โดยการประชุมนี้ จะเป็นเวทีหนึ่งเพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะต่อการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และแนวทางการบริหารจัดการเพื่อเกาะติดโอกาสและผลประโยชน์ต่อชาติ ที่จะเกิดจากการฟื้นฟูสัมพันธภาพอันดีของสองประเทศอย่างมั่นคงและยั่งยืน หลังการเดินทางเยือนซาอุดีอาระเบีย ของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เมื่อเดือนมกราคม ที่ผ่านมา
นายเวทางค์ กล่าวว่า ในส่วนของความร่วมมือระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบีย ที่กระทรวงดิจิทัลฯ อาจมีส่วนร่วม แบ่งเป็น 2 ด้านหลัก ได้แก่ การสนับสนุนและแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยของสังคม ประเทศชาติ ได้แก่ ข้อมูลด้านอาชญากรรมทางไซเบอร์ และการจัดการภัยคุกคาม การเฝ้าระวังเนื้อหาในอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ การจัดการเนื้อหาข่าวปลอม การปิดกั้นเว็บไซต์ไม่เหมาะสมและละเมิดกฎหมาย
รวมทั้ง กฎหมายด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี เช่น พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 พ.ร.บ.การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560 และ พ.ร.ก.ว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 เป็นต้น
และ 2.การฝึกอบรม ครอบคลุมทั้งการจัดอบรม และการจัดส่งบุคลากรเข้าร่วมการอบรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกัน
"ที่ผ่านมา กระทรวงฯ โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้มีส่วนช่วยเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้อง กรณีมีผู้นำคลิปวิดีโอนักท่องเที่ยวชาวซาอุดีอาระเบีย ที่เดินทางมาเยือนประเทศไทยเพิ่มขึ้น จากการส่งเสริมการท่องเที่ยวและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical Tourism) โดยมีการนำไปบิดเบือนเนื้อหาและเผยแพร่ข่าวปลอมเชิงลบผ่านโซเชียล" นายเวทางค์กล่าว
นอกจากนี้ กระทรวงดิจิทัลฯ ยังมองถึงโอกาสขยายความร่วมมืออื่นๆ ในด้านเทคโนโลยีกับซาอุดีอาระเบีย ซึ่งจากการเดินทางไปเยือนของนายกรัฐมนตรี ได้เปิดประตูแห่งโอกาสด้านการค้าและการลงทุนไว้ โดยปัจจุบันซาอุดีอาระเบีย มีนโยบายส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศ ที่ครอบคลุมถึงด้านนวัตกรรม โทรคมนาคม
ที่มา: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม