รวมถึง บทบาทขององค์กรภาคธุรกิจไทยในการร่วมขับเคลื่อนประเด็นธุรกิจเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ (Business for Biodiversity) เพื่อนำ แนวคิดเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพเข้าไปผนวกอยู่ในแผนการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรมอันเป็นกุญแจสำคัญสู่ระบบนิเวศที่ยั่งยืน รวมถึง เพื่อแถลงข่าวกรอบของข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง TEI และ TBCSD ร่วมกับ BEDO ซึ่งทั้ง 3 ฝ่ายได้ตกลงความร่วมมือกันเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศไทย โดยการส่งเสริมและ สนับสนุนการเพิ่มศักยภาพด้านการจัดการทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และลดผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยื
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กล่าวว่า "องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนา อย่างยั่งยืน (TBCSD) ในฐานะเครือข่ายธุรกิจด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดเครือข่ายหนึ่งของประเทศมีความมุ่งมั่น ในการร่วมสร้างเครือข่ายภาคธุรกิจเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ปัจจุบันองค์กรภาคธุรกิจไทยได้เข้ามามี บทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนอันสอดคล้องกับนโยบายสำคัญของประเทศ โดยประเด็น ด้านความหลากหลายทางชีวภาพได้เป็นประเด็นใหม่ที่ TBCSD ได้นำมาหารือกับองค์กรสมาชิกเพื่อร่วมขับเคลื่อนประเด็น ธุรกิจเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ (Business for Biodiversity) โดยการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อร่วมยกระดับประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ในช่วงการบรรยายเรื่อง "Global Trends on Biodiversity & Climate Change" โดย Mr. Joe Phelan, Executive Director, Asia Pacific, World Business Council for Sustainable Development (WBCSD) กล่าวว่า "การแก้ปัญหาการสูญเสียธรรมชาติมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศและความเท่าเทียม การหยุดยั้งและฟื้นฟูธรรมชาติยังเป็นสิ่งจำเป็นต่อความยืดหยุ่นและการสร้างความยั่งยืนในระยะยาวของภาคธุรกิจ เมื่อความคาดหวังต่อภาคเอกชนเพิ่มสูงขึ้น ความเสี่ยงจากการไม่ลงมือทำก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย เช่นเดียวกับโอกาสในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ"
และการบรรยายเรื่อง "Business Actions on Nature (ACT-D)" โดย Ms. Eva Zabey, CEO, Business for Nature กล่าวว่า "รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาเยือนประเทศไทยและได้ร่วมสนับสนุนงานที่ทั้งทางภาครัฐและภาคธุรกิจกำลังดำเนินการเพื่อปกป้องและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ อันเป็นการผนึกกำลังที่เข้มแข็งแสดงถึงความร่วมมือของทุกภาคส่วน โดยมีขั้นตอนที่ชัดเจนที่ภาคธุรกิจสามารถนำไปดำเนินการได้ ตั้งแต่การพัฒนากลยุทธ์ด้านธรรมชาติไปจนถึงการมีส่วนร่วมในแพลตฟอร์มเครือข่ายธุรกิจเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย ซึ่งมีความสำคัญต่อการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคธุรกิจ โดยการต่อยอดจากความร่วมมือในปัจจุบันนี้ประเทศไทยสามารถแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำทั้งในด้านนโยบายและระดับปฏิบัติการที่ส่งผลเชิงบวกต่อเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม โดย Business for Nature มีความภาคภูมิใจที่ได้ร่วมสนับสนุนและขยายผลของงานสำคัญในครั้งนี้"
นอกจากนี้ นางภัทรินทร์ ทองสิมา ผู้อำนวยการกลุ่มงานนโยบายและยุทธศาสตร์ กองจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มาบรรยายเรื่อง "การดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย" กล่าวว่า "สผ. ในฐานะหน่วยประสานงานกลางอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ และเป็นหน่วยงานหลักด้านนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ มีภารกิจหลักในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แนวทาง หลักเกณฑ์ และกลไกการดำเนินงานระดับชาติและระดับนานาชาติในการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ โดยได้ถ่ายทอดเป้าหมายตามกรอบงานคุนหมิง - มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก (Kunming-Montreal Global Biodiversity Framework: GBF) มาสู่การขับเคลื่อนการดำเนินงานของประเทศผ่านแผนปฏิบัติการความหลากหลายทางชีวภาพระดับชาติ (The National Biodiversity Action Plan 2023-2027) พ.ศ. 2566 - 2570 โดยให้ความสำคัญกับการบูรณาการความหลากหลายทางชีวภาพในนโยบายและแผนทุกระดับและทุกภาคส่วน รวมถึงส่งเสริมกลไกทางการเงินเศษฐศาสตร์ และมาตรการจูงใจ ร่วมกับเครือข่ายภาคธุรกิจและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนภาคธุรกิจไทยให้สามารถมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และบรรลุเป้าหมายร่วมกันได้ ลดช่องว่างระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ ให้ตอบโจทย์เป้าหมายระดับโลกและเป้าหมายชาติอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป"
ในช่วงการบรรยายเรื่อง "บทบาทของภาคธุรกิจไทยในการขับเคลื่อนงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ" โดย ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและเลขาธิการองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กล่าวว่า"การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เป็นประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญระดับประเทศระดับภูมิภาค และระดับโลก ซึ่งปัจจุบันทั่วโลกกำลังได้รับผลกระทบหลากหลายรูปแบบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยประเด็นปัญหาสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นตามมา คือ วิกฤตการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Loss) นับเป็น 1 ใน 3 วิกฤตฉุกเฉินด้านสิ่งแวดล้อมของโลกควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปัญหามลภาวะ ซึ่ง "ความหลากหลายทางชีวภาพ" (Biodiversity) นับว่าเป็น "ต้นทุนทางเศรษฐกิจ" ที่มีความสำคัญอย่างมากและต้องได้รับการดูแล ฟื้นฟู อนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน แต่เมื่อเราทราบว่าในอนาคตจะเกิดวิกฤตการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพขึ้นนั้น องค์กรภาคธุรกิจไทยควรที่จะต้องเริ่มนำแนวคิดเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพเข้าไปผนวกอยู่ในแผนการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรมอันเป็นกุญแจสำคัญสู่ระบบนิเวศที่ยั่งยืน เพื่อเป็นการสร้างโอกาสในการแข่งขันในอนาคต ทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการรูปแบบใหม่ ๆ รวมถึง การเข้าถึงกลไกการเงินเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ อีกด้วย"
และ นางสุวรรณา เตียรถ์สุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ ได้มาบรรยายเรื่อง"BEDO's Program on Biodiversity & Business Sustainability" กล่าวว่า "BEDO สนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน โดยผลักดันให้การจัดการด้านความหลากหลายทางชีวภาพเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์และการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นระบบ"
โดยงานแถลงข่าวในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้บริหารจากทั้ง 3 หน่วยงานหลักที่ดำเนินงานในการขับเคลื่อนประเด็นธุรกิจเพื่ออนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ (Business for Biodiversity) อย่างยั่งยืน ได้แก่นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และ นางสุวรรณา เตียรถ์สุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ ซึ่งทั้ง3 หน่วยงาน TEI และ TBCSD ร่วมกับ BEDO พร้อมร่วมแสดงจุดยืนครั้งสำคัญในการก้าวไปพร้อมกับภาคีทุกภาคส่วน
ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานในทุกมิติ เพื่อร่วมสร้างเครือข่ายภาคธุรกิจเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
ช่วงการเสวนาเรื่อง "แนวปฏิบัติที่ดีสำหรับภาคธุรกิจสู่การสร้างเครือข่ายภาคธุรกิจเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน" มีผู้บริหารจากองค์กรสมาชิกของ TBCSD จากแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมหลักของประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการร่วมขับเคลื่อนประเด็นธุรกิจเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ (Business for Biodiversity) โดยการนำแนวคิดเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพเข้าไปผนวกอยู่ในแผนการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรม อันเป็นกุญแจสำคัญสู่ระบบนิเวศที่ยั่งยืน ดังนี้
ดร.อรทัย พงศ์รักธรรม ผู้อำนวยการกิจการด้านความยั่งยืน กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าวว่า "Dow เป็นบริษัทวัสดุศาสตร์ชั้นนำของโลกที่ใช้ความเชี่ยวชาญและความร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อส่งมอบอนาคตที่ยั่งยืน กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย ดำเนินงานตามเป้าหมายด้านความยั่งยืนที่สอดคล้องกับนโยบายของ Dow ทั่วโลก เพื่อต้านโลกร้อน เปลี่ยนขยะเป็นผลิตภัณฑ์ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน และส่งเสริมวงจรรีไซเคิลด้วยนวัตกรรมด้านวัสดุศาสตร์เพื่อนำทรัพยากรกลับมารีไซเคิลหรือกลับมาใช้ใหม่ได้ เป็นเวลากว่า 16 ปีที่กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย ได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อรักษาและฟื้นฟูป่าชายเลน โดยเริ่มจากโครงการอนุรักษ์ป่าชายเลนที่ปากน้ำประแสในปี พ.ศ. 2552 และขยายขอบเขตการทำงานภายใต้ความร่วมมือ Dow & Thailand Mangrove Alliance ในปี พ.ศ. 2563 จนกระทั่งปัจจุบันได้รับการยกระดับเป็นเครือข่ายความร่วมมือระดับประเทศ "Thailand Mangrove Alliance" ภายใต้การนำของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงชุมชนโดยรอบ มุ่งหวังเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนยิ่งขึ้น กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ส่งเสริมการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคม และลดผลกระทบของขยะทะเล และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือภายใต้ภาคีเครือข่ายป่าชายเลนประเทศไทย จะเป็นพลังสำคัญในการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลนและความหลากหลายทางชีวภาพ และสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป"
นายวชิระชัย คูนำวัฒนา Net Zero Accelerator Director SCG กล่าวว่า "เอสซีจีให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งสู่แนวทางการเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน (Inclusive Green Growth) ที่คำนึงถึงทั้งสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมอย่างสมดุล โดยบูรณาการเข้ากับกระบวนการดำเนินงานตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อให้สอดคล้องกับ Global Biodiversity Framework บริษัทจึงได้นำกรอบ TNFD มาใช้ในการประเมินความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านกลยุทธ์และการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส มุ่งสู่เป้าหมาย "Nature Positive" เช่น การทำเหมืองแบบอนุรักษ์ การฟื้นฟูเหมือง การจัดการน้ำและการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เป็นต้น การดำเนินการโครงการของเอสซีจีให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกันกับเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน (Public - Private - People Partnership) โดยให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมทั้งร่วมคิด ร่วมทำและร่วมรับประโยชน์ ตัวอย่างเช่น "สระบุรีแซนด์บ็อกซ์" ที่ใช้พื้นที่จังหวัดสระบุรีเป็นต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำ ในด้านการเพิ่มพื้นที่สีเขียวได้ร่วมมือกับทุกภาคส่วนในอนุรักษ์ ฟื้นฟู เพิ่มพื้นที่ป่าชุมชนจังหวัดสระบุรี เพื่อสร้างความสมบูรณ์ ฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากป่าอย่างยั่งยืนเพื่อเป็นแหล่งอาหาร สร้างรายได้โดยต่อยอดสู่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และการกักเก็บคาร์บอน"
นางสาวพินทุ์สุดา เปี่ยมปิติ Vice President - Corporate Affairs Corporate Communications Division บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "ด้วยความเชื่อองค์กร "ต้นทางดี จะก่อกำเนิดผลลัพธ์ปลายทางที่ดี"เอ็กโก กรุ๊ป ให้ความสำคัญกับการปกป้องระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพในทุกพื้นที่ที่ดำเนินการขององค์กร จึงประกาศคำแสดงเจตจำนงด้านการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ (Biodiversity and Forested Resource Conservation Commitments) เพื่อเป็นหลักการในการดำเนินงานขั้นพื้นฐานสำหรับโรงไฟฟ้าที่เดินเครื่องเชิงพาณิชย์แล้ว และโครงการใหม่ รวมถึงคู่ค้าที่ทำธุรกิจร่วมกับ เอ็กโก กรุ๊ป ในห่วงโซ่อุปทานให้มีแนวทางการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพที่สอดคล้องกันทั่วทั้งองค์กร และเป็นไปตามเจตนารมณ์ความมุ่งมั่นที่ได้ประกาศไว้ในนโยบายด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นการลดผลกระทบเชิงลบจากกระบวนการดำเนินงานและเพิ่มผลกระทบเชิงบวกต่อระบบนิเวศโดยรวมในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าในกลุ่มเอ็กโก รวมทั้ง ส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าต้นน้ำที่สำคัญของประเทศ ผ่านการดำเนินงานของมูลนิธิไทยรักษ์ป่า องค์กรสาธารณกุศล ที่เอ็กโก กรุ๊ปก่อตั้งและสนับสนุนการดำเนินงานต่อเนื่องมากว่า 22 ปี"
นางสุศมา ปิตากุลดิลก ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานความยั่งยืนและบริหารผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "ด้วยพื้นที่ปฏิบัติการส่วนใหญ่ของบริษัทฯ อยู่บริเวณนอกชายฝั่งทะเล ปตท.สผ. จึงตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาสมดุลทางทะเลเสมือนเป็นบ้านหลังที่สอง โดยมุ่งมั่นในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติรวมถึงระบบนิเวศทางทะเล โดยอาศัยจุดแข็งของ ปตท.สผ. ด้านพื้นที่ปฏิบัติการ ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ผนวกกับความร่วมมือจากเครือข่ายพันธมิตรที่แข็งแกร่ง ตลอดจนชุมชนซึ่งเป็นเหมือนเพื่อนบ้านของเรา เพื่อผลักดันให้เกิดการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศทางทะเลอย่างเป็นระบบและยั่งยืน ผ่านการดำเนินงานภายใต้กลยุทธ์ "ทะเลเพื่อชีวิต" (Ocean for Life) ผ่านการดำเนินงานอย่างมีความรับผิดชอบ การตรวจติดตามสุขภาพและความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล รวมไปถึงการส่งมอบคุณค่าร่วมให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรอบชายฝั่ง เพื่อเพิ่มพูนทรัพยากรทางทะเล รวมถึงพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนที่อาศัยและพึ่งพาทรัพยากรจากทะเล โดยคำนึงถึงความต้องการของชุมชนเป็นส่วนสำคัญ เพื่อให้เกิดการพึ่งพาตนเองของชุมชนได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังยกระดับการนำข้อมูลทางทะเลจากโครงการของ ปตท.สผ. เปิดเผยสู่สาธารณะเพื่อใช้ประโยชน์ในวงกว้างต่อไป"
นายสมิชฌน์ เพ็ชร์ดี ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมความยั่งยืน บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า"บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมขับเคลื่อนแนวปฏิบัติที่ดีของภาคธุรกิจสู่เครือข่ายความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ในฐานะองค์กรผู้ผลิตอาหารระดับโลกที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติ โดยเฉพาะประเด็นเรื่อง "ความหลากหลายทางชีวภาพ" ซึ่งถือเป็นรากฐานของระบบอาหารและการเกษตร เป็นเสาหลักความมั่นคงด้านวัตถุดิบ คุณภาพผลิตภัณฑ์ และเสถียรภาพของห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจในระยะยาว เรามุ่งส่งเสริมการสร้างวัฏจักรอาหารที่ยั่งยืน ด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า พร้อมดูแลและฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทุกขั้นตอนการดำเนินธุรกิจ เพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมาย Net Zero ในปี 2050 ภายใต้กรอบนโยบายและแนวทาง "การสร้างคุณค่าร่วมกับสังคมอย่างยั่งยืน" (Ajinomoto Group Creating Shared Value - ASV)" โดยเน้นการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานที่ใส่ใจระบบนิเวศ การจัดหาวัตถุดิบอย่างรับผิดชอบ และพร้อมส่งเสริมศักยภาพเกษตรกรไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกัน เราเชื่อมั่นว่าความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจ คือกุญแจสำคัญสู่การสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็ง และเป็นพลังขับเคลื่อนในการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยสู่เศรษฐกิจชีวภาพที่สมดุลกับธรรมชาติอย่างแท้จริง"
ท้ายนี้ องค์กรภาคธุรกิจไทยควรที่จะต้องเริ่มนำแนวคิดเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพเข้าไปผนวกอยู่ในแผนการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรมอันเป็นกุญแจสำคัญสู่ระบบนิเวศที่ยั่งยืน
