นางเธียรรัตน์ กล่าวต่อว่า สาระสำคัญของ พ.ร.บ.ฉบับนี้จะทำให้แรงงานนอกระบบกว่า 19.6 ล้านคน สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการประกอบอาชีพ มีความปลอดภัยในการทำงาน มีหลักประกันทางสังคม มีการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นองค์กร ได้รับการส่งเสริมคุ้มครองและพัฒนาสู่คุณภาพชีวิตที่ดี มีสัญญาการทำงานที่เป็นธรรม เช่น ไม่กำหนดเงื่อนไขทำให้ต้องเร่งรีบทำงานอย่างมีความเสี่ยง หรือต้องทำงานหนักเกินปกติจนเสียสุขภาพ ผลตอบแทนที่เป็นธรรม การจ่ายค่าตอบแทนตามอัตราและระยะเวลาที่กำหนดสวัสดิการและหลักประกันขั้นพื้นฐาน การจัดตั้งกองทุนเพื่อแรงงานนอกระบบ ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินผู้ได้อย่างเหมาะสม สิทธิในการอุทธรณ์ การสอบสวน การพักงาน รวมทั้งสิทธิในการรวมกลุ่มเจรจาต่อรองของผู้ใช้แรงงานแพลตฟอร์ม โดยต้องขึ้นทะเบียนและแจ้งข้อบังคับต่อหน่วยงานรับผิดชอบ ทั้งนี้ ที่น้องแรงงานนอกระบบสามารถเข้าถึงความคุ้มครองและสิทธิประกันสังคมเพื่อดูแลในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีชราภาพและกรณีสงเคราะห์บุตร ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับทางเลือกที่พี่น้องแรงงานเลือกเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40
"การขยายขอบเขตวัตถุประสงค์ให้ครอบคลุมแรงงานนอกระบบทุกกลุ่มอาชีพ จะช่วยให้แรงงานนอกระบบที่มีอุปสรรคในการเข้าถึงแหล่งทุนของภาคเอกชน มีทุนกู้ยืมสำหรับประกอบอาชีพ โดยการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการจ่ายค่าสมาชิก เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มแรงงานนอกระบบด้วยกันเอง รวมทั้งมีงบประมาณในการดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบในการประกอบอาชีพการพัฒนาทักษะฝีมือ การคุ้มครองสภาพการทำงานที่เหมาะสม และการสร้างหลักประกันทางสังคมที่มั่นคงอีกด้วยขอยืนยันว่ารัฐบาลไม่เคยลืมแรงงานนอกระบบ และพยายามทุกวิถีทางที่จะให้แรงเหล่านี้มีคุณภาพชีวิตที่ดี" นางเธียรรัตน์ กล่าวท้ายสุด
ที่มา: กระทรวงแรงงาน