สัปดาห์นี้ตลาดจะไปจับตาประชุม FED ที่จะทราบผลอย่างเป็นทางการในช่วงเช้าวันพฤหัสบดีตามเวลาประเทศไทย ข้อมูลจาก CME FED WATCH ระบุว่าให้น้ำหนักมากถึง 98.4% ที่ FED จะปรับขึ้นดอกเบี้ยเพียง 0.25% ขณะที่อีก 1.6% ระบุว่าจะคงดอกเบี้ยที่ระดับเดิม หากมีการปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ก็จะทำให้ดอกเบี้ย FED ขึ้นมาทดสอบ 4.75% ซึ่งเป็นระดับดอกเบี้ยที่จะเริ่มสูงกว่าเงินเฟ้อ (PCE) ทั้งนี้หากนำ FED Rate - PCE ย้อนหลัง 53 ปีพบว่าค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 1.5% หรือหมายความว่าโดยสถิติแล้ว FED Rate มักจะสูงกว่า PCE เพียง 1.5% ซึ่งปี 2023 Bloomberg ประเมินว่า PCE สหรัฐฯเฉลี่ยจะอยู่ที่ 3.4%YoY หากนำ 1.5 ที่เป็นค่าเฉลี่ยบวกกลับเข้าไปดอกเบี้ย FED ก็อาจไม่จำเป็นต้องสูงกว่า 5% (โดยสถิติ) สอดคล้องกับที่ CME FED WATCH คาดการณ์ว่าดอกเบี้ย FED จะทำจุดสูงสุดราว 5% ในขณะที่ CPI กับ PCE ค่าเฉลี่ยมักจะห่างกันเพียง 0.6% ดังนั้นก็พอจะประมาณการได้ว่า CPI เฉลี่ยทั้งปี 2023 จะลงมาอยู่แถว 4% +/- ซึ่งค่าเฉลี่ย FED - CPI จะอยู่ราว 0.9% ดังนั้นหาก CPI อยู่ที่ 4% ดอกเบี้ย FED ก็ควรจะไม่เกินไปกว่า 5% อย่างไรก็ตามข้อมูลในอดีตบ่งชี้ชัดว่าหลังจากดอกเบี้ยลงตลาดหุ้นมักจะปรับลง ส่วนสัปดาห์นี้นอกเหนือจะประชุม FED ติดตาม (1) ความเชื่อมั่นผู้บริโภคในสหรัฐฯในวันอังคาร Bloomberg ประเมินไว้ที่ 109 (2) ประชุม OPEC+ ในวันพุธ มีการคาดการณ์กันว่าที่ประชุมจะคงดำนโยบายเช่นเดิมเพราะมองถึงอุปสงค์ที่สูงขึ้นจากจีนเปิดประเทศ ขณะที่ในวันเดียวกันจะมีการรายงาน PMI ของสหรัฐฯ Bloomberg ประเมินไว้ว่าจะลดลงต่อเนื่องทดสอบ 48 จากเดือนก่อนที่ 48.4 (3) ภาคแรงงานสหรัฐฯในวันศุกร์ Bloomberg ประเมินการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ 1.93 แสนตำแหน่งและอัตราการว่างงานที่ 3.6% (4) ผลประกอบการ 4Q22 ของบริษัทฯใน SET Bloomberg ประเมินว่าจะมี DTAC รายงาน โดยประเมิน กรอบ SET สัปดาห์นี้ที่ 1665 - 1700 เชิงกลยุทธ์การลงทุนยังแนะให้ถือครองเงินสดระดับสูงจากความเสี่ยงข้างหน้าของเศรษฐกิจถดถอย ส่วนหุ้นแนะนำเน้น Defensive อาทิ สื่อสาร (ADVANC INTUCH) โรงพยาบาล (BCH BDMS CHG) ค้าปลีก (BJC CPALL HMPRO) ท่องเที่ยว (AOT CENTEL ERW MINT SPA SHR) โรงไฟฟ้า (BGRIM GPSC GULF RATCH) โรงภาพยนตร์ (MAJOR) ธนาคาร (BBL KBANK)
KBANK (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 170.00 บาท) เพิ่มมูลค่าพื้นฐานขึ้นจาก 165 บาท เป็น 170 บาท แม้มีมุมมองเป็นกลางต่อบรรยากาศการประชุมนักวิเคราะห์ แต่เล็งเห็นโอกาสที่ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญจะลดลงหลังการระบายงบดุลสิ้นสุดลงในปี 2023 คาดค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญจะค่อย ๆ ลดลงเป็น 200/180/160bps ในปี 2023-25 ตามลำดับ เราจึงคงมองว่ากำไรสุทธิของ KBANK จะพลิกเป็นบวกระดับ 16% ในปี 2023
CK (ซื้อ / ราคาเป้าหมาย 27.75 บาท) ด้วยงานใหม่ที่คาดว่าจะเข้ามาในช่วงปลายปีอีก 2 งานรวมกันกว่า 200,000 ลบ. ซึ่งจะเริ่มรับรู้รายได้เข้ามาได้ทันที ทำให้เราประเมินรายได้ในปี 23 จะกลับสู่ช่วงขาขึ้นอีกครั้งมาอยู่ที่ 22,142 ลบ. (+24%YoY) และคาดกำไรสุทธิที่ 1,247 ลบ. (+15%YoY)
ที่มา: บางกอก ออทัม