กระทรวงการคลังมีแหล่งเงินและเครื่องมือการกู้เงินเพียงพอในการเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ

จันทร์ ๑๐ พฤษภาคม ๒๐๒๑ ๑๔:๑๐
ตามที่เวปไซต์มติชนออนไลน์ (https://www.matichon.co.th/politics/news_2712734) ได้เผยแพร่ประเด็นคำถามของนายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับแหล่งเงินกู้เพิ่มเติมเพื่อใช้ในการเยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจ นั้น

นางจินดารัตน์ วิริยะทวีกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ในฐานะโฆษกสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอเรียนดังนี้

พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (พ.ร.ก. COVID-19) กำหนดให้กระทรวงการคลังโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีมีอำนาจกู้เงินบาทหรือเงินตราต่างประเทศ โดยจะต้องลงนามในสัญญากู้เงินหรือออกตราสารหนี้ไม่เกินวันที่ 30 กันยายน 2564 ในวงเงินไม่เกิน 1,000,000 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายด้านการแพทย์และสาธารณสุข การช่วยเหลือเยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม โดย ณ วันที่ 6 พฤษภาคม 2564 กระทรวงการคลังโดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะได้ดำเนินการจัดหาเงินกู้ภายใต้กรอบวงเงินโครงการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้วจำนวน 703,841 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 92 ของกรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะวางแผนและดำเนินการกู้เงินภายใต้ พ.ร.ก. COVID-19 อย่างรอบคอบ โดยใช้กลยุทธ์การระดมทุนที่เป็นการกู้เงินในประเทศเป็นหลัก เพื่อให้ได้วงเงินกู้ที่ครบถ้วนภายใต้ต้นทุนที่เหมาะสม และความเสี่ยงที่ยอมรับได้ รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดการแย่งสภาพคล่องจากภาคเอกชน และส่งเสริมการพัฒนาตลาดราสารหนี้ในประเทศ โดยใช้เครื่องมือทางการเงินที่ผสมผสานทั้งระยะสั้นและระยะยาว อาทิ ตั๋วเงินคลัง (Treasury Bill) ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note) สัญญากู้ยืมเงิน (Term Loan) พันธบัตรรัฐบาล (Loan Bond) และพันธบัตรออมทรัพย์ (Savings Bond) อีกทั้ง ได้คำนึงถึงแนวทางการปรับโครงสร้างหนี้จากระยะสั้นเป็นระยะปานกลางและระยะยาว โดยใช้พันธบัตรรัฐบาล และพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ความต้องการของนักลงทุน และสภาวะตลาดการเงินในประเทศ

อย่างไรก็ดี หากในอนาคตรัฐบาลมีความจำเป็นต้องกู้เงินเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะจะวางแผนการกู้เงินอย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงต้นทุน สภาวะตลาดการเงิน และจะพัฒนานวัตกรรมทางการเงินให้สอดคล้องกับความต้องการของนักลงทุนและตลาดการเงิน โดยจะมุ่งเน้นตราสารทางการเงินที่ส่งเสริมการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นทางเลือกในการระดมทุนสำหรับโครงการที่สนับสนุนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะขอให้ทุกท่านเชื่อมั่นว่าการบริหารหนี้สาธารณะได้มีการดำเนินการ อย่างรอบคอบ ครบถ้วน และถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องทุกประการ

ที่มา: กระทรวงการคลัง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๕๒ ดิเอมเมอรัลด์ช่วยสนับสนุนงานกาชาด
๑๔:๓๑ เอพี ไทยแลนด์ รับ 3 รางวัลจาก Meta ตอกย้ำจุดยืน แบรนด์อสังหาฯ ที่ขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์และดาต้า
๑๔:๓๕ มาคาเลียส แหล่งรวม อี-วอเชอร์ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว อันดับ 1 ของประเทศไทย เผย 10 เทรนด์ท่องเที่ยวไทยปี
๑๔:๓๙ MOSHI ผู้นำธุรกิจค้าปลีกไลฟ์สไตล์รายใหญ่ของไทย ทุบสถิติไตรมาส 4 โชว์ SSSG พุ่งทะยานกว่า 20% รับความสำเร็จกลยุทธ์ Collaboration Project ตลอดปี 2567 มั่นใจกวาดรายได้ทะลุเป้าโต
๑๔:๒๑ Zentry เตรียมเปิดตัว Ragnarok Landverse บน Ronin เกม MMORPG ระดับตำนานที่มีผู้เล่นกว่า 100 ล้านคน เตรียมเปิดตัวในไตรมาสแรกของปี
๑๔:๔๕ การประชุมข้าวยั่งยืนระดับโลกเรียกร้องสู่การเปลี่ยนแปลงวงการข้าว เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๑๔:๓๔ LPN คาดอสังหาฯ EEC ส่งสัญญาณบวกรับดีมานด์นักลงทุนจีนขยายฐานการผลิตชลบุรี-ระยอง ดัน EARN Condo by LPN รับอานิสงส์ปล่อยเช่า Yield ดีสูงสุด
๑๔:๕๐ โอเพ่นสเปซ กองทุนชั้นนำระดับภูมิภาค พร้อมผลักดันสตาร์ทอัพไทย เดินหน้าเพิ่มการลงทุนร่วมเสริมแกร่งอนาคตเทคโนโลยีไทย
๑๔:๓๘ เอเชี่ยน เคมิคัล ฝึกซ้อมแผนภาวะฉุกเฉินสารคลอรีนรั่วไหล ประจำปี 2567
๑๓:๒๗ กสิกรไทยสำรองเงินสด 35,900 ล้านบาท รับเทศกาลปีใหม่