชี้แจงถึงการดำเนินธุรกิจยุคสงคราม บริษัทฯ ยังคงดำเนินธุรกิจได้โดย ใช้วิธี ชะลอการขยายกำลังการผลิต (Slow down Expansion) เร่งการส่งออก (Stimulate Export) และ ลดหนี้ (Size down Debt) "ปัจจุบัน เคมีภัณฑ์ซิเมนต์ไทย มีโรงงานผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ตั้งแต่ขั้นต้น จนถึงขั้นปลาย โดยโรงงานระยองโอเลฟินส์ จำกัด ผลิตโอเลฟินส์ได้ปีละ 800,000 ตันต่อปี จากเดิมที่มีอยุ่ 600,000 ตันต่อปี วึ่งได้มาจากการ De bottleneck เมื่อกลางปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ผลผลิต ที่เพิ่มขึ้นอีก 200,000 ตันต่อปีนั้น ใช้รองรับ การขยายผลิตเม็ดพลาสติก โพลิเอททีลีน ที่เพิ่มขึ้น 200,000 ตันต่อปี เพื่อตอบสนองความต้องการ การใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกในประเทศ และปริมาณส่วนที่เหลือ จะส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยจะเพิ่มการขายในประเทศจีน ออสเตรเลีย และอัฟริกา นอกจากนี้ ยังให้ความช่วยเหลือ ผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ส่งออก ไปยังต่างประเทศ (Re Exporter) เพื่อให้สามารถแข่งขัน กับคู่แข่งขันต่างประเทศ ในรูปแบบการประมูลแบบ Reverse Auction รวมทั้งยังช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิผลสูงขึ้น และแนะนำตลาด สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติก ให้กับผู้ผลิตของไทย" นายอธิพร กล่าวเสริม
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังดำเนินธุรกิจปิโตรเคมี ประเภทอื่น ได้แก่ ผงพีทีเอ (Purified Terephthalic Acid) ที่อยู่ระหว่าง การขยายกำลัง การผลิตโรงงานที่ 2 ซึ่งจะแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 4 ปี 2546 โดยบริษัทฯ จะมีกำลังการผลิตทั้งสิ้น 800,000 ตันต่อปี ส่งผลให้ บริษัทสยาม มิตซุย พีทีเอ จำกัด ธุรกิจร่วมทุนระหว่าง เคมีภัณฑ์ซิเมนต์ไทย และมิตซุย เคมีคัล อิงค์ ประเทศญี่ปุ่น มีส่วนแบ่งตลาด ในประเทศ และต่างประเทศมากขึ้น เนื่องจากลดการนำเข้าจากญี่ปุ่น และขยายตลาดไปยังจีน และอัฟริกามากขึ้น
รวมทั้งการขยายกำลังการผลิต สารทีบีเอ ของโรงงานบริษัทไทย เอ็มเอ็ม เอ จำกัด จากปีละ 50,000 ตัน เป็นปีละ 95,000 ตัน เพื่อเป็นวัตถุดิบหลัก ในการผลิตสารเอ็มเอ็มเอ ด้วยกำลังการผลิต 70,000 ตันต่อปี ของธุรกิจร่วมทุน กับมิตซูบิชิ เรยอน ประเทศญี่ปุ่น การเพิ่มกำลังการผลิตทีบีเอ ของธุรกิจเอ็มเอ็มเอ ช่วยทำให้บริษัทลดต้นทุน การนำเข้าจากต่างประเทศ และยังสร้างความมั่นใจ เรื่องวัตถุดิบสำหรับธุรกิจ เอ็มเแ็มเอ อีกด้วย โดยนำวัตถุดิบมาจาก ระยองโอเลฟินส์ บริษัทในเครือ เคมีภัณฑ์ซิเมนต์ไทย และบางส่วนจากบริษัทอัลไลแอนส์ รีไฟน์นิ่ง จำกัด
นายอธิพร กล่าวสรุปว่า "ถึงแม้ว่ายุคนี้ จะเกิดวิกฤติอีกครั้ง และอาจส่งผลต่อธุรกิจปิโตรเคมีทั่วไป แต่สำหรับธุรกิจปิโตรเคมี ของเครือซิเมนต์ไทย ได้วางแนวทางป้องกัน ในเรื่องนี้ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ซึ่งในระยะสั้นนั้น โครงการต่างๆ ที่ได้ขยายกำลังการผลิตเรียบร้อยแล้ว จะเน้นเรื่อง การเพิ่มคุณภาพ และการขยายตลาดการส่งออก โดยจะส่งผลให้มีเงิน สำหรับการชำระหนี้ในปี 2002 เพิ่มขึ้น
โดยในระยะยาว จะสร้างความเป็นผู้นำ ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ของเอเซียแปซิฟิค เนื่องจากกำลัง การผลิตขนาดใหญ่ ที่เรามีอยู่ จะช่วยลดต้นทุนต่อหน่วยให้ต่ำลง มีความได้เปรียบ ในการแข่งขัน ระยะยาว เพิ่มความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์ (Economy of Scale) และ ส่งผลให้เป็น ผู้นำอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค ได้ตามเป้า นอกจากนี้ ยังเป็นส่วนสำคัญ ในการพัฒนา อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ให้เป็นอุตสาหกรรมหลักของไทย"
บริษัทเคมีภัณฑ์ซิเมนต์ไทย เป็นหนึ่งในธุรกิจหลัก ที่สร้างรายได้ให้กับเครือซิเมนต์ไทย ดำเนินธุรกิจ ปิโตรเคมีครบวงจร ครอบคลุมอุตสาหกรรมขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นปลาย ประกอบด้วย บริษัทที่ เคมีภัณฑ์ซิเมนต์ไทย ถือหุ้นทั้งหมด และบริาัทน่วมทุน กับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีชั้นนำของโลก อาทิเช่น ดาวเคมีคอล ประเทศสหรัฐอเมริกา มิตซุย เคมีคัลอิงค์ และ มิตซูบิชิ เรยอน ประเทศญี่ปุ่น โรงงานทั้งหมดตั้งอยุ่ที่ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง--จบ--
-สส-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม