ปลัดเกษตรฯ เผยคณะอนุกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านสับปะรด พ.ศ. 2563 - 2565 เห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการด้านสับปะรด เน้น 3 มาตรการ

พุธ ๒๗ มกราคม ๒๐๒๑ ๑๕:๑๔
ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านสับปะรด พ.ศ. 2563 - 2565 ครั้งที่ 1/2564 ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า ตามที่คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2563 ให้มีการปรับปรุงยุทธศาสตร์สับปะรดปี 2560 - 2569 เป็นแผนปฏิบัติการด้านสับปะรด พ.ศ. 2563 - 2565 เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านสับปะรด พ.ศ. 2563 - 2565

"โดยที่ประชุมได้เห็นชอบหลักการใน (ร่าง) แผนปฏิบัติการ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพและบริหารจัดการผลิต 2) ด้านการเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมแปรรูป และ 3) ด้านการเพิ่มศักยภาพการตลาดและการส่งออก มีสาระสำคัญ

วิสัยทัศน์ ผลิตสับปะรดคุณภาพ สร้างความยั่งยืนอุตสาหกรรมสับปะรดไทย

พันธกิจ 3 ด้าน ได้แก่ เพิ่มประสิทธิภาพและบริหารจัดการผลิต 1) ส่งเสริมการปลูกสับปะรดในพื้นที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุนการผลิต และผลผลิตมีคุณภาพและได้มาตรฐาน 2) สร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร 3) ส่งเสริมการวิจัย พัฒนาและการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ ด้านการเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมแปรรูป 1) ส่งเสริมการวิจัย การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสับปะรด 2) เพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Productivity) 3) ส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มสิ่งเหลือใช้จากกระบวนการผลิต ด้านการเพิ่มศักยภาพ การตลาดและการส่งออก 1) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์สับปะรด 2) ส่งเสริมการบริโภคเมนูอาหารจากสับปะรดตลาดในประเทศและต่างประเทศผ่านสื่อต่าง ๆ และ 3) ส่งเสริมการสร้างตราสินค้าสับปะรดไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ

ทั้งนี้ ประเด็นทั้ง 3 ด้าน จะมีมาตรการและแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน เพื่อให้เห็นผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรม โดยที่ประชุมได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปรับปรุง (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านสับปะรด พ.ศ. 2564 - 2565 รวมทั้งเพิ่มเติมแผนงาน/โครงการ/งบประมาณที่จะดำเนินการเกี่ยวกับสับปะรดในปี 2564 -2565 ให้สมบูรณ์ นอกจากนี้ให้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ปัญหาด้านแรงงานภาคอุตสาหกรรม ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ในจังหวัดแหล่งผลิตที่มีโรงงานตั้งอยู่อย่างเร่งด่วน เช่น อำนวยความสะดวกให้นำแรงงานต่างด้าว แรงงานไทย และแรงงาน จากพื้นที่สูงที่ยังว่างงาน นักโทษ ทำงานในส่วนที่สามารถทำได้ เป็นต้น" ปลัดเกษตรฯ กล่าว.

ที่มา: สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ