ด้าน นายสิทธิชัย วารีชนานนท์ จัดหางานจังหวัดสมุทรปราการ กล่าวว่า การประชุมในวันนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างการรับรู้ให้กับนายจ้าง/สถานประกอบการ ผู้แทนชมรม สมาคมอาชีพ องค์กรเอกชน ผู้นาชุมชนมีความรู้ความเข้าใจระเบียบขั้นตอนการขอรับใบอนุญาตทางาน บทลงโทษตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2561 และระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความร่วมมือและสนับสนุน การดำเนินการเขตปลอดการจ้างแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ประกอบกับเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม เพื่อรองรับการฟื้นฟูประเทศภายหลังการผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลุ่มเป้าหมายได้แก่ คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (Visa) และทำงานได้ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งหากประสงค์จะทำงานในราชอาณาจักรต่อไปถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ให้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงาน เอกสารและหลักฐานต่อนายทะเบียน ก่อนใบอนุญาตทำงานสิ้นอายุไม่เกิน 120 วัน พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียม โดยการยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานดังกล่าวให้ดำเนินการโดยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น
สำหรับสถานการณ์ด้านแรงงานต่างด้าวที่ยื่นขอใบอนุญาตทำงานในจังหวัดสมุทรปราการ ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2565 พบว่า มีคนต่างด้าว จำนวน 256,361 คน นายจ้าง/สถานประกอบการที่จ้างคนต่างด้าว จำนวน 18,200 ราย กลุ่มเป้าหมายที่ต้องดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 179,484 คน
ทั้งนี้ ในส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน โดยกองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ยังได้ร่วมจัดกิจกรรมออกบูธรณรงค์ประชาสัมพันธ์ (Road Show) เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจแก่นายจ้าง สถานประกอบการ ผู้แทนชมรม สมาคมอาชีพ องค์กรเอกชน ผู้นำชุมชน และผู้เข้าร่วมงาน จำนวน 600 คน เพื่อได้ตระหนักและให้ความสำคัญเกี่ยวกับการใช้แรงงานต่างด้าว โดยถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งนี้ การใช้แรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมายจะช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ปัญหาความมั่นคงด้านแรงงาน เศรษฐกิจและสังคมของประเทศการใช้แรงงานต่างด้าวอย่างถูกต้องตามกฎหมาย จะช่วยให้แรงงานต่างด้าวได้รับการคุ้มครองดูแลตามกฎหมาย และช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศในการต่อต้านการบังคับใช้แรงงานในรูปแบบต่างๆ รวมถึงป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานและต่อต้านการใช้แรงงานผิดกฎหมายอีกด้วย
ที่มา: กระทรวงแรงงาน