คุณนพเกล้า กิจปานนท์ ที่ปรึกษาผู้บริหารและโค้ชด้านการทำทรานสฟอร์มเมชั่น บริษัท ดิ แอ๊ดเลอร์ จำกัด เปิดเผยว่า ดิ แอ๊ดเลอร์ (THE ADLER) ก่อตั้งขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนองค์กรและบุคคลากรในการทำทรานสฟอร์มเมชั่น การขยายธุรกิจ และการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก ผ่านกลไกการทำงานในรูปแบบต่าง ๆ และมีพันธมิตรทางธุรกิจด้านดาต้าและเทคโนโลยีที่มีประสบการณ์ใน Ecosystem เพื่อสนับสนุนลูกค้าให้บรรลุเป้าหมายอย่างราบรื่น ดิ แอ๊ดเลอร์ เปรียบเสมือนเพื่อนที่อยู่เคียงข้างองค์กรและบุคคลากรท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง เพื่อสนับสนุนการสร้างโอกาสและการก้าวข้ามการเปลี่ยนแปลงที่ท้าทายให้กลายเป็นการเติบโตที่ยั่งยืน อันจะส่งผลทางบวกให้แก่เศรษฐกิจและคนไทยของประเทศในที่สุด
"ปัจจุบันเราได้รับความไว้วางใจจากองค์กรทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการทำธุรกิจและการทำทรานสฟอร์มเมชั่นในรูปแบบแตกต่างกัน ในปี 2567 องค์กรต่าง ๆ จะพบความท้าทายใหม่ ๆ ที่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง เช่น การปรับเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยและต้นทุนแรงงาน ประสิทธิภาพที่สูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดของการใช้ดาด้าและเทคโนโลยี รูปแบบการเรียนรู้ของบุคคลากรและความต้องการของลูกค้าเริ่มมีความแตกต่างให้เห็นชัดเจนมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นการทบทวนกระบวนการทำงาน การเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรและบุคคลากร ผ่านการทำทรานสฟอร์มเมชั่น ถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เพราะจะช่วยให้ต้นทุนขององค์กรลดต่ำลง สร้างโอกาสในการขยายหรือสร้างรายได้ใหม่ ในขณะที่เสริมสร้างองค์กรให้มีความสามารถในการแข่งขันที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปให้ดียิ่งขึ้น"
คุณนพเกล้า เล่าเพิ่มเติมว่า ตนเองได้เริ่มทำงานในองค์กรเอกชนขนาดใหญ่จากการเป็นพนักงานระดับต้นและเติบโตขึ้นเป็นผู้บริหารระดับสูงได้นั้น ส่วนสำคัญอย่างหนึ่งมาจากการเรียนรู้วิธีคิดและวิธีการทำงานที่ดีจากผู้บังคับบัญชาที่เก่ง มีความสามารถ มีคุณธรรม และมีจริยะธรรมในการทำธุรกิจและการบริหารจัดการ ประกอบกับการมีทีมงานที่ดีและมีความสามารถ
ในส่วนปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้ประสบความสำเร็จในการทำงานและยึดถือปฏิบัติมาตลอด คือ "การพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง ความมุมานะ และการสร้างคุณค่า" คุณนพเกล้า ยินดีที่จะทำงานหลาย ๆ อย่างตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมองว่าเป็นโอกาสแห่งการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง มีความมุมานะ อดทนและคำนึงถึงเป้าหมายหลักขององค์กรเป็นสำคัญในการทำงาน โดยมีกำลังใจที่ขับเคลื่อนให้ตัวเองก้าวข้ามความท้ายทายต่าง ๆ คือ การคิดบวก และการมองเป้าหมายของงานให้ใหญ่กว่าเป้าหมายส่วนตัวเสมอ ซึ่งสะท้อนผ่านคำพูดและการกระทำ ที่พูดอยู่เสมอว่า "ทำให้ดีที่สุด ณ จุดที่เราอยู่ เพราะสิ่งนั้นจะช่วยทำให้เราสร้างงานที่มีคุณค่าทั้งต่อตนเอง คนรอบข้าง และองค์กร" หรือ "ถ้าเรามองเป้าหมายขององค์เป็นสำคัญ เราจะเห็นความต้องการของตัวเองเป็นเรื่องเล็ก แต่ถ้าเรามองเป้าหมายขององค์กรเป็นเรื่องเล็ก เราจะเห็นความต้องการของตัวเองเป็นเรื่องใหญ่ ดังนั้นคนที่จะทำงานใหญ่ ๆ ได้ต้องมองเรื่องของตัวเองให้เล็กเสมอ และนี่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานทั้งหมดให้บรรลุผลสำเร็จที่ยิ่งใหญ่"
ตลอดระยะเวลาที่ได้รับการหล่อหลอมให้ทำงานด้วยคุณธรรมและปรัชญาในการทำงานที่ยึดถือ เกี่ยวกับ "การพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง ความมุมานะ และการสร้างคุณค่า" ทำให้สิ่งเหล่านี้กลายเป็น "DNA" ที่คุณนพเกล้า ต้องการส่งต่อให้ทีมงาน ดิ แอ๊ดเลอร์ เพื่อให้ลูกค้ารวมทั้งคนรอบข้างได้ประโยชน์อย่างแท้จริงจากการที่บริษัท ฯ ได้เข้าไปดูแล ประกอบกับการที่คุณนพเกล้าได้รับการฝึกฝนให้เป็นคนทำงานละเอียดรอบครอบและทำงานที่หลากหลายมาก่อน เช่น การพัฒนาและขยายธุรกิจ การพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานโดยการใช้ดาด้าและเทคโนโลยี การบริหารจัดการ การทำทรานสฟอร์มเมชั่น การสร้างบุคคลากรที่มีคุณภาพ และการปลดล๊อคศักยภาพบุคคล ทำให้คุณนพเกล้ามีความเข้าใจการทำงานทั้งเชิงกว้างและเชิงลึก เข้าใจความเสี่ยงและปัจจัยความสำเร็จของการทำทรานสฟอร์เมชั่นในทางปฎิบัติ และทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่จะมาเติมเต็มให้กับสังคมเพื่อให้เกิดประโยชน์ในวงกว้างมากยิ่งขึ้น และกลายเป็นความแตกต่างของ ดิ แอ๊ดเลอร์ ในการส่งมอบความสำเร็จที่แท้จริงให้แก่ลูกค้า
ในส่วนของการขยายฐานลูกค้าใหม่นั้น เนื่องจากคุณนพเกล้ามีสายสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มคนในแวดวงธุรกิจต่าง ๆ และส่วนใหญ่เคยเห็นความสามารถและความตั้งใจดีของคุณนพเกล้ามาก่อน ทำให้บริษัท ฯ ได้รับความไว้ใจและมีผลตอบรับเป็นที่พอใจในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา และไม่มีนโยบายรีบเร่งในเรื่องการเพิ่มจำนวนรายลูกค้าใหม่อย่างรวดเร็ว แต่มุ่งเน้นการดูแลและการขยายจำนวนลูกค้าองค์กรที่มีคุณภาพไม่กี่รายเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ในปี 2567 จะให้การสนับสนุนความรู้แก่ผู้ประกอบการ SME และทำกิจกรรมเพื่อสังคมด้านการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกเป็นการควบคู่ไป เพื่อแบ่งปัน Know-How ให้กับสังคม
คุณนพเกล้า กล่าวทิ้งท้ายถึงเป้าหมายที่วางไว้ในอีก 5 ปีข้างหน้าว่า ไม่ได้ตั้งเป้าหมายว่าจะต้องได้รายได้เท่าไหร่ แต่ตั้งเป้าไว้ว่า "เราจะเห็นองค์กรและบุคลลากรในแวดวงต่าง ๆ ที่เราเข้าไปดูแล หรือให้ความรู้ประสบความสำเร็จในการทำทรานสฟอร์มเมชั่น มีการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก มีความรู้และความตระหนักรู้ภายในองค์กรและภายในตัวของบุคคลากรเอง ซึ่งจะช่วยให้องค์กรและบุคคลากรต่าง ๆ สามารถก้าวข้ามความท้าทายได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ซึ่งท้ายที่สุดจะทำให้โครงสร้างเศรษฐกิจของไทยเข้มแข็ง และผู้คนก็จะมีความเป็นอยู่ทั้งทางกายภาพและจิตใจ (Wellbeing) ที่ดียิ่งขึ้นไป"
ที่มา: ธีอ๊อกซีนี่ พีอาร์