นานาเทคโนโลยีที่สนับสนุนสังคมคาร์บอนต่ำ

พุธ ๑๘ ธันวาคม ๒๐๒๔ ๑๒:๕๒
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลายประเทศทั่วโลกต่างตั้งเป้าหมายที่จะสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ เพื่อนำไปสู่การบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน ไปจนถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ให้ได้ภายในช่วงกลางศตวรรษที่ 21 โดยมีการทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามกลไก "ลด-ดูดกลับ-ชดเชย" คาร์บอน อย่างไรก็ตาม การทำกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกด้วยสองมืออาจไม่ได้ช่วยให้เห็นผลลัพธ์เท่าที่ควร และไม่เหมาะกับการทำกิจกรรมในระดับใหญ่ เทคโนโลยีจึงเข้ามามีบทบาทต่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ตามเป้า ดังนั้น บทความนี้ จะนำเสนอตัวอย่างของเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะเป็นตัวช่วยสำคัญในการสร้างสังคมคาร์บอนต่ำให้เกิดขึ้น และยังสร้างโอกาสอื่น ๆ จากการลงทุนในเทคโนโลยีเหล่านี้
นานาเทคโนโลยีที่สนับสนุนสังคมคาร์บอนต่ำ
  1. Electrification การใช้พลังงานไฟฟ้า เป็นการเปลี่ยนแปลงการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่การใช้พลังงานไฟฟ้าในภาคส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้พลังงานในอาคารบ้านเรือน หรือแม้กระทั่งการขนส่ง ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง เทคโนโลยีที่น่าสนใจก็อย่างเช่น
  • Electric-vehicle batteries: แบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ที่จะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนจากการใช้เชื้อเพลิงในยานยนต์ทั่วไป
  • Battery-control software: ซอฟต์แวร์สำหรับควบคุมแบตเตอรี่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บและใช้พลังงาน ช่วยลดการสิ้นเปลืองพลังงาน
  • Efficient building systems: ระบบจัดการพลังงานในอาคารให้สามารถใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ระบบปรับอากาศหรือแสงสว่างที่ใช้ไฟฟ้า เพื่อการประหยัดพลังงาน
  • Industrial electrification: การเปลี่ยนกระบวนการในภาคอุตสาหกรรมให้ใช้พลังงานไฟฟ้าแทนพลังงานฟอสซิล เช่น การหลอมโลหะด้วยไฟฟ้า
  1. Agriculture การทำเกษตรกรรม ด้วยการพัฒนาการเกษตรให้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลงผ่านเทคโนโลยีที่ทันสมัย ข้อมูลจากกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่า ในปี 2565 ภาคการเกษตร มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ที่ร้อยละ 15.69 มาจากการเพาะปลูกพืชเกษตร ร้อยละ 77.57 การทำปศุสัตว์ ร้อยละ 22.43 การเผาไหม้ชีวมวลจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ร้อยละ 2.92 และการใส่ปุ๋ยยูเรีย ร้อยละ 2.86 ที่สำคัญ ก๊าซมีเทน (CH?) ที่ถูกปล่อยออกมามากที่สุดจากการทำปศุสัตว์ มีศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 25-28 เท่าในช่วงระยะเวลา 100 ปี การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ จึงสามารถช่วยให้การทำเกษตรกรรมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้มากยิ่งขึ้น เช่น
  • Zero-emissions farm equipment: การใช้เครื่องจักรการเกษตรที่ไม่การปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น เครื่องจักรไฟฟ้า
  • Meat alternative: เนื้อสัตว์ทางเลือก เช่น โปรตีนจากพืชหรือเนื้อที่ผลิตจากเซลล์ เพื่อลดการปล่อยมีเทนจากการเลี้ยงสัตว์
  • Methane inhibitors: สารเติมแต่งอาหารสัตว์ ที่จะช่วยลดการผลิตก๊าซมีเทนในกระเพาะอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้องในการทำปศุสัตว์
  • Anaerobic manure processing: การย่อยมูลสัตว์ (ปุ๋ยคอก) แบบไม่ใช้ออกซิเจน เพื่อเปลี่ยนมูลสัตว์ให้เป็นก๊าซชีวภาพ
  • Bioengineering: วิศวกรรมชีวภาพ เป็นการปรับปรุงพันธุ์พืชหรือจุลินทรีย์เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • Precision Agriculture: การทำการเกษตรแบบแม่นยำ ใช้ข้อมูลและเซ็นเซอร์เพื่อลดการใช้ปุ๋ยและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  1. Power Grid โครงข่ายไฟฟ้า คือการปรับปรุงโครงข่ายพลังงานเพื่อเพิ่มการรองรับการใช้พลังงานสะอาดในระบบไฟฟ้า และลดการสูญเสียพลังงาน ไม่ว่าจะเป็น
  • Long-duration storage: ระบบกักเก็บพลังงานที่ใช้งานได้ยาวนาน เพิ่มความเสถียรภาพของพลังงานหมุนเวียน
  • Advanced controls: ระบบควบคุมอันชาญฉลาดเพื่อจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  • Software and communications: ซอฟต์แวร์และระบบสื่อสาร สำหรับตรวจสอบและบริหารโครงข่ายไฟฟ้า
  • Vehicle-to-grid integration: เป็นการเชื่อมต่อยานพาหนะไฟฟ้ากับโครงข่ายไฟฟ้า เพื่อใช้พลังงานสำรองจากแบตเตอรี่
  • Building-to-grid integration: เป็นการเชื่อมต่ออาคารที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพให้เข้ากับโครงข่าย
  • Next-generation nuclear: การใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
  • High-efficiency materials: การใช้วัสดุประสิทธิภาพสูง ที่ช่วยลดการสูญเสียพลังงานในระบบโครงข่าย
  1. Hydrogen ไฮโดรเจน ปัจจุบันมีการเริ่มใช้ไฮโดรเจนเป็นพลังงานสะอาดในอุตสาหกรรมต่าง ๆ และการขนส่ง เพื่อลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิลในอุตสาหกรรมและการผลิตไฟฟ้า โดยมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ไฮโดรเจน 100% เนื่องจากไฮโดรเจน (H) เป็นก๊าซเบาที่สุดที่ให้ผลิตภัณฑ์เป็นน้ำ (H2O) เท่านั้น ไม่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เมื่อถูกเผาไหม้ ทว่ายังมีข้อจำกัดเรื่องต้นทุนในการผลิตที่สูง อีกทั้งก็ยังต้องการโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมด้วย เทคโนโลยีเกี่ยวกับพลังงานไฮโดรเจนที่น่าสนใจ เช่น
  • Low-cost production: การผลิตไฮโดรเจนที่ประหยัดและลดการปล่อยคาร์บอน เช่น ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิต (ไฮโดรเจนสีเขียว)
  • Road-transport fuel: การใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ
  • Ammonia production: การผลิตแอมโมเนีย (ในปุ๋ย) ด้วยกระบวนการที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ
  • Steel production: การใช้ไฮโดรเจนแทนถ่านหินในกระบวนการผลิตเหล็ก
  • Aviation fuel: พัฒนาเชื้อเพลิงสำหรับอากาศยานจากไฮโดรเจน
  1. Carbon Capture and Storage การดักจับและกักเก็บคาร์บอน เนื่องจากในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มักมีการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิสในกระบวนการผลิต โดยจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างคาร์บอนไดออกไซด์ ออกมา โดยทั่วไปก็จะต้องปล่อยก๊าซเหล่านี้สู่บรรยากาศ แต่เทคโนโลยีเหล่านี้จะดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ไม่ให้ถูกปล่อยออกไป จากนั้นจึงกู้คืนโดยการดูดกลับมาเพื่อนำมากักเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์อื่น ๆ ต่อไป โดยไม่เพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศ
  • Carbon Capture and Storage (CCS): การดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงงานหรือโรงไฟฟ้าแล้วนำไปกักเก็บไว้ใต้พิภพที่มีคุณสมบัติและความลึกเหมาะสม โดยไม่ให้มีการปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ
  • Pre-and post-combustion capture technologies: การดักจับ CO? ก่อนหรือหลังการเผาไหม้ในโรงงาน
  • Direct air capture: ดักจับ CO? โดยตรงจากชั้นบรรยากาศ
  • Bioenergy with carbon capture and storage (BECCS): เป็นการใช้พลังงานชีวภาพร่วมกับการจัดเก็บคาร์บอน
  • Biochar: การเปลี่ยนเศษวัสดุอินทรีย์ให้เป็นถ่านชีวภาพ ซึ่งสามารถกักเก็บคาร์บอนในดินได้
  • CO?-enriched concrete: คอนกรีตที่มีความสามารถในการดูดซับ CO? ระหว่างกระบวนการผลิต
  1. Clean Energy พลังงานสะอาด เน้นการใช้พลังงานที่ผลิตหรือใช้งานโดยปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือมลพิษในปริมาณที่น้อยที่สุด ที่เราคุ้นเคยกันดีก็อย่างเช่น
  • Solar Energy: พลังงานแสงอาทิตย์ การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ประสิทธิภาพสูงและแบตเตอรี่เก็บพลังงาน เพื่อลดการพึ่งพาพลังงานจากฟอสซิล
  • Wind Energy: พลังงานลม กังหันลมที่ใช้พลังงานลมผลิตไฟฟ้า
  • Biomass Energy: พลังงานชีวมวลที่ได้จากการใช้วัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น ซังข้าวโพดหรือเปลือกไม้ แทนการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล
  • Wave Energy: พลังงานน้ำและคลื่นทะเล เป็นระบบผลิตพลังงานจากคลื่นและกระแสน้ำ
  1. Waste Management การจัดการของเสีย เป็นกระบวนการรวบรวม บำบัด กำจัด และรีไซเคิลของเสียจากกิจกรรมของมนุษย์ เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  • Biogas: การผลิตก๊าซชีวภาพโดยใช้ของเสียอินทรีย์ เช่น ขยะหรือมูลสัตว์ ในการผลิตพลังงาน
  • Recycling Technology: การนำขยะบางประเภทมารีไซเคิล เพื่อลดการผลิตขยะและลดการใช้พลังงานในการผลิตใหม่
  • Waste-to-Energy: โรงงานเผาขยะเพื่อผลิตพลังงาน เป็นการแปรรูปขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ให้กลายเป็นพลังงาน
  1. Forestry and Land Management การจัดการและอนุรักษ์ป่าไม้ เนื่องจากการปลูกต้นไม้หรือการปลูกป่า ถือเป็นกิจกรรมชดเชยคาร์บอนในรูปแบบหนึ่งที่นิยมทำกันมาก ไม่ว่าจะเป็นการทำเพื่อเพิ่มการดูดกลับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยวิธีการทางธรรมชาติ หรือเพื่อการทำคาร์บอนเครดิตก็ตาม การนำเทคโนโลยีเข้ามาควบคุม ดูแลรักษา และใช้ประโยชน์จากป่าและที่ดิน เพื่อลดผลกระทบจากการตัดไม้ทำลายป่าและรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ จะช่วยให้มีการบริหารจัดการทรัพยากรได้อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • Monitoring changes in forest area: ระบบการตรวจสอบป่าไม้ด้วยดาวเทียม ช่วยติดตามการปลูกป่าและลดการตัดไม้ทำลายป่า
  • Afforestation/Reforestation: การปลูกป่าเชิงพาณิชย์ ช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยวิธีการตามธรรมชาติ และยังสร้างรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิตได้อีกด้วย
  1. Innovative Materials เทคโนโลยีนวัตกรรมวัสดุ คือการพัฒนาวัสดุใหม่ ๆ หรือการปรับปรุงวัสดุเดิมเพื่อเพิ่มคุณสมบัติให้ตอบโจทย์ความต้องการในอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะในด้านสิ่งแวดล้อม
  • Low-Carbon Building Materials: การทำวัสดุก่อสร้างคาร์บอนต่ำ เช่น การทำคอนกรีตที่ดูดซับ CO? หรือคอนกรีต CarbonCure ที่นอกจากจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระหว่างการผลิตแล้ว ยังใช้คาร์บอนไดออกไซด์ที่ดักจับไว้มาใช้ในกระบวนการผลิตคอนกรีตด้วย หรือวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ที่มีส่วนผสมของวัสดุรีไซเคิล
  • Bioplastics: วัสดุชีวภาพ เป็นการผลิตพลาสติกที่จากวัตถุดิบธรรมชาติ เช่น แป้งข้าวโพดหรืออ้อย ซึ่งสามารถย่อยสลายได้ง่าย
  • Biodegradable Products: ผลิตภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ และสามารถหมุนเวียนคืนสู่ธรรมชาติอย่างสมดุลและปลอดภัย ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนต่างจากขยะพลาสติกทั่วไป

การก้าวไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เพื่อบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero Emissions นั้น นอกจากจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุก ๆ ฝ่ายแล้ว การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในหลาย ๆ แขนงก็ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญมากที่จะนำมาบูรณาการกับแนวคิดด้านความยั่งยืน เพื่อให้สอดคล้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังส่งผลกระทบต่อโลกในทุกมิติ และการลดก๊าซเรือนกระจกเป็นเรื่องเร่งด่วน เทคโนโลยีทั้งหมดนี้จะเป็นโซลูชันที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ อีกทั้งยังสร้างโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว และสร้างโลกแห่งอนาคตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

บทความประชาสัมพันธ์จาก : บริษัท น้ำมันอพอลโล (ไทย) จำกัด www.apollothai.com

ที่มา: ต้นคิด มีเดีย

นานาเทคโนโลยีที่สนับสนุนสังคมคาร์บอนต่ำ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗ ม.ค. วว. ร่วมกับพันธมิตรเปิดศูนย์การเรียนรู้วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตไม้ดอกไม้ประดับ ต.เหมืองแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
๑๗ ม.ค. กระแสดีเกินคาด! WOW Festival 2025 ปรากฏการณ์ใหม่ ปลุกพลังคน เติมเต็มพลังเมือง พร้อมขนเซอร์ไพรส์รอทุกคนถึง 19 ม.ค.
๑๗ ม.ค. นั่งชิลๆ จิบน้ำชายามบ่ายพร้อมขนมเลิศรส ณ ที แอนด์ ทิปเปิ้ล ชั้น 23
๑๗ ม.ค. CPW จัดโปรเด็ด!! ช้อปสินค้าไอทีลดหย่อนภาษีสูงสุด 30,000 บาท
๑๗ ม.ค. LDC เดินหน้าปี 2568 บุกตลาดภาคใต้ เตรียมเปิด 3 สาขาใหม่ ย้ำมาตรฐานศูนย์ทันตกรรม โมเดลโรงพยาบาลขนาดเล็ก
๑๗ ม.ค. เชอร์วู้ดฯ ร่วมกับ มูลนิธิคุณแม่ลี้กิมเกียวฯ แจกนมฮอกไกโด ถั่วมารูโจ้ ส่งความสุข ฉลองวันเด็กแห่งชาติ 2568
๑๗ ม.ค. ขายบัตรแล้ว! นิตยสารแพรว พร้อมเสิร์ฟความน่ารักของ เก่ง น้ำปิง ในงาน Praew Meet Read Into The Wild with Keng
๑๗ ม.ค. ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้ สุขสมหวัง ร่ำรวย เฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนกับอาหารจีนเลิศรส ณ ห้องอาหารจีนแทพเพสทรี ใน 3 โรงแรมชั้นนำเครือเคป แอนด์
๑๗ ม.ค. เตรียมจองซื้อ หุ้นกู้ดิจิทัลบางจาก อายุ 4 ปี ดอกเบี้ย 3.15% บนแอปฯ เป๋าตัง ครั้งแรกกับการให้สิทธิ์ผู้ถือหุ้นกู้ดิจิทัลบางจากจองซื้อก่อน ดีเดย์ 7-13 ก.พ. 68
๑๗ ม.ค. วิลล่า เทวา รีสอร์ท โฮเทล กรุงเทพฯ ประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยม: ได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับ 5 จาก 1,257 โรงแรมในกรุงเทพฯ บนเว็บไซต์