เปิดแล้วศูนย์แยกขยะรีไซเคิลชุมชนสุขสันต์ 26 ซ.ลาดพร้าว 101 เขตบางกะปิ

ศุกร์ ๐๙ มิถุนายน ๒๐๐๐ ๐๘:๕๓
กรุงเทพฯ--9 มิ.ย.--กทม.
เมื่อวานนี้ ที่ชุมชนสุขสวัสดิ์ 26 เขตบางกะปิ ดร.พิจิตต รัตตกุล รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์แยกขยะรีไซเคิลตามโครงการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน เขตบางกะปิ โดยมีนายพิชัย ไชยพจน์พานิช ผู้อำนวยการสำนักรักษาความสะอาด นายกฤษฎา สุขสงวน ผู้อำนวยการเขตบางกะปิ ดร.ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ สมาชิกวุฒิสภา นายชัยวุฒิ จริยโรจน์สกุล สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตบางกะปิ สมาชิกสภาเขตบางกะปิ และประชาชนในชุมชนร่วมในพิธี
นายประเสริฐ คำแดง ประธานชุมชนสุขสันต์ 26 ในฐานะผู้จัดการศูนย์ฯ กล่าวว่า ศูนย์แยกขยะรีไซเคิลดังกล่าว เป็นศูนย์ที่ดำเนินการตามโครงการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนเขตบางกะปิ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของ 7 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนสุขสันต์ 26 ชุมชนวัดกลาง ชุมชนร่วมกันสร้าง ชุมชน 101 บึงทองหลาง ชุมชนสุขเจริญพัฒนา ชุมชนหมู่บ้านสินธร และชุมชนลำสาลี ที่ได้เห็นความสำคัญของการจัดการสิ่งแวดล้อมและเป็นชุมชนนำร่องของกทม. ที่ประสบความสำเร็จในการคัด-แยกและนำกลับมาใช้ใหม่ รวมทั้งได้รับความร่วมมือจากมูลนิธิ พล.อ.ชาติชาย ที่ได้ให้แนวคิด เป็นที่ปรึกษาในการดำเนินงานของโครงการ ตลอดจนได้รับความร่วมมือจากสำนักงานกองทุนเพื่อสังคม ธนาคารออมสิน และหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ในการสนับสนุนงบประมาณ
สำหรับศูนย์แยกขยะรีไซเคิลแห่งนี้จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ประชาชนที่อาศัยในชุมชนได้คัดแยกขยะก่อนทิ้ง และนำขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ หรือขยะรีไซเคิลไปขายเพื่อเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง อีกทั้งทำให้ขยะดังกล่าวมีประโยชน์และมีคุณค่าเพื่อลดปริมาณขยะมูลฝอย นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความมีส่วนร่วมให้กับประชาชนในการที่จะร่วมกันรักษาความสะอาด อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ ส่งผลให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่น่าอยู่ต่อไป
ดร.พิจิตต กล่าวด้วยว่า การที่ศูนย์แยกขยะรีไซเคิลดังกล่าวประสบความสำเร็จ เนื่องจากประชาชนได้ร่วมมือกันจัดการสภาพแวดล้อมของตนเองโดยการสนับสนุนของหน่วยงานต่างๆ ทั้งนี้ก่อนหน้าที่จะมีศูนย์ดังกล่าวทางชุมชนได้จัดทำโครงการธนาคารขยะขึ้น และขณะนี้มีเงินในธนาคารประมาณ 8 ล้านบาท ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของประชาชนในการร่วมมือกันจัดทำโครงการนี้เป็นอย่างดียิ่ง โดยทุกคนได้ยึดปรัชญาที่ชัดเจนว่า ขยะเป็นสิ่งที่มีคุณค่า ถังขยะเปรียบเสมือนเหมืองแร่ สำหรับคุณค่าของขยะ เช่น นำไปทำปุ๋ย น้ำยาล้างห้องน้ำ ฯลฯ
ดร.พิจิตต กล่าวอีกว่า หากโครงการดังกล่าวฯ ได้ขยายไปทุกชุมชนก็จะทำให้ปัญหาขยะลดน้อยลงได้ อีกทั้งยังช่วยแบ่งเบาภาระการจัดเก็บขยะของกรุงเทพมหานครด้วย นอกจากนี้ตนได้ประสานไปยังมูลนิธิ พล.อ.ชาติชาย จัดทำวิดีทัศน์กระบวนการดำเนินการคัดแยกขยะ กระบวนการจัดทำขยะหอม การจัดทำธนาคารขยะ การแปรรูปของวัสดุรีไซเคิล และกระบวนการต่างๆ ที่ทำอย่างไรให้มีรายได้จากขยะ ทั้งนี้เพื่อนำไปมอบให้ชุมชนต่างๆ เผยแพร่แก่ประชาชนต่อไป--จบ--
-นศ-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ