ผลวิจัยเผย ผ้าไนลอนฝังสังกะสีมีประสิทธิภาพยับยั้งไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคโควิด-19 และไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A

อังคาร ๒๑ กันยายน ๒๐๒๑ ๐๘:๔๐
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ACS Applied Materials Interfaces ให้รายละเอียดเกี่ยวกับประสิทธิภาพ พร้อมทั้งอธิบายเกณฑ์การทดสอบในอนาคต

ทีมนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรนานาชาติจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์, Icahn School of Medicine at Mount Sinai, ResInnova Labs และบริษัท Ascend Performance Materials พบว่า ผ้าไนลอนที่ฝังด้วยไอออนสังกะสีสามารถยับยั้งการทำงานของเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคโควิด-19 และไข้หวัดใหญ่ทั่วไป ได้ถึง 99%

ปัจจุบันมีการใช้หน้ากากอนามัย ชุดป้องกัน และแผ่นกรอง เพื่อชะลอการแพร่กระจายของไวรัส แต่หน้ากากคุณภาพต่ำสามารถกักเก็บเชื้อไวรัสที่ยังมีชีวิตจากผู้สวมใส่ที่ติดเชื้อ ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อได้

Vikram Gopal, Ph.D. ผู้เขียนงานวิจัยร่วมอาวุโส และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของ Ascend Performance Materials กล่าวว่า "ความท้าทายที่สำคัญคือการดูดซึมและการยับยั้งการทำงานของเชื้อไวรัส" โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เช่น โควิด-19 และไข้หวัดใหญ่ ติดต่อผ่านหยดละอองและละอองลอย โพลีโพรพิลีน (Polypropylene) ซึ่งเป็นวัสดุในหน้ากากแบบใช้แล้วทิ้งที่ใช้กันทั่วไป เป็นพลาสติกที่ไม่ชอบน้ำ (Hydrophobic) และไม่ดูดซับความชื้น ไวรัสจึงสามารถเกาะติดอยู่บนพื้นผิวของหน้ากาก และทำให้เสี่ยงแพร่เชื้อเมื่อจับหน้ากาก"

Dr. Gopal กล่าวว่า ผ้าฝ้ายเองก็มีปัญหา เพราะถึงแม้ "ฝ้ายดูดซับความชื้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ไม่ยับยั้งการทำงานของไวรัส ทำให้เกิดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อเช่นกัน"

ใน บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ACS Applied Materials Interfaces นักวิจัยอธิบายว่าผ้าที่ทำจากไนลอน 6,6 ที่ฝังด้วยไอออนสังกะสี สามารถดูดซับละอองความชื้นที่มีไวรัสปะปนอยู่ และยับยั้งอนุภาคไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผ้าสามารถลดอนุภาคของไวรัสได้ถึง 99% ในหนึ่งชั่วโมง

นอกจากนี้ ทีมวิจัยแสดงให้เห็นด้วยว่า ไนลอนที่ฝังไอออนสังกะสียังคงประสิทธิภาพไว้เมื่อเวลาผ่านไป โดยยังคงคุณสมบัติในการยับยั้งไวรัสหลังจากผ่านการซัก 50 ครั้ง

"การศึกษาแสดงให้เห็นว่า ผ้าไนลอนผสมสังกะสีมีประสิทธิภาพในการดูดซึมและยับยั้งไวรัสได้ดีกว่าผ้าฝ้ายและวัสดุโพลีโพรพิลีนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายอยู่ในปัจจุบัน" Dr. Gopal กล่าว

Dr. Gopal ระบุว่า ผลการวิจัยมีนัยสำคัญสำหรับการพัฒนาชุด PPE ในอนาคต

"ชุดหรืออุปกรณ์ PPE ที่ปลอดเชื้อไม่เพียงช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไวรัส" Gopal กล่าว "แต่หากเราสามารถซักและนำอุปกรณ์ PPE กลับมาใช้ใหม่ได้ ก็จะช่วยลดการใช้ผลิตภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ทำให้หน้ากากหลายร้อยล้านชิ้นไม่ต้องกลายไปเป็นขยะในหลุมฝังกลบ"

ติดต่อ: Nicki Britton, +1 832-205-4854, [email protected]  

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1628763/Acteev_crystalline_structure_with_zinc_ions.jpg
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/1326397/ASCEND_Logo.jpg



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ