เจ้าของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในไทยกว่า 88% ที่ร่วมตอบแบบสอบถามเห็นเช่นเดียวกันว่าปัจจัยสำคัญที่ลูกค้าของพวกเขาคำนึงถึงในการตัดสินใจซื้อสินค้าคือระยะเวลาในการจัดส่งสินค้าที่รวดเร็ว มากกว่าประเด็นทางด้านความยั่งยืน และเช่นเดียวกันที่ SME กว่า 83% คิดว่าการซื้อสินค้าได้ในราคาที่ถูกที่สุดเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้บริโภค แต่ข้อมูลจากการสำรวจพบผลปรากฎที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ผลสำรวจ What's Next in E-Commerce survey ได้จัดทำขึ้นในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยเป็นการสำรวจในกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) รวมถึงผู้บริโภคจาก 11 ประเทศในทวีปเอเชียแปซิฟิก ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (AMEA) มีจุดประสงค์เพื่อสำรวจวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องของอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเหล่านี้ อีกทั้งเพื่อให้เห็นถึงแนวโน้มที่จะช่วยกระตุ้นการเติบโตต่อไปในอนาคต
ผลการวิจัยที่สำคัญ: ผู้บริโภคใส่ใจความยั่งยืนมากกว่าความรวดเร็วในการจัดส่ง
ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซก็เกิดการเติบโตอย่างก้าวกระโดด ในขณะเดียวกันก็พบว่าผู้บริโภคเกิดความใส่ใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น ผู้คนคำนึงถึงอนาคตของโลกใบนี้เป็นสิ่งแรก พวกเขาจึงให้ความสำคัญทั้งทางด้านความยั่งยืนและความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้า โดยไม่ต้องการการต่อรอง จากผลสำรวจพบว่า 70% ของผู้บริโภคที่ร่วมตอบแบบสอบถามทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (AMEA) ให้ความสำคัญกับเรื่องความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้าเท่ากับประเด็นทางด้านความยั่งยืนเมื่อพูดถึงการช้อปปิ้งออนไลน์
ผลสำรวจแสดงให้เห็นว่า สัดส่วนจาก 9 ใน 10 ของผู้บริโภคในประเทศไทย คาดหวังว่าบริษัทอีคอมเมิร์ซที่พวกเขาใช้บริการจะมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืน และผู้บริโภคจาก 8 ใน 10 ต้องการที่จะใช้บริการจากบริษัทที่มีแผนงานตามแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน หรือ "ESG" ซึ่งย่อมาจาก Environnent, Social, และ Gouvernance และดำเนินงานตามแผนจนเกิดผลที่มีประสิทธิภาพ ในขณะที่มี SME เพียง 40% ที่ดำเนินงานตามแผนดังกล่าว อย่างไรก็ตามกว่าครึ่งหนึ่งของ SME ในไทยในปัจจุบันอยู่ในระหว่างการพัฒนานโยบาย ESG ด้วยความคาดหมายในการดำเนินการให้สำเร็จโดยเร็วที่สุด
มุ่งสู่การขนส่งอย่างยั่งยืน
"ความยั่งยืนไม่ได้เป็นเพียงตัวเลือกสำหรับ SME ในการขยายธุรกิจอีคอมเมิร์ซอีกต่อไป เนื่องจากผู้บริโภคมองเห็นประเด็นความยั่งยืนเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นสิ่งไม่อาจต่อรองได้ ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของพวกเขา" กล่าวโดย คาวาล พรีท ประธานภูมิภาค AMEA ของเฟดเอ็กซ์ เอ็กซเพรส และเสริมอีกว่า "SME สามารถสร้างความแตกต่างได้ทันที โดยคำนึงถึงกระบวนการขนส่งที่เชื่อมต่อห่วงโซ่อุปทานในทุกทิศทางสู่ผู้บริโภค โดย FedEx มีมาตรการที่จับต้องได้หลายอย่างเพื่อลดผลกระทบของการขนส่งต่อโลก"
เฟดเอ็กซ์มีการติดตามหลากหลายช่องทางเพื่อให้สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่เกิดขึ้นจากวงจรการขนส่ง และเพื่อบรรลุตามเป้าหมาย carbon net zero operations by 2040 ขั้นตอนดังกล่าวรวมถึงการลงทุนในยานพาหนะระบบไฟฟ้าเพื่อการขนส่ง บรรจุภัณฑ์ที่ส่งเสริมความยั่งยืน และโซลูชั่นส์เพื่อให้บริการแก่ผู้บริโภคในรูปแบบดิจิตอล เช่น FedEx Delivery Manager International ซึ่งช่วยสร้างตัวเลือกให้ผู้บริโภคสามารถเลือกสถานที่และเวลาในการจัดส่งสินค้าได้ตามความต้องการ อีกทั้งยังช่วยย่นระยะทางของการจัดส่งให้สั้นลงได้อีกด้วย
"ผู้บริโภคชาวไทยกำลังมองหาทางเลือกที่ยั่งยืนมากขึ้นในการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์" นายเทียนหลง วูน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เฟดเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส ประเทศไทยกล่าว โดยเสริมอีกว่า "เฟดเอ็กซ์สามารถช่วยธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยสร้างห่วงโซ่อุปทานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการขนส่งได้ โดยเมื่อต้นปีที่ผ่านมาเราได้เปิดตัวรถยนต์ขนส่งไฟฟ้าสำหรับใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก"
สำหรับ SME การดำเนินงานตามแผน ESG เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพเกิดจากการมีผลประโยชน์ร่วมทั้งแบบกลุ่ม และ รายบุคคล มากกว่า 80% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกิดจาก องค์กรที่จำเป็นต้องดำเนินกิจการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าโดยตรง โดยเป็นก๊าซเรือนกระจกที่เล็ดลอดออกมาจากภายในพื้นที่การผลิตของห่วงโซ่อุปทานของพวกเขา ผู้ให้บริการการขนส่งซึ่งเป็นดั่งผู้เชื่อมโยงในห่วงโซ่อุปทานมีบทบาทในการสร้างความมั่นใจว่าบริการของเขามีผลกระทบต่อโลกน้อยที่สุด เพื่อให้เป็นไปตามความคาดหวังของผู้บริโภค
ที่มา: เวเบอร์ แชนด์วิค