ดิจิไทมส์เอเชีย: แคนาดาสร้างรถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบ โชว์ศักยภาพอุตสาหกรรมยานยนต์

พฤหัส ๑๕ กันยายน ๒๐๒๒ ๑๐:๐๐
เมื่อภาคยานยนต์นำเทคโนโลยีไฟฟ้ามาใช้อย่างต่อเนื่อง สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของแคนาดา (Automotive Parts Manufacturers' Association หรือ APMA) จึงทุ่มเทให้กับโครงการแอร์โรว์ (Project Arrow) เพื่อสร้างรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ตั้งแต่ต้นจนเสร็จสมบูรณ์ โครงการความร่วมมือนี้จะสำเร็จลุล่วงเมื่อได้เปิดตัวรถต้นแบบในปลายปีนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถของบริษัทในประเทศ
ดิจิไทมส์เอเชีย: แคนาดาสร้างรถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบ โชว์ศักยภาพอุตสาหกรรมยานยนต์

คุณวอร์เรน อาลี (Warren Ali) รองประธานอาวุโสฝ่ายนวัตกรรมของ APMA กล่าวว่า โครงการนี้สร้างแพลตฟอร์มที่เป็นกลางและเปิดกว้างสำหรับส่วนประกอบและเทคโนโลยียานยนต์ของประเทศ โดย APMA ได้เปิดตัวโครงการแอร์โรว์ ที่งานจัดแสดงผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีและอิเล็กทรอนิกส์ (Consumer Electronics Show หรือ CES) เมื่อปี 2563

คุณอาลีจะเป็นวิทยากรหลักของงานปลดล็อคโอกาสทางนวัตกรรมยานยนต์ระดับโลก (Unlocking Global EnnoVation Opportunities) ซึ่งเป็นการสัมมนาผ่านเว็บเกี่ยวกับเรื่องรถยนต์ไฟฟ้า จัดโดยดิจิไทมส์เอเชีย (DIGITIMES Asia) ในวันที่ 22 กันยายน 2565

เตรียมเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบก่อนปี 2566
โครงการแอร์โรว์เริ่มต้นด้วยการแข่งขันการออกแบบที่ผู้ชนะเป็นทีมนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยคาร์ลตัน (Carleton) ในกรุงออตตาวา โดยได้รับความสนใจจากบริษัทเทคโนโลยียานยนต์และซอฟต์แวร์ถึง 500 แห่ง

คุณอาลีกล่าวว่าขณะที่โครงการนี้เข้าสู่ขั้นตอนทางวิศวกรรม บริษัทราว 50 แห่ง ไม่ว่าบริษัทที่เน้นส่วนประกอบ การผสานรวมซอฟต์แวร์ และการประกอบยานพาหนะในขั้นสุดท้าย ได้รับเลือกให้ทำงานเกี่ยวกับรถยนต์ต้นแบบนี้ ซึ่งส่วนใหญ่ "เกิดและโต" ในแคนาดา

ผู้พัฒนามีแผนที่จะเปิดตัวรถยนต์นี้ในแคนาดาในเดือนธันวาคม และเปิดตัวสู่สายตาชาวโลกที่งาน CES ประจำปี 2566 โดยคุณอาลีกล่าวว่าจะเปิดตัวรถยนต์รุ่นนี้ในแบบเสมือนจริงด้วย เพื่อจัดแสดงเทคโนโลยีจากบริษัทต่าง ๆ นอกเหนือจากกลุ่มที่ทำงานนี้โดยตรง

คุณอาลีกล่าวเสริมว่า เป้าหมายหลักของโครงการแอร์โรว์อย่างหนึ่งคือการสาธิตส่วนประกอบและเทคโนโลยีของซัพพลายเออร์และผู้ผลิตขนาดเล็กจนถึงขนาดกลางจำนวนมากของแคนาดา โดยแคนาดายังสนับสนุนกลุ่มบริษัทซอฟต์แวร์ที่กำลังเติบโต มุ่งเน้นที่ส่วนต่อประสานระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร ความปลอดภัยทางไซเบอร์ องค์ประกอบโครงสร้างภายในยานพาหนะ และน้ำหนักเบา

คุณอาลีกล่าวว่า เป้าหมายอีกอย่างของโครงการคือการวิเคราะห์ช่องว่างผ่านกระบวนการ โดยสำรวจหาเทคโนโลยี ส่วนประกอบ หรือความเชี่ยวชาญที่แคนาดาต้องขยายและเติบโต เพื่อให้ประสบความสำเร็จทั้งในระยะสั้นและในอนาคต ตัวอย่างเช่น แคนาดาสามารถใช้ทีมงานเพิ่มเติมในการออกแบบยานพาหนะและสร้างต้นแบบ เขาเสริมว่าโครงการนี้ได้คัดเลือกหัวหน้าวิศวกรที่ทำงานให้กับผู้ผลิตรถสปอร์ตของอังกฤษอย่างแอสตันมาร์ติน (Aston Martin) และเข้าร่วมในโปรเจกต์พิเศษต่าง ๆ เช่น วาลคิรี (Valkyrie), ฟอร์มูล่าวัน (Formula One) และยานพาหนะที่ใช้ในภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ (James Bond)

โครงการแอร์โรว์เป็นความพยายามเพื่อทดลองและร่วมมือให้ซัพพลายเออร์มีแพลตฟอร์มที่เป็นกลางมากขึ้น เพื่อแสดงนวัตกรรมของพวกเขาต่อผู้รับจ้างผลิต (OEM) โดยคุณอาลีกล่าวว่าโดยทั่วไปแล้วซัพพลายเออร์มักจะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ตามความต้องการของ OEM ตัวอย่างเช่น OEM เป็นเหมือนมาสเตอร์เชฟที่ออกแบบเมนู (รถยนต์) แล้วจึงไปที่ตลาดเพื่อค้นหาส่วนผสม (ชิ้นส่วน) ที่จำเป็น ทว่าโครงการแอร์โรว์กลับเป็นไปในทางตรงกันข้าม

"เราออกไปและพบเห็นสิ่งที่ดีที่สุดและเลิศที่สุดที่เรามี แล้วเราก็พูดว่า 'เราจะสร้างอะไรได้บ้างโดยใช้สิ่งเหล่านี้'" คุณอาลี กล่าว

โครงการแอร์โรว์สำรวจแนวคิดใหม่ ๆ มากมายเพื่อสร้างรถยนต์ต้นแบบ ตัวอย่างเช่น คุณอาลีกล่าวว่า แผงด้านในของรถจะประกอบด้วยวัสดุผสมที่ใช้ขยะมูลฝอยจากการเกษตร ซึ่งปกติแล้วมักจะถูกนำไปฝังกลบหรือถูกเผา

โครงการร่วมเพื่อโชว์ความยืดหยุ่นในอุตสาหกรรมยานยนต์ของแคนาดา 
APMA และพันธมิตรจากภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษา ได้ดำเนินโครงการในช่วงเวลาที่ข้อตกลงแคนาดา-สหรัฐ-เม็กซิโกมีผลบังคับใช้ในเดือนกรกฎาคม 2563 โดยคุณอาลีเปิดเผยว่า ข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) เปิดโอกาสให้ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ของแคนาดาเติบโต จากเดิมที่สร้างรายได้เข้าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ได้ 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์แคนาดา (2.66 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) เป็นมากกว่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์แคนาดาต่อปี

โครงการร่วมอาจมีประโยชน์เมื่อต้องรับมือกับความท้าทายด้านการผลิต ตัวอย่างเช่น คุณอาลีกล่าวว่าในขณะที่กลุ่มนี้ยังคงต้องหาวิธีแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ แต่ก็พบพันธมิตรที่ผลิตชิปและพัฒนาแพลตฟอร์มที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ซึ่งอาจลดจำนวนชุดควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ (ECU) ภายในรถยนต์ได้

คุณอาลีกล่าวว่า โครงการแอร์โรว์แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งและการยืนหยัดของซัพพลายเชนยานยนต์ของแคนาดา โดยอุตสาหกรรมตอนนี้สามารถขยายได้ตามความต้องการทางด้านปริมาณ คุณภาพ และความปลอดภัยจากระบบการจัดการแบตเตอรี่ ส่วนประกอบ และอื่น ๆ อีกมากมาย

คุณอาลียังกล่าวอีกว่า อุตสาหกรรมนี้ยังได้สร้างความร่วมมือระดับนานาชาติกับผู้ผลิตในยุโรปและเอเชียผ่านโครงการนี้ด้วย

ที่สำคัญกว่านั้น โครงการแอร์โรว์ยังเชื่อมโยงโลกยานยนต์แบบดั้งเดิมเข้ากับเทคโนโลยีแบบเคลื่อนที่และผู้ให้บริการยุคใหม่ คุณอาลีกล่าวว่ามีการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ผลิตแบบดั้งเดิมและบริษัทเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในระบบรถยนต์หลักแต่ละระบบ เช่น แบตเตอรี่และการออกแบบภายในของรถยนต์

คุณอาลีกล่าวสรุปว่า ความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยให้ผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายทนทานยิ่งขึ้น และทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ในแคนาดาประสบความสำเร็จไปอีก 100 ปีข้างหน้า

ขอเชิญเข้าร่วมเว็บบินาร์ในหัวข้อยานยนต์ไฟฟ้าของดิจิไทมส์ เพื่อค้นพบโอกาสในแวดวงนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมในระดับโลก ค้นหาวิธีสร้างระบบนิเวศรถยนต์ไฟฟ้าแบบรอบด้าน และการวางกลยุทธ์น่านน้ำสีฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเว็บบินาร์นี้ได้ที่ https://reurl.cc/m3MR5M

ติดต่อ: [email protected]

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1897387/Warren_Ali___Head_Shot.jpg



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ