สคร.12 สงขลา เตือน ปชช. ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5 ) ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง แนะประชาชนกลุ่มเสี่ยงดูแลตนเองเป็นพิเศษ

พฤหัส ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ๑๓:๐๕
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา (สคร.12 สงขลา) เตือนประชาชนติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง แนะประชาชนกลุ่มเสี่ยงดูแลตนเองเป็นพิเศษ
สคร.12 สงขลา เตือน ปชช. ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5 ) ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง แนะประชาชนกลุ่มเสี่ยงดูแลตนเองเป็นพิเศษ

นายแพทย์เฉลิมพล โอสถพรมมา ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กล่าวว่าจากข้อมูลสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในพื้นที่สถานีตรวจวัดเขต 12 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 21 กรกฎาคม 2567 พบว่า คุณภาพอากาศ ทั้ง 6 สถานี ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมาก ซึ่งประชาชนทุกคนสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม จากปีที่ผ่านมา พบว่า ช่วงเดือนกรกฎาคมเป็นช่วงที่มีหมอกควันข้ามแดน จากประเทศเพื่อนบ้าน จากการจราจรหรือบรรทุกขนส่งหนาแน่น รวมทั้งการเผาป่าในพื้นที่ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน และเป็นปัญหาสำคัญที่จะต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ หากได้รับมลพิษจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) เข้าสู่ร่างกาย อาจทำให้เกิดการเจ็บป่วยหรือมีผลกระทบต่อสุขภาพที่รุนแรงมากกว่าประชาชนทั่วไป    

สำหรับกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และ 4 กลุ่มโรคสำคัญที่ต้องเฝ้าระวังและดูแลเป็นพิเศษ คือ 1.กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น เหนื่อยง่าย หัวใจเต้นเร็ว แน่นหน้าอก  2.กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล แสบจมูกและลำคอ  3.กลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ เช่น อาการคันตามร่างกาย มีผื่นแดงตามร่างกาย  และ 4.กลุ่มโรคตาอักเสบ เช่น อาการแสบหรือคันตา น้ำตาไหล และตาแดง หากสงสัยหรือมีอาการผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว   

สคร.12 สงขลา จึงขอแนะวิธีปฏิบัติให้ปลอดภัยจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 "รู้-ลด-เลี่ยง" รู้ : ตรวจสอบสภาพอากาศทุกครั้งก่อนเดินทางออกจากบ้าน ผ่านการติดตามสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 ในแอปพลิเคชัน Air4thai ของกรมควบคุมมลพิษ หรือติดตามข่าวสารตามช่องทางต่าง ๆ ของหน่วยงานด้านสาธารณสุข ลด : ลดการสร้างมลพิษ ลดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นละออง PM2.5 เช่น จุดธูป เผากระดาษ ปิ้งย่างที่ทำให้เกิดควัน การเผาใบไม้ เผาขยะ เผาพืชผลทางการเกษตร เป็นต้น รวมถึงการติดเครื่องยนต์ในบ้านเป็นเวลานาน เลี่ยง : หลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่ที่มีฝุ่นละอองสูง การอยู่กลางแจ้ง หรือทำกิจกรรมนอกอาคารเป็นเวลานาน ในช่วงที่ฝุ่นละออง PM2.5 มีปริมาณมากกว่า 25.1 - 37.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรขึ้นไป โดยปราศจากอุปกรณ์ป้องกันฝุ่นละอองในอากาศ หากจำเป็นควรป้องกันการสัมผัสฝุ่นให้น้อยที่สุด โดยการสวมหน้ากากป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก และดื่มน้ำให้เยอะๆ เพื่อบรรเทาอาการระคายเคืองคอ แสบคอ ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422

ที่มา : แนวทางมาตรการการเฝ้าระวังสุขภาพและสื่อสารความเสี่ยง เพื่อสร้างความรอบรู้ ที่เกี่ยวข้องกับฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5), กองโรคติดต่อจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ที่มา: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา

สคร.12 สงขลา เตือน ปชช. ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5 ) ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง แนะประชาชนกลุ่มเสี่ยงดูแลตนเองเป็นพิเศษ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ