บูสต์เตรียมเปิดตัวบริการธนาคารดิจิทัล ชูจุดเด่นโมเดลธุรกิจที่ทำกำไรได้

อังคาร ๑๕ สิงหาคม ๒๐๒๓ ๐๘:๑๕
ปัจจุบันมีธนาคารดิจิทัลอยู่ราว 250 แห่งทั่วโลก และ 20% ในจำนวนนี้อยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก [1] ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าพอใจ เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าธนาคารดิจิทัลจะเข้ามากำหนดอนาคตของอุตสาหกรรมฟินเทค

มาเลเซียเป็นส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์ระดับโลกนี้เช่นกัน เนื่องจากธนาคารกลางมาเลเซีย (Bank Negara Malaysia: BNM) เพิ่งประกาศออกใบอนุญาตประกอบกิจการธนาคารดิจิทัลให้กับผู้เล่นชั้นนำ 5 รายในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและการเงิน หนึ่งในนั้นคือ กลุ่มความร่วมมือบูสต์-อาร์เอชบี (Boost-RHB Consortium) ซึ่งนำโดย บูสต์ ธุรกิจฟินเทคครบวงจรระดับภูมิภาคของเอเซียต้า (Axiata)

ข้อสังเกตที่สำคัญประการหนึ่งในตลาดดิจิทัลแบงกิ้งของมาเลเซียคือ การมุ่งเน้นไปที่ผู้ให้บริการที่มีโมเดลธุรกิจที่ทำกำไรได้ ดังเห็นได้จากเกณฑ์การประเมินของธนาคารกลางมาเลเซียซึ่งให้ความสำคัญกับคุณลักษณะและคุณธรรมของผู้ยื่นขอใบอนุญาต, ลักษณะและความเพียงพอของทรัพยากรทางการเงิน, ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแผนธุรกิจและเทคโนโลยี ตลอดจนความสามารถในการลดช่องว่างในการเข้าถึงบริการทางการเงินอย่างมีนัยสำคัญ[2]

เรามาวิเคราะห์กันว่า เหตุใดกลุ่มความร่วมมือบูสต์-อาร์เอชบี จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้นำภาคธนาคารดิจิทัลของมาเลเซีย

1. ประวัติผลงานที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว และการมีส่วนร่วมของลูกค้า
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา บูสต์ได้วางรากฐานให้กับอุตสาหกรรมธนาคารดิจิทัล โดยดำเนินการผ่านธุรกิจไมโครไฟแนนซ์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ซึ่งปัจจุบันเปิดให้บริการอย่างทั่วถึงและยั่งยืน นับตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงต้นปี 2566 ธุรกิจไมโครไฟแนนซ์ของบูสต์ทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม โดยจัดสรรเงินกู้ให้แก่ลูกค้าในมาเลเซียและอินโดนีเซียรวมแล้วเป็นมูลค่ากว่า 3 พันล้านริงกิต

2. ระบบนิเวศและโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับการยอมรับ 
ธนาคารดิจิทัลที่ประสบความสำเร็จจะใช้ระบบนิเวศของตนเอง เนื่องจากธนาคารที่นำโมเดลธุรกิจนี้ไปใช้ได้อย่างเหมาะสมจะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการหาลูกค้าต่ำกว่า บูสต์มาพร้อมระบบนิเวศฟินเทคแบบองค์รวมที่ครอบคลุมธุรกิจไมโครไฟแนนซ์ที่ใช้ AI, แอปฟินเทคแบบครบในหนึ่งเดียวที่มีผู้ใช้มากกว่า 10 ล้านคน, แพลตฟอร์มโซลูชันฝั่งผู้ค้าที่มีจุดบริการร้านค้ามากกว่า 600,000 จุด และแพลตฟอร์มการชำระเงินข้ามแดนที่มีพันธมิตรดิจิทัลระดับโลกมากกว่า 100 รายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

3. ระยะเวลาการผ่อนชำระที่สั้นลง และสามารถทำกำไรจากการให้บริการลูกค้าหนึ่งรายหรือการให้บริการหนึ่งครั้ง
แม้ว่าการศึกษาหลายฉบับเมื่อเร็ว ๆ นี้แสดงให้เห็นถึงความผันผวนของภาคธนาคาร เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น[3] แต่คาดว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อธนาคารดิจิทัลที่อยู่ในระยะเริ่มต้น ซึ่งรวมถึงธนาคารดิจิทัลที่กำลังจะเปิดตัวอย่าง บูสต์ ทั้งนี้ ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการให้บริการผลิตภัณฑ์ที่เรียบง่ายและมีระยะเวลาการผ่อนชำระที่สั้นลง จะช่วยให้บูสต์ไม่ได้รับผลกระทบจากการที่สินทรัพย์และหนี้สินในงบดุลไม่สอดคล้องกัน

อนาคตจะเป็นอย่างไร
ทุกสายตาจับจ้องไปที่ภาคส่วนนี้ ในขณะที่การวิจัยบ่งชี้ว่า การใช้บริการธนาคารดิจิทัลกันอย่างแพร่หลายสามารถเพิ่ม GDP ของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ได้ 6% หรือคิดเป็น 3.7 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2568

[1] https://www.bcg.com/publications/2021/digital-banking-asia-pacific

[2] https://www.bnm.gov.my/-/digital-bank-5-licences

[3] https://www.foxbusiness.com/economy/study-finds-186-banks-vulnerable-svb-like-collapse



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO