ระบบดังกล่าวเป็นการนำเทคโนโลยี มาช่วยบริหารจัดการการตรวจสอบย้อนกลับทุเรียนนนท์ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวนกว่า 2,000 ลูก ซึ่งเมื่อสแกนแล้ว ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลแหล่งที่มา เช่น ชื่อสวนเกษตรกร วันที่เก็บเกี่ยว พันธุ์ทุเรียน กระบวนการผลิต ตลอดจนมาตรฐานการรับรอง ภาพสวน 360 องศา เป็นต้นโดยในปี 2569 กรมฯ มีแผนจะนำระบบ GI SMARTTRACE ขยายไปสู่สินค้าทุเรียน GI ในภูมิภาคอื่นๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและความเชื่อมั่นให้กับสินค้าทุเรียน GI ต่อไปนางสาวนุสรา กาญจนกูล อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า "กิจกรรมดังกล่าวกรมฯ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทุกภาคส่วนในจังหวัดนนทบุรี ทั้งเกษตรกรสวนทุเรียนนนท์ สำนักงานพาณิชย์จังหวัด และสำนักงานเกษตรจังหวัดนนทบุรี ทำให้โครงการ GI SMARTTRACE ประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรม ความสำเร็จครั้งนี้ไม่เพียงช่วยยกระดับคุณภาพสินค้า หากแต่ยังเป็นต้นแบบในการพัฒนาสินค้า GI ให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างระบบรักษาคุณภาพมาตรฐาน และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเกษตรกร GI มีระบบควบคุมคุณภาพที่เข้มแข็ง ยั่งยืน และสร้างความเชื่อมั่นกับสินค้า GI ได้ เพื่อผลักดันเศรษฐกิจฐานรากและส่งเสริมการค้าเกษตรไทยในระดับสากล
