ยูนิเวอร์ซัล โรบอทระบุระบบอัตโนมัติแบบมีส่วนร่วมช่วยป้องกันการสูญงาน ของภาคการผลิตของไทยที่ชะลอตัว

ศุกร์ ๒๗ สิงหาคม ๒๐๒๑ ๑๖:๐๔
ยูนิเวอร์ซัล โรบอท หรือ ยูอาร์ ผู้นำเทคโนโลยีหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานหรือโคบอทระดับโลกจากประเทศเดนมาร์ก กระตุ้นให้ผู้นำอุตสาหกรรมของประเทศไทยเร่งการนำระบบอัตโนมัติและโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมใหม่มาใช้เพื่อปรับให้เข้ากับสภาวะผันผวนที่ผู้ผลิตในท้องถิ่นดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน

เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ภาคการผลิตในประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากการปิดโรงงานและข้อจำกัดที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ซึ่งทำให้งานตกอยู่ในความเสี่ยง ระบบอัตโนมัติของหุ่นยนต์โคบอทช่วยชะลอการลดลงของงานการผลิต เนื่องจากผู้ผลิตลงทุนในโซลูชั่นที่เป็นนวัตกรรมใหม่ที่เพิ่มผลผลิตของแรงงานทุกหน่วย ควบคู่ไปกับการปรับปรุงสภาพการทำงานสำหรับแรงงานคน จาการที่เศรษฐกิจชะลอตัวอันเนื่องมาจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้อัตราการว่างงานของประเทศไทยเพิ่มขึ้น 1.9% ในเดือนสิงหาคมของปี 2563 และเพิ่มขึ้น 1% จากเดือนสิงหาคม ปี 2562[1]

สหพันธหุ่นยนต์นานาชาติ หรือไอเอฟอาร์ (IFR) ได้รายงานว่า หุ่นยนต์อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเอเชียเป็นหนึ่งในตลาดที่แข็งแกร่งที่สุดสำหรับหุ่นยนต์อุตสาหกรรม สำหรับประเทศไทยได้สร้างรากฐานที่แข็งแกร่งในด้านระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีหุ่นยนต์ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยไอเอฟอาร์ ยังได้รายงานว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 15 ตลาดที่ใหญ่ที่สุดในการติดตั้งหุ่นยนต์อุตสาหกรรม.[2] ด้วยการสนับสนุนของรัฐบาลไทย ทำให้มีการติดตั้งระบบอัตโนมัติอย่างต่อเนื่องในอุตสาหกรรมการผลิต

"การเดินไปสู่ระบบอัตโนมัติยังไม่สิ้นสุด เราเข้าสู่ช่วงที่ระบบอัตโนมัติปกป้องคนงานที่มีทักษะจากการจ้างงานภายนอก โดยได้เพิ่มมูลค่าของเวลาและความพยายามของพวกเขา อุตสาหกรรมในปัจจุบัน การปรับปรุงมูลค่าของทุนมนุษย์ที่ไม่เคยมีความสำคัญมาก่อน ตอนนี้เรามุ่งเน้นทั้งสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมและไม่มีการควบคุมซึ่งมีการใช้อุปกรณ์อัตโนมัติเพื่อปรับปรุงความปลอดภัยและประสิทธิภาพการทำงาน ระบบอัตโนมัติช่วยให้ผู้ผลิตมีวิวัฒนาการด้วยโซลูชันที่เป็นนวัตกรรม เช่น โคบอทที่ปลอดภัยและยืดหยุ่นเพียงพอที่จะทำงานที่ซับซ้อนควบคู่ไปกับมนุษย์ได้" นายเจมส์ แมคคิว ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท ยูนิเวอร์ซัล โรบอท กล่าว

ตัวอย่าง เช่น บริษัท เบนซ์มาร์ค อิเล็กทรอนิกส์ (Benchmark Electronics) ผู้ให้บริการโซลูชั่นด้านการผลิตและเทคโนโลยีของประเทศไทย มุ่งมั่นที่จะให้บริการด้านการผลิตระดับโลกท่ามกลางตลาดที่มีการแข่งขันสูงขึ้น ได้ติดตั้งหุ่นยนต์โคบอท รุ่น UR5 จำนวน 4 ตัวและ UR10e จำนวน 2 ตัวสำหรับงานประกอบและทดสอบในโรงงานผลิตเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพผลผลิต หุ่นยนต์โคบอทมีความยืดหยุ่นสูงช่วยให้บริษัทสามารถบรรลุประสิทธิภาพการดำเนินงานได้ถึง 25 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ช่วยประหยัดพื้นที่การผลิตได้ 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งนำไปสู่โอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ การนำโคบอทของยูอาร์ ได้ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของบุคลากร โดยช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานที่มีทักษะสูงขึ้นซึ่งจำเป็นสำหรับกระบวนการประกอบที่ซับซ้อนมากขึ้น

จากข้อมูลขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ พบว่า ในเอเชียมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1.1 ล้านคนต่อปี สาเหตุจากอุบัติเหตุในที่ทำงานหรือโรคภัยไข้เจ็บ[3] ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการทำงาน 124 รายในภาคการผลิตในปี 2563 ซึ่งภาคการผลิตเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่อันตรายที่สุดเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น[4]

ทุกวันนี้ มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่จะถ่ายโอนกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูงไปยังหุ่นยนต์ หุ่นยนต์ช่วยให้บริษัทก่อสร้างย้ายคนงานออกจากงานที่มีความเสี่ยงสูงและไปยังงานที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น

ความปลอดภัยเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญสำหรับบริษัท PT JVC Electronics Indonesia (JEIN) ผู้ผลิตในประเทศอินโดนีเซีย โดย JEIN ได้ปรับใช้โคบอท ยูอาร์ทรี (UR3) จำนวนเจ็ดตัว เพื่อให้พนักงานสามารถทำงานในบริเวณใกล้เคียงโดยไม่ต้องใช้รั้วป้องกัน (เมื่อประเมินความเสี่ยง) โคบอทของยูอาร์ ช่วยพนักงานที่เป็นมนุษย์จากงานที่มีความเสี่ยงสูง เช่น การบัดกรีและการแยกชิ้นส่วนแผ่นวงจรพิมพ์ ซึ่งปล่อยควันอันตรายและมีอนุภาคฝุ่น

ในอดีต นักเทคโนโลยี เคยกล่าวว่า โลกทุกวันนี้จะเป็นระบบอัตโนมัติเป็นส่วนใหญ่ มนุษย์ใช้แรงงานน้อยที่สุด และมีบทบาทสำคัญในการออกแบบและผลิตผลิตภัณฑ์

"เครื่องจักรที่ล้ำสมัยเหล่านี้ได้ออกแบบมาเพื่อทำงานร่วมกับมนุษย์ ช่วยลดการบาดเจ็บในสถานที่ทำงาน และปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน โคบอทช่วยให้ผู้ผลิตในประเทศไทยใช้แรงงานมนุษย์และหุ่นยนต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จะเห็นได้ว่า หุ่นยนต์แบบเดิมให้ทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ความยืดหยุ่น และความรู้ในโลกแห่งความเป็นจริง ในขณะที่หุ่นยนต์โคบอทให้ความสามารถในการทำซ้ำ ความแม่นยำ และความพร้อมตลอด 24 ชั่วโมงต่อ 7 วัน" นายแมคคิว กล่าวสรุป

เกี่ยวกับบริษัท ยูนิเวอร์ซัล โรบอท

ยูนิเวอร์ซัล โรบอท หรือยูอาร์ (Universal Robots: UR) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2548 เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีหุ่นยนต์ได้ง่ายยิ่งขึ้น ด้วยการพัฒนาหุ่นยนต์ขนาดเล็กหรือที่เรียกว่า "โคบอท" (Cobots) ที่ใช้งานง่าย ราคาสมเหตุสมผล มีความยืดหยุ่น และสามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ได้อย่างปลอดภัย นับตั้งแต่เปิดตัวโคบอทครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2551 บริษัทฯ ได้เดินหน้าพัฒนาหุ่นยนต์ที่เป็นมิตรกับผู้ใช้และจัดจำหน่ายไปแล้วทั่วโลก ทั้งนี้ บริษัทฯ เป็นธุรกิจในเครือของบริษัท เทราไดน์ อิงค์ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในเมืองโอเดนเซ ประเทศเดนมาร์ก และมีสำนักงานภูมิภาคในสหรัฐอเมริกา เยอรมนี ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี สหราชอาณาจักร สาธารณรัฐเช็ก โปแลนด์ ฮังการี โรมาเนีย รัสเซีย ตุรกี จีน อินเดีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และเม็กซิโก โดยในปีพ.ศ. 2563 บริษัท ยูนิเวอร์ซัล โรบอท มีรายได้ 219 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูที่เว็บไซต์ www.universal-robots.com

ที่มา: มายด์ พีอาร์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ