อย่างไรก็ตาม ในเดือนพฤษภาคม ยังคงมีปัจจัยบวกจากธนาคารพาณิชย์มีการทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ทำให้ช่วยบรรเทาภาระทางการเงินของภาคธุรกิจและครัวเรือน รวมถึงต้นทุนค่าพลังงานยังคงทรงตัวจากมาตรการตรึงราคาของภาครัฐ เช่น ค่าไฟฟ้า 3.98 บาท/หน่วย (งวดเดือน พฤษภาคม-สิงหาคม 2568) และน้ำมันดีเซล 31.94 บาท/ลิตร
จากการสำรวจผู้ประกอบการ 1,351 ราย ครอบคลุม 47 กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในเดือนพฤษภาคม 2568 พบว่าปัจจัยที่ผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้น ได้แก่ เศรษฐกิจในประเทศ 64.2% เศรษฐกิจโลก 61.2% สถานการณ์การเมืองในประเทศ 50.3% ราคาน้ำมัน 26.5% และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 17.6% ส่วนปัจจัยที่มีความกังวลลดลง ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยน (มุมมองผู้ส่งออก) 32.8%
ขณะที่ดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ปรับตัวลดลงเช่นกัน อยู่ที่ระดับ 91.7 ลดลงจาก 93.3 ในเดือนเมษายน 2568 เนื่องจากผู้ประกอบยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับ Reciprocal Tariff จากความไม่แน่นอนการเจรจาทางภาษีกับสหรัฐอเมริกา อาจกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนของภาคเอกชน และความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยในระยะยาว แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก จากความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าโลกและความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยืดเยื้ออย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยสนับสนุนที่คาดว่าจะมาจากมาตรการลงทุนภาครัฐ 1.57 แสนล้านบาทครอบคลุมโครงสร้างพื้นฐาน คมนาคม และท่องเที่ยว คาดว่าจะหนุนจ้างงาน สร้างรายได้ และเสริมศักยภาพการเติบโตเศรษฐกิจในระยะยาว