กทม.เตรียมรณรงค์พัฒนาอาหารริมบาทวิถีชั้นดาวเงิน

จันทร์ ๓๐ ตุลาคม ๒๐๐๐ ๑๑:๒๖
กรุงเทพฯ--30 ต.ค.--กทม.
วันนี้ (27 ต.ค.43) เวลา 10.00 น. ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร นพ.ปิยเมธิ ยอดเณร รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมโครงการพัฒนาการสุขาภิบาลอาหารริมบาทวิถีชั้นดาวเงิน โดยมี นายธงชัย สัมฤทธิ์ ผู้อำนวยการกองอนามัยสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร ดร.บี เค นานดี้ และนายทรวง เหลี่ยมรังสี เจ้าหน้าที่อาหารและโภชนาการประจำภูมิภาคฯ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ร่วมประชุม
ภายหลังการประชุมฯ รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการโครงการพัฒนาสุขาภิบาลอาหารริมบาทวิถีมาตั้งแต่เดือน ก.พ.40 โดยมุ่งพัฒนาให้อาหารตามแผงลอยริมบาทวิถีมีความสะอาดและปลอดภัยต่อผู้บริโภค ตั้งแต่การประกอบปรุงจำหน่าย การใช้อุปกรณ์ภาชนะที่สะอาดและผู้จำหน่ายอาหารมีสุขลักษณะนิสัยที่ดีตามข้อกำหนด 10 ประการ รวมถึงได้มีการติดตามและประเมินผลการปรับปรุงมาตรฐานด้านกายภาพของแผงลอยดังกล่าวและพบว่าผู้ค้าอาหารส่วนใหญ่ได้ให้ความร่วมมือปฏิบัติตามข้อกำหนดพื้นฐาน กรุงเทพมหานครก็ได้มอบสัญลักษณ์ดาวเขียวเป็นเครื่องหมายประกันความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคว่า เป็นแผงลอยที่ได้ปรับปรุงตามมาตรฐานมีความสะอาด ปลอดภัยและเพื่อเป็นการให้ขวัญกำลังใจแก่ผู้ค้าอาหารด้วย ซึ่งการดำเนินการที่ผ่านมากรุงเทพมหานครเห็นว่า ผู้บริโภคยังมีความมั่นใจไม่ถึง 100 % เช่น ยังมีผู้ค้าอาหารบางรายนำเงินใส่ในผ้ากันเปื้อน ซึ่งถือว่าไม่ถูกต้อง ฯลฯ ประกอบกับผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีนโยบายที่จะจัดสร้างศูนย์อาหารที่มีคุณภาพและราคาถูกให้กับประชาชน ดังนั้นกรุงเทพมหานครจึงมีแนวคิดโดยจะร่วมกับสำนักงานเขตพิจารณาหาจุดนำร่องผู้ค้าอาหารริมบาทวิถี เขตละ 1 จุด เช่น บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เขตห้วยขวาง เพื่อพัฒนาให้ผู้ค้าอาหารริมบาทวิถีบริเวณดังกล่าวให้มีความเข้าใจในข้อกำหนด 10 ประการมากยิ่งขึ้น และยึดถือปฏิบัติเสมือนปรุงอาหารให้คนในครอบครัวได้รับประทาน โดยจะเชิญผู้ค้าอาหารทั้ง 50 จุดนี้ มาร่วมสัมมนา จากนั้นจะติดตามและประเมินผล หากพบว่าผู้ค้าอาหารจุดใดปฏิบัติได้ครบถ้วนและดียิ่งขึ้นกรุงเทพมหานครก็จะมอบสัญลักษณ์ “ดาวเงิน” ให้อีกชั้นหนึ่ง
รองปลัดกทม. กล่าวต่อไปว่า กรุงเทพมหานครจะเริ่มดำเนินการพัฒนาการสุขาภิบาลอาหารริมบาทวิถีชั้นดาวเงินในเดือนมกราคม 2543
อนึ่ง ข้อกำหนดหรือสุขลักษณะ 10 ประการแผงอาหารริมบาทวิถีที่ได้มาตรฐานด้านกายภาพได้แก่ 1.ผู้ขายอาหารสวมหมวก และผ้ากันเปื้อนสีขาวสะอาด 2. อาหารมีการปกปิดป้องกันฝุ่น แมลง และสัตว์นำโรคได้ 3.ล้างภาชนะอุปกรณ์ที่ใช้ใส่อาหารด้วยน้ำยาล้างจาน และน้ำสะอาด อีก 2 ครั้ง 4. จานชาม แก้วน้ำ เก็บคว่ำ ช้อนส้อม ตะเกียบเก็บในภาชนะโปร่งสะอาด โดยเอาด้ามขึ้น 5.เลือกใช้ภาชนะอุปกรณ์ด้วยวัสดุที่ถูกต้อง เช่น ที่ใส่เครื่องปรุงไม่ละลายด้วยความร้อน หรือกรดด่าง ไม่ตกแตงสี เช่น กระเบื้องขาว แก้วอะลูมมิเนียม แสตนเลส เป็นต้น 6. เครื่องปรุงรส เช่น น้ำส้มสายชู มีเครื่องหมาย อย. 7.ภาชนะใส่น้ำส้ม น้ำปลา และน้ำจิ้มอื่น ๆ ทำด้วยแก้ว กระเบื้องเคลือบขาว มีฝาปิด 8.น้ำแข็ง เครื่องดื่ม และน้ำที่ใช้บริโภคต้องสะอาด เก็บในภาชนะที่มีฝาปิด 9.พื้นแผงวางอาหารเครื่องดื่ม ภาชนะอุปกรณ์และการล้างจานต้องแข็งแรง และสูงกว่าพื้นมากกว่า 60 ซ.ม. ทำด้วยวัสดุที่ทำความสะอาดได้ง่าย 10. มีถังรองรับขยะและเศษอาหารไม่รั่วซึม มีฝาปิดน้ำขยะไปกำจัดทุกวัน--จบ--
-อน-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ