TJRI เปิด Insight อนาคต 'ยานยนต์ญี่ปุ่น' แนะผลักดันความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น ดึงลงทุนเพิ่ม

อังคาร ๑๗ กันยายน ๒๐๒๔ ๑๖:๔๔
โครงการ TJRI (โครงการศึกษาวิจัยการลงทุนญี่ปุ่นในประเทศไทย) ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนไทย-ญี่ปุ่น ทำการรวบรวมและวิเคราะห์ Insight จากนักลงทุนญี่ปุ่น ต่อกรณีที่บริษัทยานยนต์สัญชาติญี่ปุ่นหลายค่ายเริ่มถอนการลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าเกิดจากการเข้ามาของรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ของจีนที่รุกทำการตลาดอย่างหนัก ผนวกกับยอดขายลดจากปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว ทั้งนี้ค่ายอื่นๆ ปัจจุบันยังไม่ถอนลงทุน แต่อนาคตยังไม่อาจคาดการณ์ได้ ดังนั้น TJRI เห็นว่าควรเร่งหารือเพื่อรักษา Supply chain รถยนต์สันดาปที่ไทย-ญี่ปุ่นร่วมสร้างกว่า 60 ปี พร้อมแนะใช้สื่อภาษาญี่ปุ่น "THAIBIZ" เป็นช่องทางสื่อสาร ดูแลสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อนักลงทุนญี่ปุ่น หวังช่วยยกระดับความร่วมมือ ดึงญี่ปุ่นลงทุนประเทศไทยเพิ่ม
TJRI เปิด Insight อนาคต 'ยานยนต์ญี่ปุ่น' แนะผลักดันความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น ดึงลงทุนเพิ่ม

รัฐฯ ยกเลิกการส่งเสริม ECO Car ตอกย้ำผลงานซูซูกิ

นายกันตธร วรรณวสุ ผู้ดำเนินโครงการ TJRI กล่าวว่า "ซูซูกิได้เข้ามาลงทุนในไทยจากการนโยบายส่งเสริมรถยนต์อีโคคาร์ในปี 2550 ซึ่งไทยคาดหวังว่าอีโคคาร์จะมีโอกาสพัฒนากลายมาเป็น 'โปรดักส์แชมเปี้ยน' ลำดับที่สองของประเทศรองจากรถกระบะ ซึ่งปัจจุบันนโยบายนี้จะไม่สำเร็จตามที่คาดไว้ ดังนั้นรัฐบาลจึงยกเลิกการให้ความสนับสนุน และทางซูซูกิเองก็ต้องยอมรับที่ไม่สามารถทำผลงานให้เป็นที่ประจักษ์แก่ผู้บริโภคชาวไทยได้อย่างที่ตั้งเป้าไว้ ดังนั้นการถอนการลงทุนออกจากประเทศไทยจึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้"

ยานยนต์ญี่ปุ่นเริ่มปิดโรงงาน ส่วนค่ายอื่นเบื้องต้นยังไปต่อโดยเน้นการผลิตเพื่อส่งออก

ขณะเดียวกัน นายกันตธร มองประเด็นการปิดโรงงานของค่ายญี่ปุ่นในอนาคตว่า "ปัจจุบันโรงงานของค่ายซูซูกิและซูบารุเน้นการจำหน่ายในประเทศ โดยนำเข้าชิ้นส่วนมาประกอบและจำหน่ายในประเทศ (CKD) ต่างกับค่ายอื่นที่เน้นผลิตเพื่อส่งออกเป็นธุรกิจหลักด้วย จึงได้รับผลกระทบจากมาตรการณ์สนับสนุนรถ EV ง่ายกว่าค่ายอื่นๆ ทั้งนี้ทั้งสองค่ายดังกล่าวมีจำนวนการผลิตที่น้อยจึงยังไม่กระทบต่ออัตราการผลิตยานยนต์โดยรวมของประเทศไทยมากนัก ทว่าการที่ซูบารุ ซูซูกิ รวมถึงฮอนด้าได้ถอนหรือลดการผลิตลงนั้น หากมองย้อนกลับมาจากอนาคตในอีก 10-20 ปีข้างหน้า จะพบว่าการตัดสินใจครั้งนี้อาจเป็นการจัดกำลังการผลิตของโรงงานต่างๆ ในโลกของตนได้อย่างรวดเร็วและชาญฉลาดแล้ว ซึ่งเหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นกับพานาโซนิคที่ตัดสินใจปิดโรงงานเก่าในไทยและย้ายไลน์การผลิตไปควบรวมที่โรงงานใหม่ในเวียดนามแทน ถือเป็นวงจรของธุรกิจตามปกติที่มีโอกาสเกิดขึ้นกับยานยนต์ญี่ปุ่นในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากไม่มียอดขายสินค้าในประเทศไทยที่มีนัยยะสำคัญให้ตัดสินใจไปต่อ

ทั้งค่ายญี่ปุ่นอื่นๆ ที่เหลือนั้นเบื้องต้นในอีก 5-10 ปี คาดว่าจะไม่ไปจากไทยอย่างแน่นอน เพราะยังมียอดการผลิตเพื่อการส่งออกจึงไม่สามารถตัดสินใจได้เร็ว แต่ในอนาคตอินโดนีเซียหรือเวียดนามก็อาจมีขนาดตลาดในประเทศที่ขยายตัวขึ้นมาก และเพียงพอที่จะทำให้ค่ายญี่ปุ่นตัดสินใจย้ายออกจากประเทศไทยในที่สุด"

เกรงสงครามราคา EV ทำธุรกิจดีลเลอร์ไม่ยั่งยืน

สิ่งที่ทำให้ธุรกิจดีลเลอร์รถยนต์มีกำไรคือ การที่ผู้ผลิตช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ ส่งผลให้มีลูกค้ามาใช้บริการหลังการขายอย่างต่อเนื่อง จนนำไปสู่การซื้อซ้ำในอนาคต ทว่าสิ่งที่น่ากังวลคือ "สงครามราคา" ซึ่งค่ายจีนกำลังลดราคาอย่างหนักในปัจจุบัน ส่งผลให้คนทำธุรกิจดีลเลอร์อยู่รอดได้อย่างไม่ยั่งยืน เนื่องจากการลดราคาอย่างหนัก ทำให้ตลาดรถยนต์มือสองราคาตกหนักตามไปด้วย ดังนั้นเมื่อผู้บริโภคไม่สามารถขายรถคันเก่าเพื่อเทิร์นไปซื้อรถคันใหม่ได้ง่ายมากนักจึงกระทบต่อการซื้อซ้ำในอนาคตไปด้วย ดังนั้นสิ่งเหล่านี้อาจทำให้ธุรกิจดีลเลอร์มีแนวโน้มการขาดทุนในระยะยาว ซึ่งแตกต่างกับแนวคิดที่ค่ายญี่ปุ่นทำมาตลอดหลายสิบปี เนื่องจากญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญกับเจ้าของธุรกิจดีลเลอร์ทั่วประเทศเป็นอย่างมาก

ญี่ปุ่นย้ำไม่ปฏิเสธ EV ขอบคุณไทยชงส่งเสริม Hybrid ดีใจผลตอบรับมอเตอร์โชว์ดี เล็งนำเข้า-ผลิตเพิ่ม

จากการรวบรวมข้อมูลในกรณีที่บอร์ดอีวีออกมาตรการสนับสนุนสำหรับรถยนต์ Hybrid เมื่อเดือนกรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมานั้น พบว่าค่ายญี่ปุ่นหลายรายได้แสดงความขอบคุณต่อรัฐบาลไทยที่คำนึงถึง Supply chain รถยนต์สันดาปที่ไทยและญี่ปุ่นร่วมกันสร้างมานานกว่า 60 ปี อีกทั้งญี่ปุ่นเองไม่ได้ปฏิเสธรถ EV แต่อย่างใด ทว่าเล็งเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างนั้นต้องใช้เวลาที่เหมาะสม โดยงานมอเตอร์โชว์ที่ผ่านมา หลายค่ายดีใจมากที่มีโอกาสนำเสนอรถ Hybrid กับผู้บริโภคไทย เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในอนาคตสำหรับผู้บริโภคชาวไทย ซึ่งได้รับกระแสตอบรับรถ Hybrid ดีเป็นอย่างมาก ดังนั้นบางค่ายจึงมีแผนที่จะนำเข้าหรือผลิตรถ Hybrid ในประเทศไทย เพื่อจำหน่ายในประเทศในอนาคตอันใกล้อย่างแน่นอน

Supply chain ไทย-ญี่ปุ่นยังสำคัญ เทรนด์ค่ายญี่ปุ่นดันคนไทยขึ้นเป็นผู้บริหารฯ

นายกันตธรวิเคราะห์ว่า "สาเหตุที่ยานยนต์ญี่ปุ่นเริ่มถอนการลงทุนในประเทศไทยมีหลากหลายปัจจัย เช่น ค่ายญี่ปุ่นปรับตัวต่อการเข้ามาของ EV ได้ช้า ยอดขายรถยนต์ในประเทศลดลง ไปจนถึงการยกเลิกการสนับสนุนนโยบายเก่า และยกระดับการสนับสนุนรถ EV ซึ่งเอื้อต่อค่ายจีนมากกว่าก็จริง ทว่า Supply chain ที่ไทย-ญี่ปุ่นร่วมกันสร้างนั้นมีขนาดใหญ่มาก ซึ่งสำคัญต่อไทยอย่างยิ่งจึงควรมองเรื่องนี้เป็นกรณีศึกษาและควรร่วมคิดแก้ไขปัญหานี้กับนักลงทุนญี่ปุ่นโดยเร็ว

นอกจากนี้หลายค่ายญี่ปุ่นกำลังเน้นเรื่องการพัฒนา "ทรัพยากรมนุษย์" เป็นอย่างมาก ซึ่งหลายค่ายเน้นพัฒนาพนักงานไทยโดยสนับสนุนการไปฝึกงานที่ญี่ปุ่น ผลักดันคนไทยให้ขึ้นมาเป็นผู้บริหารขององค์กร รวมถึงให้คนไทยมีส่วนร่วมในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นอย่างมาก เพื่อการ Localization วัฒนธรรมองค์กรญี่ปุ่นให้เหมาะกับไทยและสอดคล้องกับเทรนด์ของโลกมากยิ่งขึ้น ซึ่งถือเป็นแนวโน้มที่ดีอย่างมาก"

TJRI เปิดสื่อ "THAIBIZ" หวังทำหน้าที่ IR ต่อนักลงทุนญี่ปุ่น ดึงญี่ปุ่นลงทุนหนุนเศรษฐกิจไทย

โครงการ TJRI พยายามใช้จุดแข็งด้านความเชี่ยวชาญเรื่องธุรกิจญี่ปุ่นของตัวเอง เพื่อช่วยแก้ปัญหาของประเทศด้วยเช่นกัน เนื่องจากบริษัทญี่ปุ่นส่วนใหญ่มีปัญหาเชิงโครงสร้างของระบบการส่งพนักงานคนญี่ปุ่นไปประจำยังต่างประเทศ โดยมีการโยกย้ายประเทศทุกๆ 3-5 ปี ทำให้ผู้บริหารญี่ปุ่นขาดความเข้าใจบริบทการทำธุรกิจและการบริหารงาน โครงการฯ จึงอยากช่วยให้พวกเขามีความเข้าใจธุรกิจไทย รวมถึงวิธีการทำงานร่วมกับคนไทยโดยเร็วที่สุด ดังนั้นจึงได้เปิดตัวสื่อ "THAIBIZ" เมื่อเดือนเมษายน 2567 ที่ผ่านมา เพื่อนำเสนอเนื้อหาในแวดวงธุรกิจไทย-ญี่ปุ่น ประกอบด้วยเว็บไซต์ จดหมายข่าวประจำวันที่ส่งให้แก่สมาชิกทางอีเมล และนิตยสารรายเดือน โดยปัจจุบันเครือข่ายสมาชิก THAIBIZ มีทั้งนักธุรกิจที่อาศัยอยู่ในไทยและญี่ปุ่นมากกว่า 12,000 คน จึงอยากให้ภาครัฐและเอกชนไทยใช้สื่อภาษาญี่ปุ่น THAIBIZ เสมือนนักลงทุนสัมพันธ์ (IR) เป็นช่องทางการสื่อสารโดยตรงต่อนักลงทุนญี่ปุ่นเพิ่มเติม

สื่อ THAI BIZ เกิดจากการควบรวมเว็บไซต์ข่าวธุรกิจ TJRI และสื่อธุรกิจภาษาญี่ปุ่น "ArayZ" ซึ่งได้ดำเนินกิจการในไทยมายาวนานกว่า 10 ปี โดยนิตยสาร THAIBIZ ได้เปิดตัวฉบับแรกไปในเดือนเมษายน 2567 ด้วยบทสัมภาษณ์พิเศษจาก CEO ชั้นนำต่างๆ เช่น บริษัท DENSO ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ชั้นนำระดับโลก, Ajinomoto และ Marubeni ซึ่งต่างเป็นกรรมการของหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (JCC) รวมทั้งผู้บริหารบริษัทไทย เช่น คุณ สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย บริษัทขอนแก่นพัฒนาเมืองที่มาแนะนำเรื่อง Smart City, คุณรวิศ หาญอุตสาหะ บริษัทศรีจันทร์สหโอสถ ซึ่งเป็นผู้นำทางความคิดของนักธุรกิจไทยรุ่นใหม่, คุณฤทธิ์ ธีระโกเมน จาก เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป เกี่ยวกับแนวคิดธุรกิจร้านอาหารในไทย เป็นต้น โดยเพื่อให้ชาวญี่ปุ่นมีความเข้าใจต่อผู้ประกอบการไทยมากขึ้น

"ความตั้งใจที่จะให้ญี่ปุ่นยกระดับการลงทุนนั้น รวมถึงการสร้างความร่วมมือและนวัตกรรมใหม่ๆ ร่วมกับบริษัทไทยนั้น เป็นวัตถุประสงค์ที่โครงการ TJRI ผลักดันมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง THAIBIZ มุ่งมั่นเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ คอยดูแลนักลงทุนชาวญี่ปุ่นทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเรามีเครือข่ายนักธุรกิจที่อาศัยอยู่ทั้งไทยและญี่ปุ่นซึ่งมีความสนใจธุรกิจของบริษัทไทยอย่างมาก จึงเป็นช่องทางที่ตอบโจทย์สำหรับบริษัทไทยที่อยากเข้าถึงนักธุรกิจชาวญี่ปุ่น" นายกันตธรกล่าวปิดท้าย

สำหรับองค์กรไทยที่ต้องการสร้างการรับรู้ในหมู่นักลงทุนญี่ปุ่น สามารถติดต่อเพื่อประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ THAIBIZ ได้ที่ โทร. 02-392-3288 หรือ e-mail [email protected]

ที่มา: ทริปเปิล เอท ไอเดียส์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗ ม.ค. วว. ร่วมกับพันธมิตรเปิดศูนย์การเรียนรู้วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตไม้ดอกไม้ประดับ ต.เหมืองแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
๑๗ ม.ค. กระแสดีเกินคาด! WOW Festival 2025 ปรากฏการณ์ใหม่ ปลุกพลังคน เติมเต็มพลังเมือง พร้อมขนเซอร์ไพรส์รอทุกคนถึง 19 ม.ค.
๑๗ ม.ค. นั่งชิลๆ จิบน้ำชายามบ่ายพร้อมขนมเลิศรส ณ ที แอนด์ ทิปเปิ้ล ชั้น 23
๑๗ ม.ค. CPW จัดโปรเด็ด!! ช้อปสินค้าไอทีลดหย่อนภาษีสูงสุด 30,000 บาท
๑๗ ม.ค. LDC เดินหน้าปี 2568 บุกตลาดภาคใต้ เตรียมเปิด 3 สาขาใหม่ ย้ำมาตรฐานศูนย์ทันตกรรม โมเดลโรงพยาบาลขนาดเล็ก
๑๗ ม.ค. เชอร์วู้ดฯ ร่วมกับ มูลนิธิคุณแม่ลี้กิมเกียวฯ แจกนมฮอกไกโด ถั่วมารูโจ้ ส่งความสุข ฉลองวันเด็กแห่งชาติ 2568
๑๗ ม.ค. ขายบัตรแล้ว! นิตยสารแพรว พร้อมเสิร์ฟความน่ารักของ เก่ง น้ำปิง ในงาน Praew Meet Read Into The Wild with Keng
๑๗ ม.ค. ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้ สุขสมหวัง ร่ำรวย เฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนกับอาหารจีนเลิศรส ณ ห้องอาหารจีนแทพเพสทรี ใน 3 โรงแรมชั้นนำเครือเคป แอนด์
๑๗ ม.ค. เตรียมจองซื้อ หุ้นกู้ดิจิทัลบางจาก อายุ 4 ปี ดอกเบี้ย 3.15% บนแอปฯ เป๋าตัง ครั้งแรกกับการให้สิทธิ์ผู้ถือหุ้นกู้ดิจิทัลบางจากจองซื้อก่อน ดีเดย์ 7-13 ก.พ. 68
๑๗ ม.ค. วิลล่า เทวา รีสอร์ท โฮเทล กรุงเทพฯ ประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยม: ได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับ 5 จาก 1,257 โรงแรมในกรุงเทพฯ บนเว็บไซต์